ข้ามไปเนื้อหา

อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เหตุการณ์ 228)
อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์
ประชาชนชุมนุมประท้วงหน้าสำนักผูกขาดยาสูบเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947
ชื่อพื้นเมือง 二二八事件
วันที่27 กุมภาพันธ์ – 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1947
ที่ตั้งไต้หวัน
ประเภทการต่อต้านรัฐบาล
สาเหตุการกดขี่และก่อพฤติกรรมที่เสียหายบ่อยครั้งของก๊กมินตั๋ง
ผลรัฐบาลได้ประกาศใช้กฏอัยการศึก กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความน่าสะพรึงสีขาว
เสียชีวิต18,000–28,000 คน[1][2]

อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์ หรือ การสังหารหมู่ 28 กุมภาพันธ์ ยังเป็นที่รู้จักกันคือ อุบัติการณ์ 228 (หรือ 2/28) (จีน: 二二八事件; พินอิน: Èr’èrbā shìjiàn) เป็นการก่อกำเริบต่อต้านรัฐบาลในไต้หวันที่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีนภายใต้การนำของพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งได้ทำการสังหารพลเรือนนับพัน เหตุการณ์เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 จำนวนชาวไต้หวันที่เสียชีวิตซึ่งรวมถึงการสังหารหมู่มีการคาดการณ์ว่ามีจำนวนประมาณระหว่าง 18,000 ถึง 28,000 คน[1] การสังหารหมู่ครั้งนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ "ความน่าสะพรึงสีขาว" (White Terror) ซึ่งมีชาวไต้หวันจำนวนอีกนับหมื่นคนได้หายตัวไป เสียชีวิต หรือไม่ก็ถูกจำคุก อุบัติการณ์นี้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไต้หวันและเป็นแรงผลักดันที่สำคัญสำหรับขบวนการเรียกร้องเอกราชไต้หวัน[3]

ในปี ค.ศ. 1945 ภายหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งมอบการควบคุมบริหารปกครองเกาะไต้หวันให้แก่สาธารณรัฐจีน (ROC) เป็นอันสิ้นสุดลงในช่วง 50 ปีของการปกครองอาณานิคมของญี่ปุ่น ประชาชนในท้องถิ่นเริ่มรู้สึกไม่พอใจในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเจ้าหน้าที่พรรคก๊กมินตั๋งต่างมีพฤติกรรมที่ชอบกดขี่ข่มเหงและคอรัปชั่นอยู่บ่อย ๆ รวมทั้งยึดทรัพย์สินส่วนบุคคลมาเป็นของตัวเองตามอำเภอใจ การจัดการทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี และกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมทางการเมือง จุดชนวนได้มาถึงเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 ในกรุงไทเป เมื่อตัวแทนของสำนักการผูกขาดของรัฐได้ทำร้ายหญิงม่ายชาวไต้หวันคนหนึ่งที่ต้องสงสัยว่าทำการค้าขายบุหรี่เถื่อน ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่คนหนึ่งได้ยิงเข้าไปที่คนหนึ่งที่อยู่ในฝูงชนที่ยืนดูด้วยความโกรธแค้น ซึ่งคน ๆ นั้นได้เสียชีวิตลงในวันรุ่งขึ้น[4] ต่อมาทหารได้ยิงใส่ผู้ชุมนุมในวันรุ่งขึ้น ภายหลังจากสถานีวิทยุได้ถูกยึดและข่าวการประท้วงได้ถูกเผยแพร่ออกไปทั่วทั้งเกาะ ในขณะที่การก่อการกำเริบกำลังลุกลาม เฉิน ยี่ ผู้ว่าการที่ได้รับการแต่งตั้งจากพรรคก๊กมินตั๋งได้เรียกการเสริมกำลังทางทหารเข้ามา และการก่อการกำเริบได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน หลังจากนั้นเป็นเวลา 38 ปี เกาะได้ถูกประกาศให้อยู่ภายใต้กฎอัยการศึกในช่วงเวลาที่เป็นที่รู้จักกันคือ ความน่าสะพรึงสีขาว[5]

