เอบียูโรบอตคอนเทสต์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เอบียูโรบอตคอนเทสต์ (อังกฤษ: ABU Robot Contest หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ABU Robocon) เป็นการการแข่งขันหุ่นยนต์ของนักเรียน นักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจะมีประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพสื่อสารมวลชนแปซิฟิค (ABU) หมุนเวียนจัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพในทุกปี ซึ่งยังคงจัดการแข่งขันอยู่จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ เอบียูโรบอตคอนเทสต์
[แก้]การแข่งขันหุ่นยนต์เอบียูโรบอตคอนเทสต์ มีพื้นฐานมาจากการแข่งขันหุ่นยนต์ เอ็นเอชเค โรโบคอน (NHK Robocon) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในตอนแรกได้จัดให้มีการแข่งขันเฉพาะนักเรียน นักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษาในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ต่อมาได้ขยายขอบเขตให้เป็นการแข่งขันในระดับนานาชาติ ทำให้สมาชิกของเอบียูเริ่มเล็งเห็นความสำคัญ และมีแนวคิดที่จะขยายขอบเขตของการแข่งขันให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จึงได้เริ่มจัดการแข่งขัน เอบียูโรบอตคอนเทสต์ ครั้งแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2545 โดยให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ และมีการกำหนดว่า สมาชิกของเอบียูจะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพทุกๆ ปี
รูปแบบพื้นฐานของการแข่งขัน
[แก้]รูปแบบพื้นฐานของการแข่งขันนั้น ในแต่ละทีมจะมีหุ่นยนต์อยู่ 2 ประเภท คือ หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ และ หุ่นยนต์อัตโนมัติ โดยในแต่ละทีมนั้นจะต้องทำให้หุ่นยนต์ทั้ง 2 ประเภท ทำภารกิจให้สำเร็จก่อนหุ่นยนต์ของคู่ต่อสู้ หรือทำคะแนนให้ได้มากที่สุด ภายในเวลา 3 นาที ซึ่งรูปแบบกติกา ภารกิจ และการทำคะแนนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทุกๆปี
รายชื่อเจ้าภาพ ชื่อของการแข่งขัน และผู้ชนะ
[แก้]ปี | เจ้าภาพ | ชื่อของการแข่งขัน และ โลโก้ของการแข่งขัน |
ที่มาของกติกาการแข่งขัน | ทีมและประเทศที่ชนะเลิศ |
---|---|---|---|---|
2002 | ญี่ปุ่น | Reach for The Top of Mt.Fuji (พิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิ) |
ยอดเขาฟูจิ | TELEMATIC (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโฮจิมินซิตี) |
2003 | ไทย | Takraw Space Conqueror (ตะกร้อพิชิตจักรวาล) |
การละเล่นตะกร้อลอดห่วง | นายฮ้อยทมิฬ 2002 V.2 (วิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน) |
2004 | เกาหลีใต้ | Reunion of Separated Lovers, Gyeonwoo & Jiknyeo (โอแจ็ค สะพานตำนานแห่งความรัก) |
ตำนานความรักของประเทศเกาหลี | FXR (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโฮจิมินซิตี้) |
2005 | จีน | Climb on the Great Wall Light the Holy Fire (จุดไฟศักดิ์สิทธิ์ พิชิตกำแพงเมืองจีน) |
กำแพงเมืองจีน | Robo Tech (มหาวิทยาลัยโตเกียว) |
2006 | มาเลเซีย | Building the World’s Tallest Twin Tower (ตึกแฝดเสียดฟ้า ท้าพิชิต) |
ตึกแฝดปิโตรนาส | BKPro (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโฮจิมินซิตี) |
2007 | เวียดนาม | Halong Bay Discovery (มหัศจรรย์ ฮาลองเบ) |
ตำนานของเมืองฮาลอง | Inspire (มหาวิทยาลัยเซียอานเจียวทง) |
2008 | อินเดีย | Touch The Sky (เหินฟ้าท้าพิชิต) |
