เสาอโศก
บรรดาเสาอโศก | |
---|---|
หนึ่งในบรรดาเสาอโศกที่ไวศาลี | |
วัสดุ | หินทราย |
ช่วงเวลา/วัฒนธรรม | 300 ปีก่อนคริสตกาล |
เสาอโศก หรือ อโศกสตมภ์ เป็นหมู่เสามอนอลิธิกที่พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วอนุทวีปอินเดีย ปรากฏจารึกพระบรมราชโองการของจักรพรรดิอโศกแห่งเมารยะ ผู้ครองราชย์ระหว่าง 268 ถึง 232 ปีก่อนคริสตกาล[2] จักรพรรดิอโศกทรงใช้คำว่า Dhaṃma thaṃbhā (ธมฺมถมฺภา มาจาก ธรรมสตมภ์) อันแปลว่า "เสาแห่งธรรม" ในการเรียกเสาเหล่านี้[3][4] เสาเหล่านี้เป็นอนุสรณ์อันสำคัญของสถาปัตยกรรมอินเดีย และเสาส่วนใหญ่เป็นหลักฐานแสดงถึงเทคโนโลยีการขัดเงาแบบเมารยะ ในปัจจุบันมีการค้นพบเสาจำนวน 20 เสาที่ยังหลงเหลือถึงปัจจุบัน ในจำนวนนี้มีบางเสาที่ยังปรากฏจารึกพระบรมราชโองการอยู่ ในขณะที่มีเพียงไม่กี่เสาเท่านั้นที่ยังปรากฏหัวเสารูปสัตว์ และพบหัวเสาในสภาพสมบูรณ์เพียงเจ็ดชิ้นที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันเท่านั้น[5] มีเสาอโศกจำนวนสองเสาที่ถูกขนย้ายภายใต้พระราชดำริของตุฆลักฟีรูซ ชาห์ไปไว้ที่ราชธานีของรัฐสุลต่านเดลี[6] และอีกหลายเสาที่ถูกขนย้ายโดยจักรพรรดิของจักรวรรดิโมกุล และมีการรื้อถอนหัวเสาที่เป็นรูปสัตว์ออก[7] ในบรรดาเสาที่ค้นพบนั้น ค่าเฉลี่ยของความสูงอยู่ที่ 12 ถึง 15 เมตร และแต่ละเสาอาจมีน้ำหนักมากถึง 50 ตัน บางเสาปรากฏร่องรอยว่าถูกลากมาไว้จุดที่ตั้งเสาในปัจจุบันเป็นระยะทางหลายไมล์[8]
เสาอโศกเป็นหนึ่งในบรรดาประติมากรรมเก่าแก่ที่สุดของอินเดียที่หลงเหลือมาจนปัจจุบัน มีเพียงซากของเสาที่เป็นไปได้ว่าเก่าแก่กว่า คือปาฏลีปุตรสตมภศีรษะ สันนิษฐานในกว่าในยุคสามร้อยปีก่อนคริสตกาลนั้น งานก่อสร้างของอินเดียนิยมใช้ไม้เป็นหลัก ส่วนการใช้หินเริ่มเข้ามาในภายหลังการติดต่อกับชาวกรีกและเปอร์เซียเท่านั้น[9] ภาพกราฟิกของส่วนหัวของเสาอโศกนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินของอินเดียนับตั้งแต่ปี 1950 จนถึงปัจจุบัน[10]
เสาอโศกทั้งหมดสร้างขึ้นในอารามของศาสนาพุทธ หรือในสถานที่สำคัญในพระประวัติของพระโคตมพุทธเจ้ารวมถึงแหล่งจาริกแสวงบุญ บางจารึกบนเสาปรากฏการระบุว่าเสานั้นส่งมอบให้กับสงฆ์หรือชี[11] บางเสาสร้างขึ้นเพื่อระลึกการเสด็จพระราชดำเนินของจักรพรรดิอโศก เสาส่วนใหญ่พบในพื้นที่ที่ปัจจุบันคือรัฐพิหาร, รัฐอุตตรประเทศ, รัฐมัธยประเทศ และบางส่วนของรัฐหรยาณา
รายชื่อเสาทั้งหมด
[แก้]เสาอโศกห้าเสา สองเสาที่รามปูรวะ, หนึ่งเสาที่ไวศาลี, อรราช และ นันทานครห์ เป็นไปได้ว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นตำแหน่งปักของเส้นทางพระราชดำเนินโบราณจากปาฏลีบุตรไปยังเนปาล เสาอีกจำนวนมากถูกเคบื่อนย้ายโดยจักรวรรดิโมกุลและรื้อถอนหัวเสาออก[7]
