ภาษาโลโก
กระบวนทัศน์ | การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน, ภาษาโปรแกรมเพื่อการศึกษา |
---|---|
ผู้ออกแบบ | Wally Feurzeig & Seymour Papert |
ผู้พัฒนา | Wally Feurzeig & Seymour Papert |
เริ่มเมื่อ | พ.ศ. 2510 |
ระบบชนิดตัวแปร | Dynamic |
ตัวแปลภาษาหลัก | |
UCBLogo และอื่น ๆ อีกมาก | |
ได้รับอิทธิพลจาก | |
Lisp | |
ส่งอิทธิพลต่อ | |
Smalltalk, Etoys, Scratch |
ภาษาโลโก (อังกฤษ: Logo programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงการใช้งาน (Functional Programming Language) โดยมีรากฐานมาจากภาษาลิสป์ โดยจุดประสงค์ดั้งเดิมในการสร้างก็เพื่อใช้ในด้านการศึกษาในเรื่องหลักการในการเขียนโปรแกรม ภาษาโลโกมักจะถูกเรียกด้วยชื่อ "เต่าโลโก"
ประวัติ
[แก้]ภาษาโลโกถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ โดยนาย Wally Feurzeig และ Seymour Papert ตัวภาษาครั้งแรกถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษาลิสป์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ PDP-1 โดยมีจุดประสงค์ดั้งเดิมคือการแก้ไขปัญหาง่าย ๆ ด้วยการใช้ "เต่า" ในการตอบสนองเพื่อค้นหาจุดบกพร่อง
การพัฒนา
[แก้]มีการพัฒนาภาษาโลโกกว่า 130 ชุด แต่ละชุดต่างมีจุดแข็งของตัวเอง ตัวอย่างในการนำไปพัฒนาต่อเช่น MSWLogo ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาแจกฟรีโดยSoftrinic
ตัวอย่างการใช้งาน
[แก้]เมื่อเต่าโลโกเดินผ่าน จะเกิดเส้นขึ้นมา โดยผู้ใช้จะเป็นผู้สั่งการทำงานต่าง ๆ เช่นการเดินตรง หัน 90 องศา โดยคำสั่งในด้านทิศทางต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับทิศทางของเต่าโลโก
เต่าโลโก
[แก้]ตัวอย่างที่ 1: สี่เหลี่ยม
[แก้]FORWARD 100
LEFT 90
FORWARD 100
LEFT 90
FORWARD 100
LEFT 90
FORWARD 100
LEFT 90
คำสั่งดังกล่าว จะทำการสร้างกรอบสี่เหลี่ยม โดยมีความยาวด้านละ 100 ยูนิทและหันกลับไปยังจุดเริ่มต้น
Hello, world!
[แก้]การสร้างโปรแกรม Hello, World สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการใช้
TO HELLO PRINT [Hello, world!] END