เหตุกราดยิงในฮาเนา
เหตุกราดยิงในฮาเนา | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ การก่อการร้ายฃ่ายขวาในยุโรป | |
![]() ภาพเหยื่อในการชุมนุมระลึกถึงเหตุการณ์ที่เมืองเลียร์ โอสท์ฟรีสลันท์ | |
สถานที่ | ฮาเนา รัฐเฮ็สเซิน ประเทศเยอรมนี |
พิกัด | 50°07′59″N 08°54′48″E / 50.13306°N 8.91333°E (first crime scene) 50°07′51″N 08°53′9″E / 50.13083°N 8.88583°E (second crime scene) |
วันที่ | 19 กุมภาพันธ์ 2020 21:55 - 22:00 (CET, UTC+1) |
เป้าหมาย | ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ |
ประเภท | กราดยิงใชหมู่, ก่อการร้านในประเทศ, อาชญากรรมจากความเกลียดชัง |
อาวุธ | |
ตาย | 11 (รวมผู้ก่อเหตุและมารดา) |
เจ็บ | 6 (3 จากบาดแผลกระสุนปืนโดยตรง) |
ผู้ก่อเหตุ | โทบีอัส รัทเยิน |
เหตุจูงใจ |
เหตุราดยิงที่ฮาเนา (เยอรมัน: Anschläge in Hanau) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 เป็นเหตุก่อการร้ายขวาจัดโดยการกราดยิง เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 5 คน โดยพุ่งเป้าไปที่คีโอสค์และบาร์ในเมืองฮาเนา ใกล้กับนครฟรังค์ฟวร์ท รัฐเฮ็สเซิน ประเทศเยอรมนี[1] หลังก่อเหตุ โทบีอัส รัทเยิน (Tobias Rathjen) ผู้ก่อเหตุ เดินทางกลับมายังอะพาร์ตเมนต์ของตน ก่อเหตุฆาตกรรมมารดาของตนก่อนจะฆ่าตัวตายตาม[2] รัฐมนตรีมหาดไทยเยอรมันระบุว่าการสังหารหมู่นี้เป็นเหตุก่อการร้าย[3]
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]เหตุกราดยิงเริ่มต้นที่เวลา 21:55:43 น. CET (UTC+1) ที่ลาโฟเทรบาร์ (La Votre Bar) ในย่านใจกลางเมืองฮาเนา[4] โดยการกราดยิงใส่ผู้คนในบาร์ โดยมีเสียชีวิตในที่เกิดเหตุหนึ่งคนคือบาร์เทนเดอร์ จากปืนพก CZ 75 หลังจากนั้นผู้ก่อเหตุเดินออกมายังทางเดินภายนอก ยิงชายคนหนึ่งเสียชีวิตหนึ่งราย ก่อนจะเข้าไปยังมิดไนท์บาร์ (Midnight Bar) ที่อยู่ติดกัน และยิงสามนัดจากประตู หนึ่งในสามนัดนี้ถูกเจ้าของของบาร์ดังกล่าว เสียชีวิต[5][6] หลังจากนั้น ผู้ก่อเหตุเปลี่ยนมาใช้ปืน SIG เซาเออร์ P226 ก่อนจะเดินพุ่งตรงหาชายคนหนึ่งที่คีโอสค์ด้านหน้ามิดไนท์บาร์ เขาเอาปืนจ่อไปที่ชายคนดังกล่าวและถามซ้ำ ๆ ว่าเป็นคนต่างชาติหรือไม่ ชายคนดังกล่าวปฏิเสธไม่ตอบก่อนที่ผู้ก่อเหตุจะวิ่งหนีไป ออกจากบริเวณตลาดฮ็อยมาร์คท์ (Heumarkt) เข้าสู่ถนนเครเมอร์ชตัสเซอ (Krämerstraße) กราดยิงหลายนัดมส่รถยนต์ของชายชาวโรมาเนียโดยกำเนิด วีลี วีออเร็ล เพิวน์ (Vili Viorel Păun)[7] จากนั้น ผู้ก่อเหตุพยายามเข้าไปในอีกคีโอสค์หนึ่งก่อนจะพบว่าภายในไม่มีคน จึงวิ่งกลับมายังรถของตนเพื่อขับหนีออกไป ระหว่างนั้น เพิวน์พยายามขับรถขวางจนนำไปสู่การขับรถไล่ล่ากัน[8] Three people were killed on Heumarkt.[9] รวมแล้วมีผู้เสียชีวิตในย่านฮ็อยมาร์คท์สามราย[10]
