เศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์
ส่วนหนึ่งของชุดบทความเรื่อง |
เศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์ |
---|
เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิมากซ์ |
เศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์ เป็นสำนักความคิดเศรษฐกิจการเมืองลัทธิอื่น รากฐานของสำนักดังกล่าวสืบย้อนไปได้ถึงการวิพากษ์เศรษฐกิจการเมืองคลาสสิกในงานวิจัยของคาร์ล มาคส์และฟรีดริช เอ็งเงิลส์ เศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์ประกอบด้วยทฤษฎีต่าง ๆ จำนวนมาก และในหลายกรณีใช้การวิเคราะห์แบบมาคส์เพื่อประกอบหรือส่งเสริมแนวเข้าสู่การศึกษาแนวอื่น ทั้งนี้พึงทราบว่าบุคคลไม่จำเป็นต้องเป็นนักลัทธิมาคส์ในทางการเมืองจึงจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์ สองคำนี้จึงไม่ใช่คำไวพจน์
เศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์ให้ความสนใจกับการวิเคราะห์วิกฤตในทุนนิยม บทบาทและการกระจายของผลผลิตส่วนเกินและมูลค่าส่วนเกินในระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ สภาพและจุดกำเนิดของมูลค่าทางเศรษฐกิจ ผลกระทบของชนชั้นและการต่อสู้ของชนชั้นในเรื่องกระบวนการทางเศรษฐกิจและการเมือง และกระบวนการวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจ
เศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงวิชาการ มีความแตกต่างจากอุดมการณ์การเมืองลัทธิมาคส์ ตลดจนแง่มุมเชิงบรรทัดฐานของความคิดแบบลัทธิมาคส์ โดยมีมุมมองว่าแนวเข้าสู่การศึกษาดั้งเดิมของมาคส์ในการทำความเข้าใจเศรษฐศาสตร์และการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเอกเทศเชิงภูมิปัญญาจากการสนับสนุนสังคมนิยมปฏิวัติของมาคส์[1][2] นักเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์มิได้ยึดถืองานของมาคส์และนักลัทธิมาคส์ที่มีชื่อเสียงอื่นเท่านั้น แต่ยังยกมาจากแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่นักลัทธิมาคส์อื่นด้วย[3]
แม้ว่าสำนักมาคส์ถือว่าเป็นลัทธิอื่น แต่ความคิดที่มาจากเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์มีส่วนช่วยให้เกิดความเข้าใจกระแสหลักของเศรษฐกิจโลก มโนทัศน์บางอย่างพัฒนาขึ้นในเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการสะสมทุนและวงจรเศรษฐกิจ ซึ่งเหมาะสมสำหรับใช้ในระบบทุนนิยม (เช่น ความคิดเรื่องการทำลายล้างอย่างสร้างสรรค์ของโจเซฟ ชุมเปเตอร์)
ปฏิกิริยาของมาคส์ต่อเศรษฐศาสตร์คลาสสิก
[แก้]เศรษฐศาสตร์ของมาคส์มีจุดตั้งต้นมาจากนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคของเขา ได้แก่ นักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกชาวบริติช อดัม สมิธ, ทอมัส โรเบิร์ต มาลธัส และ เดวิด ริคาร์โด
ใน ความมั่งคั่งของประชาชาติ (ค.ศ. 1776) สมิธให้เหตุผลว่าลักษณะสำคัญที่สุดของเศรษฐกิจแบบตลาดคืออนุญาตให้ความสามารถการผลิตเติบโตได้อย่างรวดเร็ว สมิธอ้างว่าตลาดที่กำลังเติบโตกระตุ้นให้เกิด "การแบ่งงานกันทำ" มากขึ้น (เช่น ธุรกิจ และ/หรือคนงานที่ทำหน้าที่เฉพาะ) และส่งผลให้เกิดผลิตภาพมากขึ้นตามลำดับ แม้ว่าโดยทั่วไปสมิธจะกล่าวถึงแรงงานเพียงเล็กน้อย แต่เขาก็สังเกตว่าการแบ่งงานกันทำเมื่อถึงจุดหนึ่งจะเป็นผลเสียต่อผู้ที่มีงานแคบลงเรื่อย ๆ เมื่อมีการแบ่งงานกันทำมากขึ้น สมิธยังยืนยันว่าเศรษฐกิจแบบปล่อยให้ทำไปจะแก้ไขมันเองได้ตามเวลา
