เอฟรีเดส์: เดอะเฟิร์สท์ 5000 เดส์
Everydays: the First 5000 Days | |
---|---|
ศิลปิน | ไมค์ วินเคลมันน์ |
ปีที่เสร็จ | 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 |
สื่อ | ดิจิทัล (JPEG) |
มิติ | 21,069 × 21,069 พิกเซ็ล |
เจ้าของ | "เมตาโกวัน" วิฆเนศ สุนทเรสัน (Vignesh Sundaresan; MetaKovan) |
เอฟรีเดส์: เดอะเฟิร์สท์ 5000 เดส์ (อังกฤษ: Everydays: the First 5000 Days, ทุกวัน: 5000 วันแรก) เป็นงานศิลปะดิจิทัล ผลงานชองไมค์ วินเคิลมันน์ หรือชื่อในวงการว่า บีพเพิล (Beeple) งานศิลปะชิ้นนี้เป็นภาพคอลลาจแสดงภาพดิจิทัลจำนวน 5000 ภาพที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยวิรเคิลมันน์ในชุด เอฟรีเดส์ (Everydays) ภาพนี้ถูกขายในรูปแบบ non-fungible token (NFT) ด้วยมูลค่า $69.3 ล้าน ที่คริสทีส์ในปี 2021 ทำให้ภาพนี้กลายเป็นงานศิลปะ NFT ที่แพงที่สุดที่มีการซื้อขาย และเป็นหนึ่งในชิ้นงานสิลปะที่แพงที่สุดที่ศิลปินยังมีชีวิตอยู่[1][2][3][4]
เอฟรีเดส์ ถูกซื้อโดยโปรแกรมเมอร์ชาวสิงคโปร์ วิฆเนศ สุนทเรสัน (Vignesh Sundaresan)[5] และเจ้าของ เมตาเพิร์ส (Metapurse) เขาเป็นที่รู้จักในวงการในชื่อ เมตาโกวัน (MetaKovan)[6] ผู้ซึ่งจ่ายเงินซื้องานศิลปะชิ้นนี้โดยใช้สกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซีจำนวน 42,329 เอเธอเรียม[7]
จากการซื้อนี้ เมตาโกวัน ได้รับสิทธิ์ในการจัดแสดงผลงาน แต่จะไม่ได้ถือลิขสิทธิ์ในชิ้นงาน เขาจัดแสดงผลงานที่ความละเอียดเต็มบนหอศิลป์ดิจิทัลของเขา[8] ในเมตาเวิร์ส[9]
ชิ้นงาน
[แก้]งานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปินชาวอังกฤษ ทอม จัดด์ (Tom Judd) วินเคิลมันน์เริ่มสร้างงานศิลปะรายวันตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2007[10] ภาพเหล่านี้มีทั้งบุคคลจากวัฒนธรรมสมัยนิยมอย่าง เจฟ เบซอส และ ดอนัลด์ ทรัมป์ รูปทั้งหมดถูกนำมาเรียงต่อกันตามลำดับเวลาที่สร้างสรรค์[11] Some of the earlier images are hand drawn and not computer produced.[10]
บทความบนอาร์ทเน็ต โดยนักวิจารณ์ศิลปะ เบน เดวิส อ้างว่าบางภาพในภาพจำนวน 5,000 ภาพนี้ประกอบด้วยภาพเหมารวมที่มีคติถือผิว (racial), รังเกียจสตรี (misogynistic) และรังเกียจคนรักร่วมเพศ (homophobic)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gompertz, Will (13 March 2021). "Everydays: The First 5000 Days - Will Gompertz reviews Beeple's digital work ★★★☆☆". BBC. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.
- ↑ Brown, Abram (11 March 2021). "Beeple NFT Sells For $69.3 Million, Becoming Most-Expensive Ever". Forbes. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.
- ↑ Weiner, Chloee (11 March 2021). "Beeple JPG File Sells For $69 Million, Setting Crypto Art Record". NPR. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.
- ↑ Reyburn, Scott (11 March 2021). "JPG File Sells for $69 Million, as 'NFT Mania' Gathers Pace". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.
- ↑ "Mystery buyer of US$69 million digital artwork reveals his identity". CNA. 19 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-30. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.
- ↑ Davis, Ben (19 March 2021). "The Buyers of the $69 Million Beeple Reveal Their True Identities—and Say the Purchase Was About Taking a Stand for People of Color". Artnet. สืบค้นเมื่อ 22 March 2021.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Reyburn, Scott (12 March 2021). "The $69 Million Beeple NFT Was Bought With Cryptocurrency". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.
- ↑ Mak, Aaron (12 March 2021). "We Now Know Who Paid $69.3 Million for a Digital Artwork—Sort Of". Slate. สืบค้นเมื่อ 14 March 2021.
- ↑ "The full story of the guy who paid $70m for an NFT". NAS Daily. 27 March 2021. สืบค้นเมื่อ 28 March 2021 – โดยทาง YouTube.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Davis, Ben (17 March 2021). "I Looked Through All 5,000 Images in Beeple's $69 Million Magnum Opus. What I Found Isn't So Pretty". Artnet. สืบค้นเมื่อ 17 March 2021.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Mak, Aaron (11 March 2021). "How in the World Did a "Digital Artwork" Sell for $69 Million at Christie's?". Slate. สืบค้นเมื่อ 24 March 2021.