เกล็ดหิมะค็อค
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d9/KochFlake.svg/220px-KochFlake.svg.png)
เกล็ดหิมะค็อค หรือ ดาวค็อค (อังกฤษ: Koch snowflake หรือ Koch star) เป็นเส้นโค้งทางคณิตศาสตร์ และเป็นเส้นโค้งแฟร็กทัลแรก ๆ ที่ได้บรรยายไว้ เกล็ดหิมะค็อคปรากฏในบทความชื่อภาษาฝรั่งเศส Sur une courbe continue sans tangente, obtenue par une construction géométrique élémentaire ซึ่งแปลว่า เกี่ยวกับเส้นโค้งต่อเนื่องที่ไม่มีเส้นตั้งฉาก สร้างได้จากเรขาคณิตพื้นฐาน โดย เฮลเก ฟอน ค็อค (Helge von Koch) นักคณิตศาสตร์ชาวสวีเดน
วิธีการสร้าง
[แก้]เกล็ดหิมะค็อคสร้างจากรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า โดยในแต่ละขั้นจะมีการดัดแปลงเส้นตรงแต่ละส่วนของรูปดังต่อไปนี้
- แบ่งเส้นตรงออกเป็นสามส่วนเท่า ๆ กัน
- วาดสามเหลี่ยมด้านเท่าให้มีฐานตรงกับของส่วนกลางในข้อ 1 และสามเหลี่ยมมียอดชี้ออกด้านนอก
- ลบเส้นตรงส่วนที่เป็นฐานของสามเหลี่ยมในข้อ 2 ออก
ถ้าแก้ไขตามกฎเกณฑ์ข้างต้นไปเรื่อย ๆ ในที่สุดรูปที่ได้จะเข้าใกล้เกล็ดหิมะค็อค
ถ้าหากเริ่มต้นดัดแปลงจากเส้นตรงแทนที่จะเป็นรูปสามเหลี่ยม ผลลัพธ์ที่ได้จะเรียกว่าเส้นโค้งค็อค (Koch curve) เส้นโค้งค็อค จัดเป็นเส้นโค้งเดอแรม (de Rham curve) ชนิดหนึ่ง
คุณสมบัติ
[แก้]เกล็ดหิมะค็อคมีความยาวเป็นอนันต์เนื่องจากในแต่ละขั้นของการวาด เส้นตรงจะถูกแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนที่อยู่ตรงกลางถูกแทนที่ด้วยเส้นตรงสองเส้น ทำให้ความยาวเพิ่มขึ้นเป็น 4/3 ของความยาวเดิม ถ้าผ่านไป n ขั้นจะมีความยาวเป็น (4/3)n เท่า และเมื่อ n เข้าสู่อนันต์ ทำให้ความยาวเป็นอนันต์ด้วย
เส้นโค้งค็อค มีมิติแฟร็กทัลเท่ากับ log 4/log 3 ≈ 1.26 ซึ่งมากกว่ามิติของเส้นตรงแต่น้อยกว่ามิติของเส้นโค้งพีอาโน (Peano space-filling curve) เส้นโค้งค็อคต่อเนื่องทุกจุดแต่ไม่สามารถหาอนุพันธ์ได้เลย
พื้นที่ภายในของเกล็ดหิมะค็อคเท่ากับ โดยที่ s เป็นความยาวของด้านของสามเหลี่ยมเดิม ดังนั้นเกล็ดหิมะค็อคเป็นเส้นตรงความยาวอนันต์ซึ่งล้อมรอบพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด[1]
ในระบบ L
[แก้]เส้นโค้งค็อค สามารถอธิบายโดยใช้การเขียนระบบ Lดังนี้
- ตัวอักษร : F
- ค่าคงที่ : +, −
- เริ่มต้น : F++F++F
- กฎการแปลง:
- F → F−F++F−F
โดยที่ F แทน "ลากเส้นไปข้างหน้า", + แทน "เลี้ยวขวา 60°" และ - แทน "เลี้ยวซ้าย 60°"
ตัวอย่างโปรแกรม
[แก้]ตัวอย่างโปรแกรมภาษาโลโก เขียนได้ดังนี้
to koch :x
repeat 3 [triline :x rt 120]
end
to triline :x
if :x < 1 [fd :x] [triline :x/3 lt 60 triline :x/3 rt 120 triline :x/3 lt 60 triline :x/3]
end
เวลาเริ่มต้นให้เรียก
rt 30 koch 100
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Koch Snowflake โดย Larry Riddle
- Koch Snowflake ที่ MathWorld
ดูเพิ่ม
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4a/Commons-logo.svg/30px-Commons-logo.svg.png)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4a/Commons-logo.svg/30px-Commons-logo.svg.png)