มาร์กซ์เห็นด้วยกับสมิธโดยอ้างว่าผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ที่สำคัญของทุนนิยมคือการเติบโตของความสามารถผลิตภาพอย่างรวดเร็ว มาคส์ยังขยายความอย่างมากในความคิดว่ากรรมกรอาจได้รับโทษเมื่อทุนนิยมมีผลิตภาพมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น มาคส์ตั้งข้อสังเกตใน ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน ว่า "เราเห็นความก้าวหน้ายิ่งใหญ่ที่อดัม สมิธกระทำเกินกว่าพวกฟิซิโอแครตในการวิเคราะห์มูลค่าส่วนเกินและทุน ในทัศนะของพวกเขา มีกรรมกรรูปธรรมประเภทเดียว—กรรมกรกสิกรรม—ที่สร้างมูลค่าส่วนเกิน ... แต่สำหรับอดัม สมิธ เป็นกรรมกรสังคมทั่วไป — ไม่ว่ามูลค่าการใช้งานสำแดงออกมาแบบใด — เฉพาะปริมาณของกรรมกรที่จำเป็นซึ่งก่อให้เกิดมูลค่า มูลค่าส่วนเกิน ไม่ว่าในรูปกำไร ค่าเช่า และดอกเบี้ยแบบทุติยภูมิ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานนี้ ซึ่งเจ้าของสภาพวัตถุของแรงงานโดยแลกเปลี่ยนกับกรรมกรมีชีวิต"
มาลธัสอ้างใน เรียงความเรื่องหลักการประชากร (ค.ศ. 1798) ว่าการเติบโตของประชากรเป็นสาเหตุหลักของค่าจ้างระดับยังชีพได้สำหรับแรงงานนั้นกระตุ้นให้มาคส์พัฒนาทฤษฎีการตัดสินค่าจ้างใหม่ ในขณะที่มาลธัสนำเสนอทฤษฎีการเติบโตของประชากรในอดีต มาคส์เสนอทฤษฎีประชากรที่เกินโดยสัมพัทธ์ในทุนนิยมมีแนวโน้มผลักดันค่าจ้างให้ไปสู่ระดับยังชีพได้ มาคส์มองว่าประชากรที่เกินโดยสัมพัทธ์นี้มาจากสาเหตุทางเศรษฐกิจ มิใช่สาเหตุทางชีววิทยา (ตามทฤษฎีของมาลธัส) ทฤษฎีประชากรส่วนเกินแบบเศรรษฐศาสตร์นี้มักได้ชื่อว่าเป็นทฤษฎีกรรมกรทัพหนุน (reserve army of labour) ของมาคส์
ริคาร์โดพัฒนาทฤษฎีการกระจายภายในระบบทุนนิยม นั่นคือทฤษฎีว่าผลผลิตของสังคมมีการกระจายไปยังชนชั้นในสังคมอย่างไร ทฤษฎีนี้แบบสมบูรณ์ที่สุดมีการนำเสนอใน ว่าด้วยหลักการเศรษฐกิจการเมืองและการเก็บภาษีอากร (ค.ศ. 1817) ตั้งอยู่บนทฤษฎีมูลค่าแรงงาน ซึ่งกล่าวว่า มูลค่าของวัตถุทุกชิ้นที่ผลิตขึ้นเท่ากับแรงงานที่ใส่ลงไปในวัตถุ และสมิธเองก็นำเสนอทฤษฎีมูลค่าแรงงาน แต่มีความเข้าใจอย่างไม่สมบูรณ์ สิ่งที่มีความโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งในทฤษฎีเศรษฐกิจของริคาร์โดคือกำไรเป็นการหักลบจากผลผลิตของสังคม และค่าจ้างและกำไรมีความสัมพันธ์แบบผกผัน คือ กำไรที่เพิ่มขึ้นมาจากการลดค่าจ้าง มาคส์ยึดการวิเคราะห์เศรษฐกิจรูปนัยอย่างมากที่พบใน ทุน จากทฤษฎีของริคาร์โด
มาคส์ยังวิจารณ์ลักษณะสองประการของ "เศรษฐกิจกระฎุมพี" ซึ่งเขามองว่าเป็นปัจัจยหลักที่ขัดขวางการตระหนักอย่างสมบูรณ์ของอำนาจการผลิตของสังคม คือ การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และการดำเนินการเศรษฐกิจที่อ้างว่าไม่มีเหตุผล ซึ่งนำไปสู่ "การก่อความวุ่นวาย" และส่วนเกิน[4]
