เส้นทางคมนาคมทางทะเล
เส้นทางคมนาคมทางทะเล[1] (อังกฤษ: Sea line of communication: SLOC) เป็นคำอธิบายเส้นทางเดินเรือหลักระหว่างท่าเรือ ที่ใช้เพื่อการค้า โลจิสติกส์ และกองกำลังทางเรือ[2] โดยปกติจะใช้อ้างอิงถึงการปฏิบัติการทางเรือเพื่อทำให้แน่ใจว่าเส้นทางคมนาคมทางทะเลนั้นเปิดอยู่ หรือถูกปิดกั้นอยู่ในเวลาสงคราม
ความสำคัญของเส้นทางคมนาคมทางทะเลในภูมิรัฐศาสตร์ถูกอธิบายไว้ใน ยุทธศาสตร์ของอเมริกาในการเมืองโลก (America's Strategy in World Politics) โดย นิโคลาส เจ. สปิคแมน ที่ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2485
ในสงครามปฏิวัติอเมริกาและสงครามนโปเลียน เส้นทางคมนาคมทางทะเลส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร เมื่อสหราชอาณาจักรสูญเสียการควบคุมระหว่างการปฏิวัติ ส่งผลให้เกิดการล่มสลายของยอร์กทาวและกองทัพที่ใหญ่ที่สุด กระทั่งสุดท้ายก็เกิดเป็นสงคราม ในยุคของนโบเลียนซึ่งมีการสู้รบอยู่ตลอด สหราชอาณาจักรได้คว่ำบาตรและการปิดล้อมประเทศที่เกี่ยวข้องกับนโปเลียน สร้างความลำบากในทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ และเนื่องจากการถูกตัดขาดทำให้ชาวฝรั่งเศสนอกแผ่นดินแม่หมดศรัทธากับนโบเลียน
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และสงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักรและเยอรมันได้ประกาศร่วมกันปิดล้อมปิดล้อม ครีคส์มารีเนอ ที่พยายามจะปิดเส้นทางคมนาคมทางทะเลจากอเมริกาเหนือไปยังหมู่เกาะบริเตนโดยใช้เรือดำน้ำ ในกรณีนี้ฝ่ายสัมพันธมิตรประสบความสำเร็จในการเปิดช่องทางคมนาคมทางทะเลได้สำเร็จ ขณะที่ฝ่ายเยอรมันล้มเหลวในการเอาชนะการปิดกั้นเยอรมนีในยุทธนาวีของสหราชอาณาจักร กองทัพเรือสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่สองสหรัฐประสบความสำเร็จในการปิดกั้นเส้นทางคมนาคมทางทะเลไปสู่ญี่ปุ่น บีบให้ประเทศที่เป็นเกาะอย่างญี่ปุ่นขาดแขนทรัพยากรที่จำเป็น
ในกรณีที่สงครามเย็นปะทุความรุนแรงขึ้น ยุโรปจำเป็นจะต้องใช้กำลังเสริมจากอเมริกาเหนือ กองทัพเรือโซเวียตสามารถคุกคามและสกัดเส้นทางคมนาคมทางทะเลสายแอตแลนติกเพื่อตัดกำลังสนับสนุนจากอเมริกาเหนือและช่วยสนับสนุนการรุกรานของโซเวียตในภาคพื้นยุโรปได้
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ. 2558 - 2564) (PDF). สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. p. 7.
- ↑ "Global commerce and sea lines of communication in the Indian Ocean: A Sri Lankan perspective". Daily FT. April 10, 2019. สืบค้นเมื่อ September 23, 2020.
บรรณานุกรม
[แก้]- Mahan, Alfred Thayer (1890). The Influence of Sea Power upon History: 1660–1783.
- ข้อความเต็มของ The Influence of Sea Power upon History ที่วิกิซอร์ซ
- Phelan, George R. (1954). "Sea Power and Strategies for the Control of the Seas". Naval War College Review. 6 (10): 15–37. ISSN 0028-1484. JSTOR 45104663.
- Underwood, G.L. (1981). "Soviet Threat to the Atlantic Sea Lines of Communication: Lessons Learned from the German Capture of Norway in 1940". Naval War College Review. 34 (3): 43–47. ISSN 0028-1484. JSTOR 44642156.
- Noer, John Halvard (1996). Southeast Asian Chokepoints: Keeping Sea Lines of Communication Open (ภาษาอังกฤษ). National Defense University, Institute for National Strategic Studies.
- Peele, Reynolds B. (1997-04-07). "Maritime Chokepoints: Key Sea Lines of Communication (SLOCs) and Strategy". Homeland Security Digital Library (ภาษาอังกฤษ). Army War College (U.S.).
- Claxton, Karl (2014-02-20). "China's sea lines of communication—implications for the South Pacific?". The Strategist.
- Kim, Meoung-Sung (2015). "Sea Lines of Communication Security and Piracy". Strategy21 (ภาษาเกาหลี). 36: 150–179. doi:10.22803/strategy21.2015.s36.150. ISSN 1226-9212.
- The Future of Sea Lane Security Between the Middle East and Southeast Asia (PDF), Energy Studies Institute, Chatham House, 23–24 June 2015
{{citation}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - Andrews-Speed, Philip; Len, Christopher (February 2016), The Future of the US Security Umbrella for Sea Lines of Communication (SLOCs) between the Middle East and Southeast Asia, and the Future Role of China (PDF), Singapore: Energy Studies Institute
- Mubarok, Achmad Romadon; Putra, Agung Tri (2017), Protection of ASEAN Sea Lines of Communication in Maritime Perspective, 6th ICADA 2017 — SSIS
- Rimland, Benjamin (July 25, 2017). "Japan's Maritime Strategy and the Dynamics of Denial". Tokyo Review.
- Tarapore, Arzan (9 February 2021). "India should prioritise a denial strategy in the Indian Ocean". The Interpreter (ภาษาอังกฤษ). Lowy Institute.