เอกอัครรัฐมนตรี
เอกอัครรัฐมนตรี First Secretary of State | |
---|---|
ตรารัฐบาลในสมเด็จฯ | |
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน ว่าง ตั้งแต่ 15 กันยายน 2021 | |
รัฐบาลสหราชอาณาจักร | |
สมาชิกของ | คณะรัฐมนตรี, คณะองคมนตรี และสภาความมั่นคงแห่งชาติ |
รายงานต่อ | นายกรัฐมนตรี |
จวน | ไม่มี |
ผู้เสนอชื่อ | นายกรัฐมนตรี |
ผู้แต่งตั้ง | พระเจ้าแผ่นดิน (ตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี) |
วาระ | ตามพระราชอัธยาศัย |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | ร๊าบ บัตเลอร์ |
สถาปนา | 13 กรกฎาคม 1962 |
เงินตอบแทน | £153,022 ต่อปี[1] (2019) |
เอกอัครรัฐมนตรี (อังกฤษ: First Secretary of State) เป็นตำแหน่งในรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีศักดิ์สูงกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทั้งปวง[2] ได้รับการเสนอชื่อโดยนายกรัฐมนตรี และได้รับการแต่งตั้งโดยพระเจ้าแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งนี้ไม่ได้ใช้ถูกงานตลอดเวลา บางช่วงเวลาก็ถูกปล่อยว่าง
ตำแหน่งเอกอัครรัฐมนตรีเกิดขึ้นในปี 1962 ผู้ดำรงตำแหน่งคนแรกคือร๊าบ บัตเลอร์ เนื่องจากก่อนนั้น ทางราชสำนักคัดค้านการแต่งตั้งเขาเป็นรองนายกรัฐมนตรี[3] ตำแหน่งนี้ไม่มีความรับผิดชอบอย่างเฉพาะเจาะจง (ต่างจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีที่ยังได้รับมอบหมายให้ดูแลบางกระทรวง) มีความสำคัญแค่เพื่อให้รู้ว่าใครจะนั่งหัวโต๊ะในที่ประชุมที่ไม่มีนายกรัฐมนตรีเข้าร่วม[4] ด้วยเหตุนี้จึงถูกมองว่าเป็นตำแหน่งที่มีหน้าตาแต่ไม่มีความสำคัญ
เอกอัครรัฐมนตรีไม่มีสิทธิ์ทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีโดยอัตโนมัติเฉกเช่นตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี (deputy prime minister) การให้เอกอัครรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเสียก่อน เช่นในเดือนเมษายน 2020 นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ป่วยโรคโควิดและถูกนำตัวเข้าห้องไอซียู ขณะนั้นไม่มีรองนายกรัฐมนตรี จึงมีมติให้นายดอมินิก ราบ เอกอัครรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาการแทนนายกรัฐมนตรี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Salaries of Members of Her Majesty's Government from 1st April 2019" (PDF) (ภาษาEnglish). 1 April 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2021. สืบค้นเมื่อ 10 July 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "The Cabinet Manual" (PDF). gov.uk. 2010. 3.12. สืบค้นเมื่อ 3 June 2021.
- ↑ Brazier, Rodney (2020). Choosing a Prime Minister: The Transfer of Power in Britain. Oxford University Press. pp. 74–5. ISBN 978-0-19-260307-4.
- ↑ Norton, Philip (2020). Governing Britain: Parliament, Ministers and Our Ambiguous Constitution. Manchester University Press. pp. 149–50. ISBN 9-781526-145451.