ข้ามไปเนื้อหา

เหตุทางเดินเท้าถล่มในไฮแอทรีเจนซี่

พิกัด: 39°05′06″N 94°34′48″W / 39.085°N 94.580°W / 39.085; -94.580
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางเดินเท้าถล่มในไฮแอทรีเจนซี่
ซากของทางเดินเท้าที่ถล่มลงมาบนชั้นล็อบบี
วันที่17 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 (1981-07-17)
เวลา19:05 CDT (UTC−5)
ที่ตั้งแคนซัสซิที รัฐมิสซูรี สหรัฐ
พิกัด39°05′06″N 94°34′48″W / 39.085°N 94.580°W / 39.085; -94.580
สาเหตุโครงสร้างรับน้ำหนักเกินจากความผิดพลาดในการออกแบบ[1]: iii 
เสียชีวิต114
บาดเจ็บไม่ถึงตาย216

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 1981 โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ในเมืองแคนซัสซิที รัฐมิสซูรี เกิดการถล่มของโครงสร้างของทางเดินเท้าชั้นลอยสองอัน ขณะเกิดเหตุมีผู้เดินทางไปปาร์ตี้อยู่เต็มทางเดิน ส่งผลให้แพลทฟอร์มซึ่งเป็นคอนกรีตและแก้วพังทลายลงมา ถล่มลงทับบริเวณทีดานซ์หนึ่งในล็อบบี เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 114 ราย และบาดเจ็บ 216 คน แคนซัสซิทีต้องรับผิดชอบกับเหตุการณ์นี้ผ่านเงินประกันหลักพันล้าน, การตรวจสอบทางกฎหมาย, การปกิรูปรัฐบาลท้องถิ่น

โรงแรมไฮแอทสร้างขึ้นในระหว่างแพทเทิร์นการก่อสร้างขนาดใหญ่แบบฟาสท์แทร็ก เพดานของโรงแรมถล่มลงมาบางส่วนขณะก่อสร้าง และทางเดินเท้าชั้นลอยซึ่งออกแบบอย่างไม่ได้มาตรฐานค่อย ๆ เสื่อมภายใต้วังวนของการขาดการสื่อสารระหว่างองค์กรและความไร้ความรับผิดชอบ การตรวจสอบพบว่าทางเดินนี้จะพังลงมาแม้แต่มีน้ำหนักอยู่บนนั้นน้อยกว่าหนึ่งในสามของน้ำหนักที่ทางเดินเท้ารับในคืนที่เกิดเหตุ บริษัทวิศวกรรมผู้สร้างทางเดินเท้าถูกริบใบอนุญาตวิศวรกรรมทั้งหมดในสี่รัฐ และถูกดำเนินคดีอาชญากรรม ท้ายที่สุด วิศวกรเจ้าของบริษัท แจ็ก ดี. กิลลัม (Jack D. Gillum) เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดของเหตุการณ์

ภัยพิบัตินี้เป็นส่วนหนึ่งที่ให้เกิดการปฏิรูปในจริยธรรมและความปลอดภัยทางวิศวกรรม รวมถึงการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน เหตุการณ์นี้เป็นการล้มเหลวทางโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างที่ความผิดพลาดทางโครงสร้างไม่เป็นที่ประจักษ์ที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในสหรัฐจนถึงปัจจุบัน และเป็นการถล่มทางโครงสร้างที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุดในสหรัฐในเวลานั้น[2]: 4  จนกระทั่งการถล่มของอาคารเวิลด์เทรดเซนเตอร์ในอีก 20 ปีถัดมา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Marshall, Richard D.; และคณะ (May 31, 1982). Investigation of the Kansas City Hyatt Regency Walkways Collapse. Building Science Series. Vol. 143. U.S. Dept. of Commerce, National Bureau of Standards. สืบค้นเมื่อ July 14, 2021.
  2. Petroski, Henry (1992) [1985]. To Engineer Is Human: The Role of Failure in Structural Design. Vintage. ISBN 978-0-679-73416-1. OCLC 493623634.