ข้ามไปเนื้อหา

เอลฟ์จิฟูแห่งนอร์แธมตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอลฟ์จิฟูแห่งนอร์แธมตัน

เอลฟ์จิฟู
ราชินีผู้สำเร็จราชการแห่งนอร์เวย์
ประสูติค.ศ.990
สิ้นพระชนม์หลังปีค.ศ.1040 (ประมาณ 50 พรรษา)
จักรพรรดินีพระเจ้าคนุตมหาราช
เอลฟ์จิฟู
พระบุตรสเวน คนุตสัน กษัตริย์แห่งนอร์เวย์
แฮโรลด์ผู้เท้าไว กษัตริย์แห่งอังกฤษ
ราชวงศ์เดนมาร์ก
พระบิดาเอลฟ์เฮล์ม ผู้นำท้องถิ่นของยอร์ก

เอลฟ์จิฟูแห่งนอร์แธมตัน (อังกฤษ: Ælfgifu of Northampton; ค.ศ.990 – หลัง ค.ศ.1036) เป็นมเหสีพระองค์แรกของพระเจ้าคนุตแห่งอังกฤษและเดนมาร์ก และพระราชมารดาของพระเจ้าแฮโรลด์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ.1035-1040) ทรงเป็นราชินีผู้สำเร็จราชการแทนแห่งนอร์เวย์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1030-1035

การเสด็จพระราชสมภพ และการอภิเษกสมรส

[แก้]

เอลฟ์จิฟูเสด็จพระราชสมภพราวปี ค.ศ.990 ในตระกูลที่ร่ำรวยและเป็นที่นับหน้าถือตาทางตอนเหนือของอังกฤษ ความจงรักภักดีที่พระบิดาของพระองค์มีต่อผู้รุกรานชาวเดนท์ทำให้เอลฟ์จิฟูได้อภิเษกสมรสกับพระโอรสของผู้นำไวกิ้ง ข้อมูลที่มีอยู่น้อยมากบอกว่าการจับคู่เป็นการอภิเษกสมรสทางการเมือง

ในตอนที่มีการอภิเษกสมรส พระราชบิดาของคนุต สเวนเคราส้อม (พระราชนัดดาของฮารัลด์ฟันฟ้า) ได้ตัดสินพระทัยที่จะพิชิตอังกฤษ ส่วนหนึ่งเพื่อแก้แค้นให้กับการสิ้นพระชนม์ของพระขนิษฐาในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1002 ตามพระราชบัญชาของพระเจ้าเอเธลเร็ด คานุตต่อสู้เคียงข้างพระราชบิดาที่ชนะในท้ายที่สุด แต่กลับสวรรคตในอีก 5 อาทิตย์ต่อมา

เอเธลเร็ดที่หนีไปบ้านเกิดของพระมเหสี เอ็มม่า ได้รับการอัญเชิญจากสภาวิทันให้กลับมาปกครองอังกฤษ คานุตหนีไปเดนมาร์กพร้อมกับเอลฟ์จิฟูเพื่อสั่งสมเงินและกองกำลัง และปีต่อมาพระองค์เสด็จกลับมาพิชิตประเทศ ปราบทั้งเอเธลเร็ดที่สวรรคตและพระโอรสองค์โต เอ็ดมุนด์จอมพลัง แต่ในฐานะผู้ปกครองชาติที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์ (มีกลุ่มเล็ก ๆ ที่เป็นเพแกน ส่วนใหญ่อยู่ในเดนลอว์) สภาของคานุตประกาศว่ากษัตริย์ควรอภิเษกสมรสกับมเหสีชาวคริสต์และทอดทิ้งเอลฟ์จิฟู ผู้ที่พระองค์ได้ทำพิธีผูกข้อมือตามธรรมเนียมของเพแกน สตรีที่สภาวิทันเลือกคือเอ็มม่าแห่งนอร์ม็องดี มเหสีม่ายของเอเธลเร็ด

