ข้ามไปเนื้อหา

เอกซ์บอกซ์วัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอกซ์บอกซ์ วัน)
เอกซ์บอกซ์วัน
Xbox One


บน: เครื่องเล่นวิดีโอเกมเอกซ์บอกซ์วันรุ่นดั้งเดิม คอนโทรลเลอร์ และเซนเซอร์คิเนค
กลาง: เอกซ์บอกซ์วันเอส
ล่าง: เอกซ์บอกซ์วันเอกซ์
ผู้พัฒนาไมโครซอฟท์
ผู้ผลิตไมโครซอฟท์
ตระกูลเอกซ์บอกซ์
ชนิดเครื่องเล่นวิดีโอเกม
รุ่นที่ยุคที่แปด
วางจำหน่าย22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[1]
สื่อBlu-ray Disc[2]
ระบบปฏิบัติการXboxOS, Windows custom kernel and a hypervisor
หน่วยประมวลผลAMD 8 core APU[2]
ความจุ500 GB (HDD)[2]
หน่วยความจำ8 GB[2] DDR3[3] (5 GB available to games)[4]
การแสดงผล
Video output formats
กราฟฟิกAMD Radeon variant (inside of APU)
ระบบเสียง7.1 surround sound
การรับเข้าThree USB 3.0 Ports and an HDMI port
กล้อง1080p Kinect camera
บริการออนไลน์เอกซ์บอกซ์ไลฟ์
Backward
compatibility
รองรับ[5]
รุ่นก่อนหน้าเอกซ์บอกซ์ 360
รุ่นต่อไปเอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์/เอส
เว็บไซต์xbox.com

เอกซ์บอกซ์วัน (อังกฤษ: Xbox One) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมผลิตโดยไมโครซอฟท์ เป็นเครื่องเล่นต่อจากเอกซ์บอกซ์ 360 และเป็นรุ่นที่ 3 ในตระกูลเอกซ์บอกซ์ เปิดตัวครั้งแรกในอเมริกาเหนือ บางส่วนของยุโรป ออสเตรเลีย และอเมริกาใต้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 และในญี่ปุ่น จีน และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปในเดือนกันยายน พ.ศ. 2557 เป็นเครื่องเล่นเกมเอกซ์บอกซ์เครื่องแรกที่วางจำหน่ายในประเทศจีน โดยเฉพาะในเขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ ไมโครซอฟท์วางตลาดอุปกรณ์ดังกล่าวเป็น "ระบบความบันเทิงครบวงจร" ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า "เอกซ์บอกซ์วัน"[6][7] เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องเล่นวิดีโอเกมยุคที่แปดซึ่งแข่งขันกับเพลย์สเตชัน 4 ของโซนี่ และวียูหรือต่อมาคือนินเท็นโด สวิตช์ของนินเท็นโดเป็นหลัก

การย้ายออกจากสถาปัตยกรรมที่ใช้เพาเวอร์พีซีของรุ่นก่อนหน้า เอกซ์บอกซ์วันถือเป็นการเปลี่ยนกลับไปใช้สถาปัตยกรรมแบบเอกซ์86 ที่ใช้ในเอกซ์บอกซ์รุ่นดั้งเดิม มี AMD Accelerated Processing Unit (APU) ที่สร้างขึ้นโดยใช้ชุดคำสั่งเอกซ์86-64 คอนโทรลเลอร์ของเอกซ์บอกซ์วันได้รับการออกแบบใหม่เหนือเอกซ์บอกซ์ 360 โดยมีการออกแบบตัวเครื่อง ดีแพด และทริกเกอร์ที่สามารถส่งการตอบสนองแบบสัมผัสตามทิศทางได้ เครื่องเล่นเกมให้ความสำคัญกับการประมวลผลแบบคลาวด์ เช่นเดียวกับคุณลักษณะเครือข่ายสังคมออนไลน์ และความสามารถในการบันทึกและแบ่งปันคลิปวิดีโอหรือภาพหน้าจอจากการเล่นเกมหรือสตรีมสดโดยตรงไปยังบริการสตรีม เช่นมิกเซอร์และทวิตช์ นอกจากนี้ยังสามารถเล่นเกมนอกเครื่องเล่นเกมผ่านเครือข่ายท้องถิ่นบนอุปกรณ์วินโดวส์ 10 ที่รองรับ เครื่องเล่นเกมสามารถเล่นแผ่นบลูเรย์และซ้อนทับรายการโทรทัศน์สดจากกล่องรับสัญญาณที่มีอยู่หรือเครื่องรับสัญญาณดิจิทัลสำหรับโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดินพร้อมคู่มือโปรแกรมที่ปรับปรุงแล้ว เครื่องเล่นเกมมีตัวเลือกรวมเซนเซอร์คิเนคที่ออกแบบใหม่ ซึ่งวางตลาดในชื่อ "คิเนค 2.0" ซึ่งให้การติดตามการเคลื่อนไหวและการจดจำเสียงที่ดีขึ้น