ในช่วงความน่าสะพรึงสีขาว พรรคก๊กมินตั๋งได้รับรู้ถึงความไม่เห็นด้วยทางการเมืองและเหตุกาณ์ดังกล่าวได้ถือว่าเป็นเรื่องต้องห้ามเกินกว่าที่จะพูดคุยถกเถียงกันได้ ประธานาธิบดี หลี่ เติงฮุย กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่พูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ในวันครบรอบปีใน ค.ศ. 1995 เหตุกาณ์ในปัจจุบันได้ออกมาพูดคุยอย่างเปิดเผยและรายละเอียดของเหตุการณ์ได้กลายเป็นหัวข้อของการสืบสวนของรัฐบาลและนักวิชาการ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ของทุกปีได้กลายเป็นวันหยุดราชการอย่างเป็นทางการที่ถูกเรียกว่า วันอนุสรณ์รำลึกสันติภาพ ซึ่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐได้รวมตัวกันกับเจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ เพื่อส่งเสียงระฆังที่รำลึกในความทรงจำของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ อนุสาวรีย์และสวนสาธารณะอนุสรณ์ที่รำลึกถึงผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของ 2/28 ถูกสร้างขึ้นในหลาย ๆ เมืองของไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสวนสาธารณะในกรุงไทเปที่มีชื่อว่า นิวพาร์คไทเป ได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สวนสาธารณะอนุสรณ์สันติภาพ 228 และพิพิธภัณฑ์รำลึก 228 แห่งชาติ เปิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เกาสฺยงยังมีการจัดแสดงอย่างถาวรโดยมีการกล่าวอย่างละเอียดถึงเหตุการณ์ 228 ในเกาสฺยง[6][7] ในปี ค.ศ. 2019 คณะกรรมการยุติธรรมในช่วงที่ผ่านมาได้ประกาศนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดในช่วงหลังที่ตามมา[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Forsythe, Michael (July 14, 2015). "Taiwan Turns Light on 1947 Slaughter by Chiang Kai-shek's Troops". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2018. To somber cello music that evokes 'Schindler's List,' displays memorialize the lives lost, including much of the island's elite: painters, lawyers, professors, and doctors. In 1992, an official commission estimated that 18,000 to 28,000 people had been killed.
  2. Kristof, Nicholas D. (April 3, 1992). "Taipei Journal – The Horror of 2–28: Taiwan Rips Open the Past". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2018. สืบค้นเมื่อ March 1, 2020.
  3. Fleischauer, Stefan (1 พฤศจิกายน 2007). "The 228 Incident and the Taiwan Independence Movement's Construction of a Taiwanese Identity". China Information. 21 (3): 373–401. doi:10.1177/0920203X07083320.
  4. Chou, Wan-yao (2015). A New Illustrated History of Taiwan. แปลโดย Plackitt, Carole; Casey, Tim. Taipei: SMC Publishing Inc. p. 317. ISBN 978-957-638-784-5.
  5. 周婉窈 (ตุลาคม 2016). 臺灣歷史圖說 [Illustrated History of Taiwan] (ภาษาจีนตัวเต็ม) (三版 ed.). 臺北: 聯經出版公司. ISBN 978-957-084-808-3.
  6. Ko, Shu-ling; Chang, Rich; Chao, Vincent Y. (1 มีนาคม 2011). "National 228 museum opens in Taipei". Taipei Times. p. 1. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
  7. Chen, Ketty W. (28 กุมภาพันธ์ 2013). "Remembering Taiwan's Tragic Past". Taipei Times. p. 12. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014.
  8. Lin, Sean (6 ตุลาคม 2018). "Commission exonerates 1,270 people". Taipei Times. Taipei. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]