ผู้ก่อเหตุขับต่อไปยังอาเรนาบาร์อุนท์คาเฟ (Arena Bar & Café) ซึ่งตั้งอยู่ในย่านเค็สเซิลชตัดท์ (Kesselstadt) ห่างออกไป 2.5 กิโลเมตรจากฮ็อยมาร์คท์[11] ระหว่างขับรถไล่เล่า เพิวน์พยายามโทรติดต่อเบอร์ฉุกเฉิน 110 ห้ารอบ โทรติดเพียงสามรอบซึ่งไม่มีคนตอบรับโทรศัพท์เนื่องจากเจ้าหน้าที่กำลังรับมือกับสายจากฮ็อยมาร์คท์อยู่[12] หลังถึงที่อาเรนาบาร์อุนท์คาเฟ ผู้ก่อเหตุลงจากรถและยิงเพิวน์ซึ่งยังอยู่ในรถ เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ก่อนจะเดินเข้าไปยังคีโอสค์ใกล้กับบาร์ดังกล่าว และกราดยิงจนมีผู้เสียชีวิตสามราย ตามด้วยเดินเข้าไปในบาร์ดังกล่าวและกราดยิงใส่ผู้คนภายใน เสียชีวิตสองราย บาดเจ็บสามคน หลังเกิดเหตุ การสอบสวนทางนิติสถาปัตยกรรมพบว่าประตูทางออกฉุกเฉินด้านหลังของบาร์ถูกล็อก ซึ่งถ้าหากไม่ได้ล็อกอยู่จะช่วยให้พอมีเวลาสำหรับผู้คนภายในหลบหนีได้ทัน[13] ไม่ถึงหนึ่งนาที ผู้ก่อเหตุออกจากบาร์และออกไปจากบริเวณเต็สเซิลสตัดท์ รวมแล้วมีผู้เสียชีวิตหกรายในบริเวณนี้
หลังเกิดเหตุ ตำรวจเปิดการสอบสวนใหญ่[14] เริ่มแรกมีการประกาศว่าผู้ก่อเหตุยังไม่พบตัว[15] โดยผู้ก่อเหตุขับรถออกจากอาเรนาบาร์กลับไปยังบ้านของตนซึ่งอยู่ไม่ไกล ยิงปืนใส่มารดาสองนัด เสียชีวิต ก่อนจะยิงปืนฆ่าตัวตายตามในห้องใต้ดิน ส่วนบิดาไม่ได้รับบาดเจ็บ[16][17] เป็นที่เข้าใจว่าเขาก่อเหตุมาตุฆาตเป็น "การการุณยฆาต" เนื่องจากเธอเป็นผู้ป่วยติดเตียงจากความผิดปกติทางระบบประสาท[18] ตำรวจพบร่างของผู้ก่อเหตุและมารดาเมื่อเวลา 05:15 น. ของวันถัดมา[19]
ผู้ก่อเหตุ
[แก้]ผู้ก่อเหตุคือชายวัย 43 ปี โทบีอัส รัทเยิน (Tobias Rathjen, 1977 – 19 กุมภาพันธ์ 2020) นักเคลื่อนไหวการเมืองขวาจัด[20][21] บนเว็บส่วนตัวของเขา เขาได้เผยแพร่แถลงการณ์ที่มีเนื้อหาเหยียดเพศ และเผยแพร่วิดีโอของตนแสดงมุมมองทางการเมืองที่มีลักษณะต่อต้านสตรี (misogynist) ไปจนถึงกล่าวหาว่าประธานาธิบดีสหรัฐในเวลานั้น ดอนัลด์ ทรัมป์ ขโมยสโลแกนหาเสียงของเขาไปใช้[22] นอกจากนี้เขายังสนับสนุนยูเจนิกส์ และบอกเล่าความหงุดหงิดที่ตนเป็นอินเซล ไม่สามารถมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงได้ เป็นผลเนื่องมาจากความผิดปกติทางจิตเวชของตน[23] นอกจากนี้เขายังกล่าวบอกเล่าว่าตนเองถูกสายลับติดตามอยู่[24] ในแถลงการณ์ที่เขาเผยแพร่ เขาแสดงความเกลียดชังอย่างสุดใจต่อผู้อพยพในเยอรมนี โดยเฉพาะพวกที่มาจากตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกาเหนือ รวมถึงเรียกร้องว่าเยอรมนีจะต้อง "ถอนรากถอนโคน[คนพวกนี้]ให้หมดไปจากแผ่นดิน"[25][26] และแสดงความเกลียดชังต่อพลเมืองเยอรมันที่ยินยอมให้คนต่างด้าวเข้ามายังเยอรมนี โดยยังเรียกพลเมืองเหล่านี้ว่า "ไม่บริสุทธิ์"[27] ทางการยังค้นพบหลักฐานว่าเขาเคยพิจารณาจะโจมตีโรงเรียนที่มีนักเรียนจำนวนมากเป็นผู้อพยพ[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Röbel, Sven; Wiedmann-Schmidt, Wolf (2020-11-27). "Hanau-Anschlag - neues Gutachten zum Täter: Psychisch krank – und ein Rassist". Der Spiegel (ภาษาเยอรมัน). ISSN 2195-1349. สืบค้นเมื่อ 2022-09-29.
