เหตุยิงนิโคลัส กรีน
นิโคลัส กรีน | |
---|---|
อนุสรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงนิโคลัส กรีน | |
เกิด | 9 กันยายน ค.ศ. 1987 ซานฟรานซิสโก, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐ |
เสียชีวิต | 1 ตุลาคม ค.ศ. 1994 เมสซีนา, ประเทศอิตาลี | (7 ปี)
นิโคลัส กรีน (Nicholas Green; 9 กันยายน 1987 - 1 ตุลาคม 1994) เป็นเด็กชายชาวอังกฤษ-อเมริกันที่ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างความพยายามโจรกรรมรถยนต์ขณะกรีนเดินทางไปท่องเที่ยวกับครอบครัวในอิตาลีตอนใต้ คนร้ายเข้าใจผิดรถครอบครัวกรีนว่าเป็นรถของช่างทำเพชร หลังกรีนเสียชีวิต พ่อแม่เขาได้ตัดสินใจบริจาคอวัยวะของเขา โดยมีผู้ป่วยรวมห้ารายที่ได้รับปลูกถ่ายอวัยวะสำคัญและสองรายได้รับการปลูกถ่ายกระจกตา[1] เหตุการณ์นี้ได้รับการยกย่องว่านำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการบริจาคอวัยวะในประเทศอิตาลี[2]
การเสียชีวิต
[แก้]นิโคลัส กรีน, เอเลียเนอร์ กรีน น้อง/พี่สาว และพ่อแม่ของเขา มาร์กาเร็ตและเรจินาลด์ ได้เดินทางไปท่องเที่ยวในแคว้นกาลาเบรีย ทางตอนใต้ของอิตาลี ในคืนวันที่ 29 กันยายน 1994 ขณะกำลังขับขี่รถบนทางด่วนเอสาม ระหว่างซาแลร์โนกับเรจโจกาลาเบรีย[1][3] พวกเขาได้จอดรถพักระหว่างทางที่ออโตกริลล์แห่งหนึ่ง ที่ซึ่งชายสองคนเริ่มติดตามรถของพวกเขา โดยเชื่อว่าพวกเขาเป็นช่างทำเพชร ชายทั้งสองได้เรียกให้รถของกรีนจอดระหว่างทางก่อนจะตะโกนใส่พวกเขาด้วยภาษาอิตาลี ที่ซึ่งครอบครัวกรีนไม่สามารถเข้าใจได้ เรจินาลด์ กรีนจึงเร่งเครื่องออกไป ในขณะที่ชายสองคนเริ่มยิงปืนเข้าที่ท้ายรถ เรจินาบด์ได้เร่งเครื่องรถอีกครั้งและก็ถูกยิงเข้าที่หลังรถอีกครั้ง ภายหลังชายที่ติดตามทั้งสองได้ยอมแพ้และหลบหนีไป เรจินาลด์ได้หยุดรถ ที่ซึ่งเขาและมาร์กาเร็ตพบว่านิโคลัสถูกยิงเข้าที่ศีรษะ[3] พวกเขารีบขับรถตรงเข้าไปยังเมืองที่ใกล้ที่สุด แต่โรงพยาบาลที่นั่นไม่มีอุปกรณ์ที่จะสามารถช่วยชีวิตนิโคลัสได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำส่งครอบครัวกรีนไปยังวิลลาซานโจฟานนี ที่ซึ่งพวกเขาถูกขนส่งทางเรือข้ามช่องแคบเมสซีนา ไปยังท่าเรือของเมืองเมสซีนา จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำส่งพวกเขาให้กับผู้เขี่ยวชาญด้านการบาดเจ็บทางศีรษะในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ที่ซึ่งนิโคลัสเสียชีวิตในวันถัดมา[4]
ภายหลังเหตุการณ์
[แก้]ครอบครัว
[แก้]ในเดือนพฤษภาคม 1996 ครอบครัวกรีนได้มีลูกแฝดใหม่คือเด็กหญิงลอรา และเด็กชายมาร์ติน นับตั้งแต่การสูญเสียนิโคลัส ครอบครัวกรีนได้ให้การสนับสนุนอย่างแรงกล้าในการบริจาคอวัยวะ พวกเขาได้เดินทางไปทั่วโลกเพื่อส่งต่อแนวคิดการบริจาคอวัยวะและเรื่องราวของพวกเขา
ในประเทศอิตาลี
[แก้]ภายหลังการตัดสินใจบริจาคอวัยวะ พ่อแม่ของนิโคลัสได้รับการต้อนรับโดยประธานาธิบดีอิตาลีในขณะนั้น ออสการ์ ลุยจิ สกาลแฟโร และได้มอบรางวัลเชิดชูเกียรติระดับสูงสุดของพลเมือง "Medaglia d'Oro al Merito Civile" แก่พวกเขา ภายหลังการเสียชีวิตของนิโคลัส การบริจาคอวัยวะได้เพิ่มตัวขึ้นสูงมากในประเทศอิตาลี ที่ซึ่งในอดีตเคยเป็นหนึ่งประเทศที่มีอัตราการบริจาคอวัยวะต่ำที่สุดในยุโรป ข้อมูลจากปี 2017 ระบุว่าอัตราการบริจาคอวัยวะได้เพิ่มขึ้นกว่าสามเท่านับตั้งแต่เหตุการณ์นี้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงโรงเรียนประถมมากมายที่ได้ตั้งชื่อตามนิโคลัสด้วย