เพื่อป้องกันไม่ให้พระโอรสของเอเธลเร็ด เอ็ดเวิร์ดกับอัลเฟรด ช่วงชิงอำนาจของพระองค์ คานุตจึงอภิเษกสมรสกับพระมารดาของทั้งสองพระองค์ เอ็มม่า ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1017 การอภิเษกสมรสกับเอ็มม่าก็เพื่อรักษาราชวงศ์ดั้งเดิมไว้ต่อไป และพระองค์ได้อาศัยประสบการณ์และความเฉียบแหลมของพระนาง ทว่าพระองค์ไม่ได้ทอดทิ้งมเหสีพระองค์แรก บางทีเอลฟ์จิฟูอาจเป็นพระสนมหรือไม่ก็มเหสีที่ผูกข้อมือด้วยตามธรรมเนียมของชาวสแกนดิเนเวีย สันนิษฐานกันว่าพระราชบุตรที่มีกับเอลฟ์จิฟูเป็นรัชทายาทแห่งบัลลังก์เดนมาร์กและนอร์เวย์ ขณะที่พระราชบุตรของเอ็มม่าที่มีกับคานุตจะได้เป็นรัชทายาทแห่งบัลลังก์อังกฤษ เอ็มม่ามีพระราชบุตรที่มีชีวิตรอดกับคานุตสองพระองค์ พระโอรส ฮาร์ธาคนุต และพระธิดา กุนฮิลด้า

การเป็นราชินีผู้สำเร็จราชการแทนแห่งนอร์เวย์ และพระมารดาของกษัตริย์แห่งอังกฤษ

[แก้]

ในปี ค.ศ.1028 คานุตพิชิตนอร์เวย์ และในปี ค.ศ.1030 พระองค์วางตำแหน่งให้พระโอรส สเวน และพระมเหสี เอลฟ์จิฟู เป็นกษัตริย์และผู้สำเร็จราชการแทนแห่งนอร์เวย์ ทว่าเอลฟ์จิฟูบริหารราชการได้ย่ำแย่และเมื่อคานุตสวรรคตในปี ค.ศ.1035 พระองค์และพระโอรสถูกขับไล่ออกจากนอร์เวย์โดยพระเจ้ามักนุส

หลังคานุตสวรรคต ฮาร์ธาคนุต พระโอรสที่พระองค์ตั้งใจจะให้สืบสัตติวงศ์พัวพันอยู่กับการสู้รบกับมักนุสแห่งนอร์เวย์และไม่สามารถทิ้งอาณาจักรของพระองค์ไปได้ เอ็มม่าและเอิร์ลก็อดวินต้องการให้ฮาร์ธาคนุตขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษ ขณะที่เอลฟ์จิฟูและเอิร์ลลีโอฟริคสนับสนุนแฮโรลด์ผู้เท้าไว โอรสสองพระองค์ของเอเธลเร็ด เอ็ดเวิร์ดและอัลเฟรด ก็ได้อ้างสิทธิ์ในบัลลังก์เช่นกัน เนื่องจากฮาร์ธาคนุตล่าช้าและเอ็ดเวิร์ดกับอัลเฟรดถูกขับไล่ออกจากประเทศไปนอร์ม็องดี ชาวอังกฤษจึงเลือกแฮโรลด์ผู้เท้าไวเป็นกษัตริย์ เอ็มม่าได้ส่งพระราชหัตถเลขาไปขอร้องฮาร์ธาคนุตให้กลับมายึดประเทศ ฮาร์ธาคนุตปฏิเสธ พระองค์เลือกที่จะอยู่ในเดนมาร์กและปล่อยให้แฮโรลด์เป็นผู้ปกครองของอังกฤษโดยไร้การโต้แย้ง

แต่เอ็มม่าไม่อยู่เฉย พระองค์อัญเชิญพระราชโอรสด้วยการส่งพระศพของสวามีพระองค์แรก (เอเธลเร็ด) กลับมาจากนอร์ม็องดีที่พระราชโอรสของพระองค์อาศัยอยู่นับตั้งแต่พระราชบิดาสวรรคต น่าเศร้าที่แผนการล้มเหลว จบลงด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระโอรส อัลเฟรด ภายใต้สถานการณ์ที่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมาจนถึงทุกวันนี้ เอ็มม่าถึงขั้นพยายามทำลายชื่อเสียงของแฮโรลด์ผู้เท้าไว ในหนังสือที่เขียนถึงชีวประวัติของพระองค์ Encomium Emmae Reginae พระองค์กล่าวหาแฮโรลด์ว่าเป็นลูกนอกกฎหมาย ไม่ใช่เพราะเป็นพระโอรส "ที่ประสูติจากพระสนม" ของคนุต (พระองค์หมายถึงเอลฟ์จิฟู) แต่ "ถูกเอาตัวมาอย่างลับ ๆ จากข้ารับใช้ที่คลอดลูก และนำมาวางไว้ในห้องบรรทมของพระสนมที่ป่วย"

 แหล่งข้อมูล

[แก้]