รายชื่อของเสาที่ปรากฏพบในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้[12][13]
รายชื่อเสาที่ยังคงตั้งอยู่หรือปรากฏจารึกของพระเจ้าอโศก
[แก้]- เดลี-โตปรา, เฟโรซ ชาห์ โกตลา, เดลี (พระบรมราชโองการที่ I, II, III, IV, V, VI, VII; ย้ายในปี ค.ศ. 1356 จากโตปรากาลานในอำเภอยุมนานคา รัฐหรยาณา ไปเดลี โดยตุฆลุกฟีรูซ ชาห์[1]
- เดลี-มีรูต, ขอบเดลี, เดลี (พระบรมราชโองการที่ I, II, III, IV, V, VI; ย้ายจากมีรูต ไปเดลี โดยตุฆลุกฟีรูซ ชาห์ ในปี 1356[1]
- นิคาลีสาคร ใกล้กับลุมพินี, ประเทศเนปาล หัวเสาสูญหาย ปรากฏพระบรมราชโองการอันเดียว ตั้งขึ้นในปีที่ 20 ของการครองราชย์ของจักรพรรดิอโศก (ราว 249 ปีก่อนคริสตกาล)[1]
- รุมมินเทอี ใกล้กับลุมพินี, ประเทศเนปาล ตั้งขึ้นในปีเดียวกับเสาที่นิคาลีสาคร เพื่อระบึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนลุมพินี หัวเสาสูญหาย แต่เป็นไปไดส่าเป็นรูปม้า[1]
- เสาอลาหาบาด, รัฐอุตตรประเทศ (เดิมที่ตั้งอยู่ที่กาวสัมพี เป็นไปได้ว่าถูกย้ายไปอลาหาบาดโดยจักรพรรดิชฮันคีร์; พระบรมราชโองการที่ I-VI, พระราชโองการของพระราชินี, พระบรมราชโองการส่วนที่แตกออกมา)[1]
- รามปูรวะ, จามปาราน, รัฐพิหาร มีสองเสา: เสาที่มีหัวเสารูปสิงโต มีพระบรมราชโองการที่ I, II, III, IV, V, VI; เสาที่มีหัวเสารูปกระทิง ไม่ปรากฏพระบรมราชโองการ ส่วนอะบาคัสของหัวเสารูปกระทิงปรากฏลวดลายต้นสายน้ำผึ้งกับลายปาล์มเมทซึ่งได้มาจากงานศิลปะกรีก[1]
- สาญจี, ใกล้กับโภปาล, รัฐมัธยประเทศ, พบสิงโตสี่ตัว, พระบรมราชโองการแตกออก[1]
- สารนาถ, ใกล้กับวาราณสี, รัฐอุตตรประเทศ, พบสิงโตสี่ตัว, พระบรมราชโองการและพระบรมราชโองการที่แตกออก[1] ตราประจำประเทศอินเดีย "สิงหสตมภศีรษะ" ได้มาจากหัวเสาของเสานี้
- ลาวริยะ-นันทานครห์, จามปาราน, รัฐพิหาร, พบสิงโตตัวเดียว, พระบรมราชโองการหมายเลข I, II, III, IV, V, VI[1]
- ลาวริยะ อรราช, จามปาราน, รัฐพิหาร (พระบรมราชโองการหมายเลข I, II, III, IV, V, VI)[1]
- ไวศาลี, รัฐพิหาร, พบสิงโตตัวเดียว, ไม่ปรากฏจารึก[1]
ซากเสาที่พบที่อมราวตียังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ จารึกของเสาปรากฏอักษรพราหมี 6 บรรทัดที่ยากต่อการแปล มีเพียงคำว่า วิชย (ชัยชนะ) ที่แปลออกมาได้ เป็นไปได้ว่าอาจเป็นเสาอโศกเช่นกัน[14] ซีร์คาร์ นักวิชาการผู้ศึกษาเสานี้อย่างละเอียดเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของบรรดาเสาอโศก[15]
เสาที่ยังคงตั้งอยู่ที่เสาที่มีจารึกปรากฏ | |
|
เสาที่ไม่ปรากฏจารึก
