แอร์โกเล มันเฟรดี
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก เอกฤทธิ์ หมั่นเฟ้นดี)
แอร์โกเล มันเฟรดี | |
---|---|
เกิด | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ตูริน ราชอาณาจักรอิตาลี |
เสียชีวิต | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (89 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
สัญชาติ | อิตาลี ไทย (หลัง พ.ศ. 2486) |
ศิษย์เก่า | Accademia Albertina |
อาชีพ | สถาปนิก |
คู่สมรส | ทองม้วน ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา |
บุตร | 2 (บุตรสาว) |
ผลงานสำคัญ | พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน บ้านนรสิงห์ |
เอกฤทธิ์ หมั่นเฟ้นดี (2 กรกฎาคม 2426 – 9 มิถุนายน 2516) มีชื่อเดิมว่า แอร์โกเล ปีเอโตร มันเฟรดี (อิตาลี: Ercole Pietro Manfredi) เป็นสถาปนิกชาวอิตาลี ผู้ใช้ชีวิตและทำงานในสยาม ในช่วงต้น คริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเกิดที่ ตูริน ประเทศอิตาลี จบการศึกษาจาก Accademia Albertina ก่อนเดินทางมายัง กรุงเทพมหานคร เขาเป็นหนึ่งในชาวตะวันตกหลายคนที่ถูกว่าจ้างโดยรัฐบาลสยาม
เขามีความก้าวหน้าในอาชีพการงานอย่างมากในราชสำนักของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ออกจากราชการไปทำงานส่วนตัวเนื่องจากประเทศกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอันเนื่องมาจากการปฏิวัติสยามในปี 2475 และคณะราษฎรได้เลิกจ้างชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานให้กับราชสำนัก
ยศ
[แก้]- 11 มิถุนายน พ.ศ. 2460 เสวกตรีพิเศษ[1]
- 29 ธันวาคม พ.ศ. 2460 - พันจ่า[2]
- 23 กันยายน พ.ศ. 2461 เรือตรี[3]
- 23 ธันวาคม พ.ศ. 2462 เรือโท[4]
- 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 เสวกเอก[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. ๒๔๖๓ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.) [6]
- พ.ศ. ๒๔๕๘ – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[7]
- พ.ศ. ๒๔๕๖ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นายอีมันเฟรดีแต่งเครื่องยศกรมศิลปากรชั้นเสวกตรี
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า (หน้า ๓๐๓๕)
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ "พระราชทานยศนายเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 มกราคม 1919.
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า ๓๖๒๐)
- ↑ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์