การละเล่นของชาวอินเดีย | Inspire (มหาวิทยาลัยเซียอานเจียวทง) |
2009 | ญี่ปุ่น | Travel Together for the Victory Drums (ร่วมตะลุย ลั่นกลองชัย) |
การเดินทางในสมัยโบราณของชาวญี่ปุ่น | Dragon (สถาบันเทคโนโลยีฮาร์บิน) |
2010 | อียิปต์ | Robocon Pharaoh (บุกอารยธรรมอียิปต์ พิชิตมหาพีระมิดแห่งกิซา) |
การก่อสร้างพีระมิด | Fighters.UESTC (มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศจีน) |
2011 | ไทย | Loy Krathong, Lighting Happiness with Friendship (ลอยกระทง จุดประกายแห่งความสุขด้วยมิตรภาพ) |
ประเพณีลอยกระทง | ลูกเจ้าแม่คลองประปา THE LIMITED (มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์) |
2012 | ฮ่องกง | In pursuit of peace and prosperity (พิชิตยอดเขา คว้าซาลาเปา มุ่งสู่สันติ) |
ประเพณีเก็บซาลาเปา | ไม่ทราบ (มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศจีน) |
2013 | เวียดนาม | The Green Planet (หุ่นยนต์พิทักษ์ รักโลกสีเขียว) |
การอนุรักษ์ป่าไม้ | HISHO (สถาบันเทคโนโลยีคานาซาวา) |
2014 | อินเดีย | A Salute to Parenthood (อุ่นไอรัก) |
ความสำคัญของครอบครัวและสนามเด็กเล่น | LH-NVN (มหาวิทยาลัยลาคฮอง) |
2015 | อินโดนีเซีย | Robominton (หุ่นยนต์แบดมินตัน) |
กีฬาแบดมินตัน | Hungyen Techedu (มหาวิทยาลัยครุศาสตร์และเทคโนโลยีฮึงเอียน) |
2016 | ไทย | Clean Energy Recharging the World (พลังงานบริสุทธิ์ จุดประกายโลก) |
การอนุรักษ์พลังงาน | UTM (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมาเลเซีย) |
2017 | ญี่ปุ่น | The Landing Disc (ยุทธการ จานร่อน) |
การละเล่นโยนพัด | LH - NICESHOT (มหาวิทยาลัยลาคฮอง) |
2018 | เวียดนาม | The Festival Wishing Happiness & Prosperity (ลูกช่วงมังกรบิน พิชิตถ้วยทองคำ) |
การละเล่นโยนลูกช่วงเข้าห่วง | LH-GALAXY (มหาวิทยาลัยลาคฮอง) |
2019 | มองโกเลีย | Share the knowledge | Chinese University of Hong Kong | |
2020 | ฟีจี[1] | Robo Rugby 7s | มหาวิทยาลัยโตเกียว | |
2021 | จีน[1] | Throwing arrows into pots | Sepuluh Nopember Institute of Technology | |
2022 | อินเดีย | Lagori | ||
2023 | กัมพูชา | Casting Flowers over Angkor Wat |
- หมายเหตุ
- ^ แข่งขันออนไลน์เนื่องจาก การระบาดทั่วของโควิด-19
การแข่งขันในประเทศไทย
[แก้]การแข่งขันในประเทศไทย เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน)เป็นผู้ดำเนินการจัดการแข่งขัน และใช้ชื่อการแข่งขันว่า "การแข่งขันหุ่นยนต์เอบียูชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย (ABU Robot Contest Thailand Championship)" ซึ่งก็ยังคงใช้กติกาการแข่งขันแบบเดียวกันกับ เอบียูโรบอตคอนเทสต์ ทุกประการ จนถึงปัจจุบัน โดยจะมีการจัดการแข่งขันเพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยในรอบสุดท้าย ณ อิมแพ็คอารีนา เมืองทองธานี ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ยกเว้นในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2546 ที่ได้ไปจัดแข่งขัน ณ MCC Hall เดอะมอลล์ บางกะปิ และอินดอร์สเตเดียมหัวหมาก ตามลำดับ ส่วนในปี พ.ศ. 2545 ไม่มีการจัดการแข่งขัน
ดูเพิ่ม
[แก้]- หุ่นยนต์
- อาซิโม
- คิวริโอ
- วิทยาการหุ่นยนต์
- หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์
- กฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์
- โรโบคัพ
- การแข่งขันออกแบบหุ่นยนต์ระหว่างประเทศ
- ทฤษฎีระบบควบคุม
- เมคคาทรอนิกส์