เอกซ์บอกซ์วันได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวกสำหรับการออกแบบคอนโทรลเลอร์ที่ประณีต คุณลักษณะด้านมัลติมีเดีย และการนำด้วยเสียง การออกแบบที่เงียบกว่าและเย็นกว่านั้นได้รับการยกย่องว่าทำให้เครื่องเล่นเกมมีความน่าเชื่อถือมากกว่ารุ่นก่อนเมื่อเปิดตัว แต่เครื่องเล่นเกมมักถูกวิจารณ์ว่าเล่นเกมในระดับกราฟิกที่ต่ำกว่าเพลย์สเตชัน 4 ในทางเทคนิค อินเทอร์เฟซผู้ใช้เดิมถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงเนื่องจากไม่ใช้งานง่าย แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับส่วนติดต่อผู้ใช้และส่วนอื่น ๆ ของซอฟต์แวร์คอนโซลหลังการเปิดตัวจะได้รับการตอบรับที่ดี คิเนคได้รับการยกย่องในด้านความแม่นยำในการติดตามการเคลื่อนไหว การเข้าสู่ระบบการจดจำใบหน้า และการสั่งงานด้วยเสียง

รุ่นต่อไปของเอกซ์บอกซ์วันรุ่นดั้งเดิมคือเอกซ์บอกซ์วันเอสใน พ.ศ. 2559 ซึ่งมีฟอร์มแฟคเตอร์ที่เล็กกว่าและรองรับวิดีโอช่วงไดนามิกสูง HDR10 ตลอดจนรองรับการเล่นวิดีโอ 4K และยกระดับเกมให้สูงขึ้นจาก 1080p เป็น 4K ตัวเครื่องได้รับการยกย่องในเรื่องขนาดที่เล็กลง การปรับปรุงด้านภาพบนหน้าจอ และการไม่มีแหล่งจ่ายไฟภายนอก แต่มีการปรับปรุงเช่นการไม่มีพอร์ตคิเนคดั้งเดิม รุ่นไฮเอนด์ชื่อเอกซ์บอกซ์วันเอกซ์ เปิดตัวในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 และวางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน มีคุณลักษณะฮาร์ดแวร์ที่ได้รับการอัพเกรดและรองรับการเรนเดอร์เกมที่ความละเอียด 4K รุ่นต่อไปของเครื่องเล่นเกมนี้คือเอกซ์บอกซ์ซีรีส์เอกซ์และซีรีส์เอส ซึ่งเปิดตัวในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 การผลิตเครื่องเล่นเกมเอกซ์บอกซ์วันทั้งหมดหยุดลงในสิ้นปีนั้น

การเปลี่ยนแปลงฮาร์ดแวร์

[แก้]

เอกซ์บอกซ์วัน เอส

[แก้]

