ข้ามไปเนื้อหา

เสรีรัฐคองโก

พิกัด: 5°51′S 13°03′E / 5.850°S 13.050°E / -5.850; 13.050
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสรีรัฐคองโก

État indépendant du Congo (ฝรั่งเศส)
1885–1908
ตราแผ่นดินของคองโก
ตราแผ่นดิน
คำขวัญฝรั่งเศส: Travail et progrès
ดัตช์: Werk en voortgang
(งานและความคืบหน้า)
เพลงชาติแวร์ส ลาเวนีร์ (สู่อนาคต)
ฝรั่งเศส: Vers L'avenir
ที่ตั้งของคองโก
สถานะรัฐร่วมประมุขกับราชอาณาจักรเบลเยียม
เมืองหลวงบอมา
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
• พระมหากษัตริย์
พระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม
ยุคประวัติศาสตร์ยุคล่าอาณานิคมใหม่
1 กรกฎาคม[1] 1885
15 พฤศจิกายน 1908
ก่อนหน้า
ถัดไป
สมาคมคองโกนานาชาติ
เบลเจียนคองโก

เสรีรัฐคองโก (อังกฤษ: Congo Free State; ฝรั่งเศส: État indépendant du Congo) เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ในแอฟริกากลาง ซึ่งอยู่ในการครอบครองส่วนพระองค์ของพระเจ้าเลออปอลที่ 2 แห่งเบลเยียม มีกำเนิดจากการหนุนหลังทางวิทยาศาสตร์และมนุษยธรรมที่น่าดึงดูดแก่องค์การพัฒนาเอกชน สมาคมแอฟริกานานาชาติ (Association internationale africaine, AIA) ของพระเจ้าเลออปอลที่ 2 พระองค์ทรงกระชับการควบคุมลุ่มน้ำคองโกส่วนมากผ่าน AIA และองค์การสืบเนื่องทั้งหลาย องค์การสุดท้าย คือ สมาคมคองโกนานาชาติ (Association internationale du Congo, AIC) เป็นเครื่องมือส่วนพระองค์ของพระเจ้าเลออปอลที่ 2 เนื่องจากทรงเป็นผู้ถือหุ้นแต่พระองค์เดียวและประธาน พระองค์จึงได้ใช้องค์การเพื่อรวบรวมและขายงา ยางและแร่เพิ่มขึ้นในลุ่มน้ำคองโกตอนบน แม้องค์การดังกล่าวจะถูกจัดตั้งขึ้นบนความเข้าใจว่าวัตถุประสงค์คือ เพื่อยกระดับประชาชนท้องถิ่นและพัฒนาพื้นที่ พระองค์ให้นามเสรีรัฐคองโกแก่ AIC ใน ค.ศ. 1885 รัฐนี้รวมถึงดินแดนทั้งหมดที่ปัจจุบันคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 1885 ถึง 1908 เสรีรัฐคองโกค่อย ๆ มีชื่อเสียเพิ่มขึ้นจากการทำทารุณโหดร้ายต่อประชาชนท้องถิ่นและการปล้นสะดมทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งนำไปสู่การยกเลิกและการผนวกโดยรัฐบาลเบลเยียมใน ค.ศ. 1908

ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเลออปอลที่ 2 เสรีรัฐคองโกได้กลายมาเป็นหนึ่งในเรื่องอื้อฉาวระหว่างประเทศครั้งใหญ่ที่สุดในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 รายงานของกงสุลอังกฤษ โรเจอร์ เคสเมนต์ นำไปสู่การจับกุมและลงโทษเจ้าหน้าที่ผิวขาวผู้รับผิดชอบต่อการสังหารระหว่างการสำรวจเก็บยางใน ค.ศ. 1903

การสูญเสียชีวิตและความรุนแรงเป็นแรงบันดาลใจแก่งานประพันธ์หลายเล่ม และเร่งเร้าการคัดค้านรุนแรง แม้กระทั่งนายทุนแห่งคณะผู้แทนอาณานิคมอย่างวินสตัน เชอร์ชิลล์ มุมมองหนึ่งว่า ระบบการบังคับใช้แรงงานทั้งโดยตรงและโดยอ้อมทำลายชีวิตประชากรไปถึงร้อยละ 20[2]

จนถึง ค.ศ. 1908 แรงกดดันสาธารณะและกุศโลบายทางการทูตนำมาซึ่งการสิ้นสุดของการปกครองของพระเจ้าเลออปอลที่ 2 และการผนวกคองโกเป็นอาณานิคมของเบลเยียม ชื่อว่า เบลเจียนคองโก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Encyclopædia Britannica
  2. [1] เก็บถาวร 2009-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน In the Heart of Darkness (Adam Hochschild - The New York Review of Books)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

5°51′S 13°03′E / 5.850°S 13.050°E / -5.850; 13.050