เห็ดทะเลหูช้าง
เห็ดทะเลหูช้าง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | ไนดาเรีย Cnidaria |
ชั้น: | แอนโธซัว Anthozoa |
อันดับ: | เห็ดทะเล Corallimorpharia |
วงศ์: | Discosomidae Discosomidae Dunn & Hamner, 1980 |
สกุล: | เห็ดทะเลหูช้าง Amplexidiscus Dunn & Hamner, 1980[1] |
สปีชีส์: | Amplexidiscus fenestrafer |
ชื่อทวินาม | |
Amplexidiscus fenestrafer Dunn & Hamner, 1980[1] | |
ชื่อพ้อง | |
|
เห็ดทะเลหูช้าง (อังกฤษ: Elephant ear anemone; ชื่อวิทยาศาสตร์: Amplexidiscus fenestrafer) สัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง ในไฟลัมไนดาเรีย จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Amplexidiscus[1]
เห็ดทะเลหูช้าง จัดเป็นเห็ดทะเลชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก[2] มีลักษณะคล้ายกับเห็ดทะเลในสกุล Rhodactis แต่ต่างกันที่รายละเอียดของเข็มนีมาโตซีส มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่สุดถึง 50 เซนติเมตร มีเมนเซนเทอเรียลแทรกเข้ามาอย่างชัดเจน ขอบจานมีลักษณะเป็นลอน หนวดเจริญดี ขึ้นกระจายทั่วแผ่นจานยกเว้นบริเวณขอบจาน ปากเป็นรูปกรวยขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน[3]
พบกระจายพันธุ์ในแนวปะการังเขตร้อนแถบอินโด-แปซิฟิก[2]กินอาหารได้สองแบบ คือ การสังเคราะห์แสงจากสาหร่ายเซลล์เดียวซูแซนเทลลีที่มีอยู่จำนวนมากที่บริเวณขอบปาก ตลอดจนจับสัตว์ทะเลขนาดเล็ก ๆ หน้าดินหลายประเภท เช่น กุ้ง, หนอนทะเล, อิคีเนอเดอร์เมอเทอ หรือกระทั่งปลากินเป็นอาหารได้ เมื่อจับเหยื่อได้แล้วเห็ดทะเลหูช้างจะเริ่มกระบวนการย่อยอาหารด้วยเริ่มจากขอบจานไปสู่ปาก โดยเปลี่ยนรูปแบบของอาหารให้กลมเป็นลูกบอล[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Daphne Fautin (2013). Fautin DG (บ.ก.). "Amplexidiscus fenestrafer Dunn & Hamner, 1980". Hexacorallians of the World. World Register of Marine Species. สืบค้นเมื่อ May 21, 2013.
- ↑ 2.0 2.1 สหภพ ดอกแก้ว; พงศ์เชฏฐ์ พิชิตกุล. การสำรวจเห็ดทะเลในอันดับ Corallimorpharia บริเวณอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง. p. 144-152. ISBN 974-537-825-9.
- ↑ 3.0 3.1 Andreas Vilcinskas (2002). La vie sous-marine des tropiques [The underwater life of the tropics] (ภาษาฝรั่งเศส). Editions Vigot. ISBN 9782711419036.