ช่วงวันที่ 13 มิถุนายน 2559 ในงาน E3 2016 ทาง Microsoft ได้ (อังกฤษ: Xbox One S) เป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และยกจาก เอกซ์บอกซ์วัน มาทำใหม่ โดยมีขนาดเล็กลง 40 เปอร์เซ็นต์ , ตัวเพาเวอร์ซัพพลายอยู่ในตัวเครื่อง ซึ่งจะไม่สามารถใช่งานร่วมกับเอกซ์บอกซ์วันได้ , ช่องเสียบ USB อยู่ด้านหน้า พร้อมเซ็นเซอร์ IR Sensor และไม่มีการแถมตัว Kinect sensor ด้วย ตั้งแต่ขนาดเริ่มต้น เพื่อประหยัดงบประมาณ แต่สามารถอัพฮาร์ดดิสก์ได้สูงสุด 2 TB

บนตัวเกมนั้น เอกซ์บอกซ์วัน เอส จะรองรับเกมที่ใช้ HDR (High-Dynamic Range) ในมาตรฐาน HDR10[8] และรองรับเล่นวิดีโอจากแผ่น Ultra HD Blu-ray หรือบนความละเอียด 4K จากบริการสตรีมมิ่งวิดีโอคอนเทน

เอกซ์บอกซ์วัน เอส ราคาเริ่มต้นที่ 299 ดอลลาร์สหรัฐ ที่ความจุ 500 GB[9]

เอกซ์บอกซ์วัน เอกซ์

[แก้]

ช่วงวันเดียวกันกับเปิดตัวเอกซ์บอกซ์วัน เอส ทาง Microsoft ได้มีการเปิดตัว โปรเจกต์ สกอพิโอ ซึ่งเป็นตัวฮาร์ดแวร์ในรุ่นต่อไปในตระกูลคอนโซล โดยสามารถเล่นเกมบนความละเอียด 4K ได้ พร้อมทั้งนี้ ยังเปิดเผยฮาร์ดแวร์เพียงแค่เล็กน้อย คือ ซีพียู AMD 8 แกนประมวลผล , แบรนด์วิตต์หน่วยความจำ 320 จิกะบิตต่อวินาที , จีพียูแบรนด์วิตต์ 6 Teraflops และรองรับ Virtual Reality ทั้งนี้ Microsoft ยังให้คำนิยามของเจ้า Project Scorpio ด้วยว่า “The Most Powerful Console Ever” หรือ เครื่องเล่นเกมคอนโซลที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยมีมา[10] และจะมีการเปิดเผยโฉมตัวนี้ ในวันที่ 11 มิถุนายน 2560[11]

ในงาน E3 ปี 2017 ได้มีการออกชื่อเครื่องเกมคอนโซลจากโปรเจกต์ สกอพิโอ ในภายใต้ชื่อว่า เอกซ์บอกซ์วัน เอกซ์ โดยได้ทำการออกแบบตัวเครื่องจะไปเน้นในทางด้านความเร็ว , ความเข้ากันได้ และการทำงานและออกแบบ[12]

ในด้านความเร็วนั้น จะไปตามที่วางแผนตาม โปรเจกต์ สกอพิโอ แต่จะมีการเพิ่มประสิทธิภาพที่แบรนด์วิตต์หน่วยความจำจากเดิม 320 เป็น 326 จิกะบิตต่อวินาที[13] ตัวจีพียูบน เอกซ์บอกซ์วัน เอกซ์ นั้น จะมีความเร็วที่ 1172 MHz และ มีหน่วยความจำที่ 12 GB แบบ GDDR5 ทำให้สามารถเล่นเกมบนความละเอียด 4K ได้มีประสิทธิภาพ และไม่ลดทอนคุณภาพ เมื่อเทียบกับ เพลย์สเตชัน 4 โปร , รองรับเกมที่ใช้ HDR (High-Dynamic Range) ในมาตรฐาน HDR10 , รองรับความกว้างสีแบบ Wide Color Gamut , รองรับเสียงในรูปแบบ Dolby Atmos และรองรับเล่นวิดีโอจากแผ่น Ultra HD Blu-ray หรือบนความละเอียด 4K จากบริการสตรีมมิ่งวิดีโอคอนเทน