การดำเนินคดี
[แก้]ชายทั้งสองถูกจับกุมในวันที่ 2 พฤศจิกายน 1994 ชายทั้งสองเป็นคนของมาเฟียชื่อ Francesco Mesiano และ Michele Iannello[5] พวกเขาถูกตัดสินคดีที่คาตานซาโร โดยศาลที่ประกอบด้วยผู้พิพากษาสามคน และในวันที่ 17 มกราคม 1997 ศาลได้ตัดสินว่าจำเลยไม่มีความผิด เรจินาลด์ไม่สามารถระบุตัวคนร้ายได้เนื่องจากทั้งคู่สวมหน้ากาก รวมถึงเหตุการณ์เกิดขึ้นขณะภายนอกนั้นเริ่มมืดค่ำแล้ว[6][7] อย่างไรก็ตามในปีถัดมา ด้วยไม่มีหลักฐานใหม่ก็ตาม ศาลอุทรณ์ได้ตัดสินให้ Iannello จำคุกตลอดชีวิต และ Mesiano จำคุก 20 ปี[8] ศาลสูงสุดอิตาลีสนับสนุนมตินี้ในปี 1999[7]
การบริจาคร่างกาย
[แก้]ภายหลังการเชียชีวิตของนิโคลัส อัตราการบริจาคร่างกายได้เพิ่มขึ้นสูงมากในประเทศอิตาลี ที่ซึ่งในอดีตเคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการบริจาคอวัยวะต่ำที่สุดในทวีปยุโรป[2] ข้อมูลจากปี 2017 ระบุว่าอัตราการบริจาคอวัยวะในประเทศอิตาลีเพิ่มสูงขึ้นถึงสามเท่าภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ชื่อของนิโคลัสได้เป็นที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคอวัยวะในอิตาลีมานับแต่นั้น และเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในผู้บริจาคอวัยวะที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของโลก ผลจากการตัดสินใจของครอบครัวกรีนได้ถูกเรียกขานว่าเป็น "ปรากฏการณ์นิโคลัส" (l'Effetto Nicholas) อันไว้ใช้เรียกไม่เพียงแต่การบริจาคอวัยวะ แต่ยังรวมถึงทุกสิ่งที่เป็นเรื่องดีอันเกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Cowell, Alan (October 4, 1994). "Italy Moved by Boy's Killing And the Grace of His Parents". The New York Times. p. A1. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
- ↑ 2.0 2.1 Parsons, Sandra; Singleton, Ronald (February 6, 1995). "Gathering Of The 'Family' Who Share Boy's Legacy Of Life". Daily Mail. London. p. 21.
- ↑ 3.0 3.1 Cowell, Alan (October 23, 1994). "A Child's Killing Puts Focus on Italy's Roads". The New York Times. p. 53. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
- ↑ Sparrow, Andrew (October 1, 1994). "Gangsters Shoot British Boy In Car". Daily Mail. London. p. 5.
- ↑ Cowell, Alan (November 2, 1994). "Italy Detains 2 in Highway Killing of U.S. Boy, 7". The New York Times. p. A5. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
- ↑ 6.0 6.1 Tagliabue, John (January 17, 1997). "Italy Acquits 2 in Killing of U.S. Boy Whose Organs Were Donated". The New York Times. p. A4. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
- ↑ 7.0 7.1 Callahan, Mary (April 17, 1999). "Convictions Upheld In Nicholas Green Case". The Press Democrat. Santa Rosa, CA, USA. p. B2.
- ↑ Salter, Stephanie; Hatfield, Larry D.; Staff, Of the Examiner (June 5, 1998). "Boy's Italian killers sentenced to long terms". SFGate.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- มูลนิธินิโคลัส กรีน
- The Nicholas Effect; Reginald Green's Blog on his son Nicholas and organ donation topics: ปรากฏการณ์นิโคลัส
- National Association for Gifted Children-Nicholas Green Distinguished Student National Award