เหตุการณ์ประตูเสฺวียนอู่
เหตุการณ์ประตูเสฺวียนอู่ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พระบรมสาทิสลักษณ์หลี่ ชื่อหมินในฐานะจักรพรรดิถังไท่จง | |||||||||||
| |||||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||||
หลี่ ชื่อหมิน Yuchi Jingde Chang He ...และพระองค์อื่น ๆ |
หลี่ เจี้ยนเฉิง † หลี่ ยฺเหวียนจี๋ † ...และพระองค์อื่น ๆ | ||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 玄武門之變 | ||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 玄武门之变 | ||||||||||
|
เหตุการณ์ประตูเสฺวียนอู่ (จีน: 玄武門之變) เหตุการณ์ที่สำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน โดยเกิดขึ้นในช่วงต้นราชวงศ์ถังเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 626[a] อันตรงกับช่วงปลายรัชสมัยจักรพรรดิถังเกาจู่ เมื่อองค์ชายรองหลี่ ชื่อหมิน (李世民) พร้อมผู้ติดตามได้สังหารองค์ชายรัชทายาท หลี่ เจี้ยนเฉิง (李建成) และองค์ชายสี่ หลี่ ยฺเหวียนจี๋ (李元吉) ที่ประตูเสฺวียนอู่ซึ่งเป็นประตูทางด้านเหนือของพระราชวังหลวง[b]แห่งฉางอัน
ทำให้ในอีก 3 วันต่อมาคือวันที่ 5 กรกฎาคม องค์ชายหลี่ ชื่อหมิน ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทก่อนที่จักรพรรดิเกาจู่จะสละราชบัลลังก์ในอีก 6 วันต่อมาคือวันที่ 11 กรกฎาคม องค์ชายหลี่ ชื่อหมิน ได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิถังไท่จง ส่วนอดีตจักรพรรดิเกาจู่ได้รับพระอิสริยยศเป็น ไท่ช่างหฺวัง
ภูมิหลัง
[แก้]หลังจักรพรรดิเกาจู่สถาปนาราชวงศ์ถัง หลี่ เจี้ยนเฉิง พระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง แต่พระองค์ถูกบดบังโดยหลี่ ชื่อหมิน พระอนุชา อยู่บ่อยครั้ง[1] เช่น หลี่ ชื่อหมินมีบทบาทสำคัญในการเอาชนะคู่ปรับสำคัญของราชวงศ์ถังหลายคน[2] พระองค์นำการโจมตีต่อโต้วเจี้ยนเต๋อและหวัง ชื่อชง ที่พระองค์ปราบไว้ได้ ซึ่งทำให้ได้รับเกียรติในหมู่คนร่วมสมัย[3] ในขณะเดียวกัน หลี่ เจี้ยนเฉิงประจำการอยู่ที่ด่านตรวจชายแดนภาคเหนือเพื่อป้องปรามพวกทูเจฺว๋ ซึ่งทำให้พระองค์ไม่สามารถสร้างชื่อเสียงที่คล้ายกันได้[3] ท้ายที่สุด จักรพรรดิเกาจู่ทรงยกตำแหน่งของหลี่ ชื่อหมินให้สูงกว่าขุนนางคนอื่นทั้งหมด[3]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ รายงานจากข้อมูลประวัติศาสตร์จีน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่ 4 เดือน 6 ปีที่ 9 ของศักราช อู่เต๋อ (武德) ในรัชสมัยถังเกาจู่ ซึ่งตรงกับวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 626 (Bingham 1950a, 90)
- ↑ พระราชวังหลวง (宮城) ตั้งอยู่ทางเหนือสุดตรงกลางของนครฉางอัน ในช่วงหลังรู้จักกันในชื่อ [พระราชวัง]ตะวันตกส่วนใน (西内) และ พระราชวังไท่จี๋ (太極宮) แต่ชื่อเหล่านี้ยังไม่ใช้ในช่วงรัฐประหาร (Bingham 1950b, 261)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bingham 1950a, 89–90.
- ↑ Bingham 1950a, 90.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Wechsler 1979, 182.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bingham, Woodbridge (1950a). "Li Shih-min's coup in A.D. 626. I: The climax of princely rivalry". Journal of the American Oriental Society. 70 (2): 89–95. doi:10.2307/595537. JSTOR 595537.
- Bingham, Woodbridge (1950b). "Li Shih-min's coup in A.D 626. II: Action at the Hsüan-wu Gate". Journal of the American Oriental Society. 70 (4): 259–271. doi:10.2307/594964. JSTOR 594964.
- Chen, Jack W. (2010). The poetics of sovereignty: On Emperor Taizong of the Tang Dynasty. Cambridge: Harvard University Asia Center. ISBN 978-0-674-05608-4.
- Chung, Saehyang P. (1990). "A Study of the Daming Palace: Documentary Sources and Recent Excavations". Artibus Asiae. 50 (1/2): 23–72. doi:10.2307/3250086. JSTOR 3250086.
- Wechsler, Howard J. (1979). "The Founding of the T'ang Dynasty: Kao-tsu (Reign 618–26)". ใน Twitchett, Dennis (บ.ก.). The Cambridge History of China, Volume 3: Sui and T'ang China, 589–906, Part I. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 150–187. ISBN 978-0-521-21446-9.