- ↑ "German gunman calling for genocide kills 9 people". AP NEWS. 20 February 2020.
- ↑ "Tysk minister om skudmassakre: Ja, angrebet i Hanau var terror". DR. 21 February 2020.
- ↑ "Polizei bestätigt acht Tote durch Schüsse in Hanau". Der Spiegel (ภาษาเยอรมัน). 2020-02-20. ISSN 2195-1349. สืบค้นเมื่อ 2024-06-04.
- ↑ Oltermann, Philip; Harding, Luke; McKernan, Bethan (2020-02-20). "'He shot our children': how the Hanau attack unfolded". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-06-04.
- ↑ "Anschlag von Hanau: Neue Eigentümer wollen Shisha-Bar wieder öffnen". www.fr.de (ภาษาเยอรมัน). 2020-06-02. สืบค้นเมื่อ 2024-06-16.
- ↑ Gezer, Özlem; Neshitov, Timofey (2021-02-18). "The Hanau Protocols: Aftermath of a Deadly Racist Attack". Der Spiegel (ภาษาอังกฤษ). ISSN 2195-1349. สืบค้นเมื่อ 2024-06-17.
- ↑ Frankfurter Kunstverein (2022-06-08). Lecture by Forensic Architecture/Forensis – Forum kollektiver Wahrheitsfindung. สืบค้นเมื่อ 2024-06-17 – โดยทาง YouTube.
- ↑ https://mediendienst-integration.de/fileadmin/Dateien/One_Year_After_Hanau_Factsheet_English.pdf [bare URL PDF]
- ↑ https://mediendienst-integration.de/fileadmin/Dateien/One_Year_After_Hanau_Factsheet_English.pdf [bare URL PDF]
- ↑ "Germany shooting: 'Far-right extremist' carried out shisha bars attacks" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-02-19. สืบค้นเมื่อ 2024-06-04.
- ↑ kata (2023-02-09). "Von einem Organisationsversagen der Polizei, das die Verantwortlichen systematisch vertuschen wollten". Initiative 19. Februar (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2024-06-16.
- ↑ Forensic Architecture (2021-12-21). Hanau Attack Emergency Exit (Preliminary Investigation; EN). สืบค้นเมื่อ 2024-06-04 – โดยทาง YouTube.
- ↑ "POL-OF: Großfahndung der Polizei in Hanau". presseportal.de (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 19 February 2020.
- ↑ "Germany shooting: Nine dead after two attacks on Hanau shisha bars". BBC News. 19 February 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 19 February 2020.
- ↑ Forensic Architecture (2022-09-15). Racist Terror Attack in Hanau: The Police Operation (EN). สืบค้นเมื่อ 2024-06-16 – โดยทาง YouTube.
- ↑ Oltermann, Philip; Harding, Luke; McKernan, Bethan (20 February 2020). "'He shot our children': how the Hanau attack unfolded". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-02-21.
- ↑ 18.0 18.1 Kupper, Julia; Cotti, Patricia; Meloy, John (April 2023). "The Hanau Terror Attack: Unraveling the Dynamics of Mental Disorder and Extremist Beliefs". Journal of Threat Assessment and Management. 11 (3): 149–185. doi:10.1037/tam0000201 – โดยทาง American Psychological Association.
- ↑ "Eleven dead, including suspect, after Hanau attacks – as it happened". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 19 February 2020.
- ↑ "Has Germany done enough to tackle far-right violence?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-02-20. สืบค้นเมื่อ 2020-02-20.
- ↑ Hume, Tim (February 20, 2020). "'Not a Classical Neo-Nazi': What We Know About the German Hookah Bar Terrorist". Vice News.
Instead, judging by the material he posted online, Tobias Rathjen appears to have been driven by a toxic mix of racist, conspiracist, and incel ideology, and likely suffered from serious mental health problems, experts say.
- ↑ Bostock, Bill. "The mass shooter who killed 9 in Germany published a racist manifesto where he identified as an incel and accused Trump of stealing his populist slogans". Insider.
- ↑ "Terror in Hanau: Die kranke rassistische Gedankenwelt des Tobias R." RedaktionsNetzwerk Deutschland (ภาษาเยอรมัน). 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
- ↑ Connolly, Kate; Oltermann, Philip (20 February 2020). "Hanau attack reveals 'poison' of racism in Germany, says Merkel". The Guardian.
- ↑ Farrell, Paul (20 February 2020). "Tobias Rathjen: 5 Fast Facts You Need to Know". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
- ↑ Moody, Oliver (20 February 2020). "Germans slow to tackle far‑right threat". The Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2020. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
- ↑ Moody, Oliver (14 September 2023). "Germans point finger at AfD for Hanau shisha bar murders" – โดยทาง www.thetimes.co.uk.