ทฤษฎีของมาคส์
[แก้]มาคส์ใช้ทฤษฎีมูลค่าแรงงาน ซึ่งมองว่ามูลค่าของโภคภัณฑ์หนึ่ง ๆ เป็นเวลาทำงานอันจำเป็นทางสังคม (socially-necessary labour-time) ที่ลงทุนในโภคภัณฑ์นั้น ในแบบจำลองนี้ นักทุนนิยมไม่ได้จ่ายกรรมกรเต็มมูลค่าของโภคภัณฑ์ที่พวกเขาผลิต กลับตอบแทนกรรมกรสำหรับแรงงานที่จำเป็นเท่านั้น (คือ ค่าจ้างแรงงาน ซึ่งครอบคลุมเฉพาะวิถีการยังชีพที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อรักษาให้เขาทำงานต่อไปในปัจจุบัน และกลุ่มครอบครัวของเขาทำงานต่อไปในอนาคต) แรงงงานที่จำเป็นเป็นเพียงเศษเสี้ยวเดียวของวันทำงานเต็มวัน นักทุนนิยมเก็บส่วนที่เหลือเพื่อให้ตนเอง เรียก "แรงงานส่วนเกิน"
มาคส์ตั้งทฤษฎีว่าช่องว่างระหว่างมูลค่าที่กรรมกรผลิตกับค่าจ้างที่ได้รับเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง เรียกว่า มูลค่าส่วนเกิน ยิ่งไปกว่านั้นมาคส์ให้เหตุผลว่าตลาดมีแนวโน้มบดบังความสัมพันธ์ทางสังคมและกระบวนการผลิต ซึ่งเขาเรียกว่า การเกิดอารมณ์เพศจากโภคภัณฑ์ (commodity fetishism) บุคคลล้วนตระหนักดีถึงโภคภัณฑ์ แต่ปกติไม่คิดถึงความสัมพันธ์และแรงงานที่โภคภัณฑ์นั้นเป็นตัวแทน
การวิเคราะห์ของมาก์นำไปสู่การพิจารณาวิกฤตเศรษฐกิจ รอเบิร์ต ไฮบรอนเนอร์เขียนว่า "ความโน้มเอียงต่อวิกฤต—สิ่งที่เราจะเรียก วงจธุรกิจ—ไม่มีการรับรองว่าเป็นลักษณะติดตัวของทุนนิยมโดยนักเศรษฐศาสตร์คนอื่นในเวลาของมาคส์ แม้ว่าเหตุการณ์ในอนาคตระบุชัดเจนถึงพยากรณ์เศรษฐกิจบูมและตกต่ำต่อมา"[5] ทฤษฎีวงจรเศรษฐกิจของมาคส์มีการก่อเป็นรูปร่างโดยริชาร์ด กูดวินใน "วงจรการเติบโต" (ค.ศ. 1967)[6]
ในการระงับการขัดแย้งแบบกระฎุมพีระหว่างเจ้าของปัจจัยการผลิตและ "การกระทำทางสังคม" ของการผลิตเอง มาคส์เสนอให้สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เพื่อขจัด "การก่อความวุ่นวาย" ของเศรษฐกิจทุนนิยม มาคส์ยังตั้มูลบท "การจัดการอย่างมีเหตุผล" ของเศรษฐกิจ ซึ่งจะเปลี่ยนกำลังตลาด "โกลาหล" ที่ขับเคลื่อนโดย "ผลรวมของความนิยมปัจเจก"[4]
ระเบียบวิธี
[แก้]มาร์กซ์ใช้วิภาษวิธีซึ่งเขารับมาจากงานของเกออร์ค วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกล วิภาษวิธีให้ความสนใจกับความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลง และพยายามเลี่ยงการมองเอกภาพว่าประกอบด้วยวัตถุแยกจากกัน แต่ละวัตถุมีคุณลักษณะไม่อยู่นิ่งเสถียรโดยสภาพ องค์ประกอบหนึ่งของวิภาษวิธีคือภาวะนามธรรม; จากมวลข้อมูลหรือระบบที่ไม่มีการแยกแยะทซึ่งเข้าใจเกี่ยวกับทั้งหมดของอินทรีย์ บุคคลคิดหรือเรียกเป็นส่วน ๆ บุคคลยังอาจใช้วิธีเดียวกันกับความสัมพันธ์และกระบวนการเปลี่ยนแปลงด้วย การสร้างภาวะนามธรรมอาจเป็นแบบกว้างหรือแคบก็ได้ อาจสนใจนัยทั่วไปหรือนัยจำเพาะ และอาจประกอบขึ้นจากมุมมองต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การซื้อขายอาจคิดในเชิงทฤษฎีจากมุมมองของผู้ซื้อหรือผู้ขาย และอาจคิดในเชิงทฤษฎีการซื้อขายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือการขายโดยรวม อีกองค์ประกอบหนึ่งคือการนิรนัยเชิงวิภาษวิธีของหมวดหมู่ มาคส์ใช้ความคิดของเฮเกล ซึ่งเป็นแบบ (form) สำหรับเศรษฐศาสตร์ เช่น แบบโภคภัณฑ์ แบบเงิน ฯลฯ จำเป็นต้องนิรนัยอย่างเป็นระบบแทนการถูกบีบกุมในทางออกไปข้างนอกอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์กระฎุมพีทำ ทั้งนี้สอดคล้องกับบทวิพากษ์ปรัชญาอุตรวิสัยแบบคานต์ของเฮเกล[7]