ส่วนความเข้ากันได้ เครื่องนี้สามารถใช้งานอุปกรณ์และเกมที่ใช้ใน เอกซ์บอกซ์ วัน และ เอกซ์บอกซ์วัน เอส ได้ (ยกเว้นเพาเวอร์ซัพพลายบนเอกซ์บอกซ์ วัน , เกมสามารถเล่นได้ถึงเครื่องเล่น XBOX รุ่นแรก) แต่เกมที่จะเล่นบน เอกซ์บอกซ์วัน เอกซ์ นั้น จะสามารถเล่นได้เต็มประสิทธิภาพเช่นเดิม แต่จะโหลดเกมได้เร็วขึ้น , เฟรมเรตเพิ่มขึ้น และตัวเกมจะเรนเดอร์เป็น 4K โดยอัตโนมัติ โดยใช้เทคนิค Supersampling

และการทำงานและออกแบบนั้น โดยตัว SoC นี้ จะทำในสถาปัตยกรรมแบบกำหนดเอง บนขนาดชิพ 16 นาโนเมตร , ใช้ตัวระบายความร้อนแบบ Liquid-Cooling ในชนิด Vapor Chambers , ปรับปรุงการจัดการพลังงานให้สอดคล้องกันระหว่าง SoC กับพลังงานได้ดียิ่งขึ้น และตัวเครื่องนี้ จะเล็กที่สุดและเร็วที่สุดในตระกูลเอกซ์บอกซ์อีกด้วย[12]

โดยจะวางจำหน่ายในวันที่ 7 พฤศจิกายนนี้ ในราคาเริ่มต้นที่ 499 ดอลลาร์สหรัฐ ที่ความจุ 1 TB และคนที่จองสั่งซื้อไว้ก่อนนั้น จะได้เป็น เอกซ์บอกซ์วัน เอกซ์ โปรเจกต์ สกอพิโอ อิดิชั่น ซึ่งจะมีตัวอักษรเขียนว่า "Project Scorpio" บนตัวเครื่องและคอนโทรลเลอร์ ลายดอทแบบพิเศษ รวมถึงแถมขาตั้ง โดยจะมีจำนวนจำกัดเท่านั้น[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Xbox One Release Date In 2013 - NowGamer
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Microsoft Xbox One - Consoles - CNET Reviews". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-23. สืบค้นเมื่อ 2013-05-23.
  3. "Xbox 720 Specs vs. PS4 Specs: Which Next-Gen System Will Win? - International Digital Times". Idigitaltimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-07. สืบค้นเมื่อ 2013-05-22.
  4. "The Tech Spec Test: Xbox One Vs. PlayStation 4". Game Informer. 2013-05-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-07. สืบค้นเมื่อ 2013-05-22.
  5. "Microsoft Unleashes Xbox One Backward Compatibility, Game Streaming in Preview".
  6. "Xbox One: Microsoft exec explains console's name". May 28, 2013.
  7. Walker, Tim (May 22, 2013). "Xbox ONE: 'The ultimate all-in-one home entertainment system': Microsoft finally unveils its latest console". The Independent. Independent Print. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 7, 2022. สืบค้นเมื่อ May 23, 2013.
  8. http://www.highdefdigest.com/news/show/games/ultra-hd-bluray/Dolby_Vision/media-remote/2tb/the-xbox-one-s-will-support-hdr10-but-dolby-atmos-direct-bitstreaming-dtsx-support-remain-elusive/33645
  9. "Early Xbox One buyers to get Day One Edition consoles". Engadget (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  10. จากวิดีโอ Xbox - Project Scorpio โดย Microsoft (Xbox)
  11. https://thenextweb.com/gaming/2017/02/16/microsoft-teases-project-scorpio-reveal-e3/
  12. 12.0 12.1 "Xbox E3 2017 Briefing".
  13. "XBOX E3 2017". สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2017.
  14. "Xbox One X เริ่มเปิดจอง พร้อมรุ่น Scorpio Edition". Blognone. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]