[แก้]ในปัจจุบันมีการค้นพบซากเสาจำนวนมาก และหลายเสาที่ไม่ปรากฏจารึกพระเจ้าอโศก เช่น เสาอโศกที่โพธคยา, กาวสัมพี, โคติหว, ปรหลัทปุระ (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ วิทยาลัยสันสกฤตวาราณสี[17]), ฟาเตฮาบาด, โภปาล, สาทครลี, อุทัยคีรี, กุสินคร, อารราห์, พัสตี, ภิขณปหรี, พุลันฑีบาฆ (ปาฏลีบุตร), สันทัลปู และ ไภโรน[18] which was destroyed to a stump during riots in 1908.[19] เป็นต้น
ชิ้นส่วนเสาอโศกที่ไม่มีจารึก | |
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 Buddhist Architecture, Huu Phuoc Le, Grafikol, 2010 p.36-40
- ↑ Bisschop, Peter C.; Cecil, Elizabeth A. (May 2019). Copp, Paul; Wedemeyer, Christian K. (บ.ก.). "Columns in Context: Venerable Monuments and Landscapes of Memory in Early India". History of Religions. University of Chicago Press for the University of Chicago Divinity School. 58 (4): 355–403. doi:10.1086/702256. ISSN 0018-2710. JSTOR 00182710. LCCN 64001081. OCLC 299661763.
- ↑ Inscriptions of Asoka. New Edition by E. Hultzsch (ภาษาสันสกฤต). 1925. p. 132, Edict No 7 line 23.
- ↑ Skilling, Peter (1998). Mahasutras (ภาษาอังกฤษ). Pali Text Society. p. 453. ISBN 9780860133209.
- ↑ Himanshu Prabha Ray (7 August 2014). The Return of the Buddha: Ancient Symbols for a New Nation. Routledge. p. 123. ISBN 9781317560067.
- ↑ India: The Ancient Past: A History of the Indian Subcontinent from c. 7000 BCE to CE 1200, Burjor Avari Routledge, 2016 p.139
- ↑ 7.0 7.1 Krishnaswamy, 697-698
- ↑ "KING ASHOKA: His Edicts and His Times". www.cs.colostate.edu. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
- ↑ India: The Ancient Past: A History of the Indian Subcontinent from c. 7000 BCE to CE 1200, Burjor Avari, Routledge, 2016 p.149
- ↑ State Emblem, Know India india.gov.in
- ↑ Companion, 430
- ↑ Mahajan V.D. (1960, reprint 2007). Ancient India, S.Chand & Company, New Delhi, ISBN 81-219-0887-6, pp.350-3
- ↑ Singh, Upinder (2008). A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century. New Delhi: Pearson Education. p. 358. ISBN 978-81-317-1677-9.
- ↑ Buddshit Architecture, Le Huu Phuoc, Grafikol 2009, p.169
- ↑ Sircar, D. C. (1979). Asokan studies. pp. 118–122.
- ↑ Sircar, D. C. (1979). Asokan studies. p. 118.
- ↑ Mapio
- ↑ Asoka by Radhakumud Mookerji p.85
- ↑ Buddhist Architecture, Le Huu Phuoc, Grafikol 2009, p.40
- ↑ Geary, David (2017). The Rebirth of Bodh Gaya: Buddhism and the Making of a World Heritage Site (ภาษาอังกฤษ). University of Washington Press. p. 209 Note 1. ISBN 9780295742380.