ข้ามไปเนื้อหา

เหยี่ยวแคระแอฟริกัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหยี่ยวแคระแอฟริกัน
ตัวผู้ในอุทยานแห่งชาติบัฟฟาโล่สปริง, เคนยา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Falconiformes
วงศ์: Falconidae
สกุล: Polihierax
สปีชีส์: P.  semitorquatus
ชื่อทวินาม
Polihierax semitorquatus
(Smith, 1836)
ชนิดย่อย
  • P. s. castanonotus (Heuglin, 1860)
  • P s. semitorquatus (Smith, 1836)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

เหยี่ยวแคระแอฟริกัน (อังกฤษ: Pygmy falcon, African pygmy falcon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Polihierax semitorquatus) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกเหยี่ยว จัดอยู่ในวงศ์เหยี่ยวปีกแหลม (Falconidae)

เป็นเหยี่ยวขนาดเล็ก มีความยาวลำตัวประมาณ 19-20 เซนติเมตร รูปร่างล่ำสันแข็งแรง มีกระหม่อมสีเทา ด้านหลังเป็นจุดกลมขนาดใหญ่สีขาวคล้ายดวงตา อกและท้องเป็นสีขาว มีจะงอยปากงุ้มและแข็งแรงใช้สำหรับหักคอเหยื่อเพื่อล่าเป็นอาหาร ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ [2]

เหยี่ยวแคระแอฟริกันเป็นนกที่บินได้เร็วมาก และสามารถฆ่าเหยื่อได้ด้วยการพุ่งชนหรือหักคอกลางอากาศ โดยเหยื่อได้แก่ นกขนาดเล็ก, หนู, กบ และสัตว์เลื้อยคลานชนิดต่าง ๆ และบางครั้งก็กินแมลง เช่น ตั๊กแตน หรือจิ้งหรีด[2]

ปกติจะอาศัยอยู่ในพุ่มไม้ที่แห้ง มีระดับการบินต่ำและบินขึ้นลงเป็นลูกคลื่น เมื่อยามเกาะกับกิ่งไม้อาจดูคล้ายกับนกอีเสือ แบ่งได้ออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ P. s. castanonotus พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ซูดานถึงโซมาเลีย และตอนใต้ของอูกานดาและแทนซาเนีย และP. s. semitorquatus พบตั้งแต่แองโกลาจนถึงตอนเหนือของแอฟริกาใต้ มีพื้นที่กระจายพันธุ์กว้างประมาณ 2.7 ล้านตารางกิโลเมตร และมีจำนวนประชากรประมาณ 100,000-1,000,000 ตัว[3][4]

มีเสียงร้อง "คิกคิกคิกกกกกกกกก" ในเคนยา และ "ชิพชิพ" และ "คิกคิกคิกคิกคิก" ในแอฟริกาตอนใต้[3][4]

คู่ตัวผู้ (ซ้าย) และตัวเมีย (ขวา) ที่อุทยานแห่งชาติเซเรงเกติ, แทนซาเนีย

อ้างอิง

[แก้]
  1. BirdLife International (2012). "Polihierax semitorquatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  2. 2.0 2.1 ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. ISBN 978-616-90508-0-3
  3. 3.0 3.1 Zimmerman, Dale A.; Turner, Donald A.; and Pearson, David J. (1999). Birds of Kenya and Northern Tanzania. Princeton University Press. pp. 90–91, 110–111, 309. ISBN 0-691-01022-6. สืบค้นเมื่อ 2007-07-26.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 Sinclair, Ian; Hockey, Phil; and Tarboton, Warwick (2002). Birds of Southern Africa. Princeton University Press. pp. 116, 132. ISBN 0-691-09682-1. สืบค้นเมื่อ 2007-07-26.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Polihierax semitorquatus ที่วิกิสปีชีส์