มาร์กซ์มองว่าประวัติศาสตร์ได้ผ่านมาหลายขั้นตอน รายละเอียดของการแบ่งยุคไม่ตรงกันอยู่บ้างในงานต่าง ๆ ของเขา แต่หลัก ๆ เป็นดังนี้ คอมมิวนิสต์ดึกดำบรรพ์ – สังคมทาส – ระบบเจ้าขุนมูลนาย – ทุนนิยม – สังคมนิยม – คอมมิวนิสต์ (โดยทุนนิยมเป็นขั้นปัจจุบัน และคอมมิวนิสต์เป็นอนาคต) มาคส์ใช้ความพยายามส่วนใหญ่กับการอธิบายทุนนิยม นักประวัติศาสตร์วางจุดเริ่มต้นของทุนนิยมไว้ระหว่าง ค.ศ. 1450 (ซอมบาร์ต) และระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 (ฮอบสบอร์น)[8]
มาคส์นิยามโภคภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ของแรงงานมนุษย์ซึ่งผลิตสำหรับขายในตลาด และผลิตภัณฑ์หลายอย่างของแรงงานมนุษย์เป็นโภคภัณฑ์ มาคส์เริ่มต้นหนังสือ ทุน ด้วยการอภิปรายโภคภัณฑ์
โภคภัณฑ์
[แก้]มูลค่าของโภคภัณฑ์สามารถรับรู้ได้สองวิธีซึ่งมาคส์เรียกว่า มูลค่าการใช้สอย (use-value) และมูลค่า (value) มูลค่าการใช้สอยของโภคภัณฑ์คือประโยชน์สำหรับการบรรลุความมุ่งหมายในทางปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น มูลค่าการใช้สอยของอาหารคือให้สารอาหารและให้รสชาติเพลิดเพลิน มูลค่าใช้สอยของค้อน คือใช้งัดตะปู
ในทางกลับกัน มูลค่าเป็นการวัดคุณค่าของโภคภัณฑ์โดยเปรียบเทียบกับโภคภัณฑ์อื่น ความหมายนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมูลค่าแลกเปลี่ยน สัดส่วนที่โภคภัณฑ์ควรมีการแลกเปลี่ยน แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว คือมูลค่ามีระดับการคิดเชิงทฤษฎีโดยทั่วไปกว่า ส่วนมูลค่าแลกเปลี่ยนเป็นควมตระหนักหรือรูปหนึ่งของมูลค่า
มาคส์ให้เหตุผลว่าหากมูลค่าเป็นคุณสมบัติร่วมของโภคภัณฑ์ทุกชนิดแล้ว เมื่อว่ามันจะมาจากสิ่งใด อะไรเป็นตัวกำหนด จะต้องเป็นสิ่งเดียวกันสำหรับโภคภัณฑ์ทุกอย่าง สิ่งที่เกี่ยวข้องอย่างเดียวในมุมมองของมาคส์คือ โภคภัณฑ์ทุกชนิดเกิดจากแรงงานมนุษย์ คือผลิตจากแรงงานมนุษย์
มาคส์สรุปว่ามูลค่าของโภคภัณฑ์เป็นเพียงปริมาณของแรงงานมนุษย์ที่จำเป็นในการผลิต ฉะนั้นมาคส์จึงรับทฤษฎีมูลค่าแรงงาน เช่นเดียวกับริคาร์โโและแม็กคัลล็อกก่อนหน้านี้ มาคส์สืบย้อนการมีอยู่ของทฤษฎีอย่างน้อยไปไกลถึงงานนิรนาม ความคิดบางตอนเกี่ยวกับดอกเบี้ยของเงินโดยรวม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Publick Funds, &c ตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนประมาณ ค.ศ. 1739 หรือ 1740[9]
มาคส์วางข้อจำกัดบางประการต่อความสมเหตุสมผลของทฤษฎีมูลค่าของเขา เขากล่าวว่าในการทำให้ทฤษฎีเป็นจริงได้ โภคภัณฑ์จะต้องไม่ใช่สินค้าไร้ประโยชน์ และไม่ใช่ว่าปริมาณแ้จริงของแรงงานที่ใส่ลงไปในการผลิตโภคภัณฑ์ปัจเจกอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นตัวตัดสินมูลค่าของมัน แต่เป็นปริมาณแรงงานที่คนงานที่มีพลังงานและความสามารถโดยเฉลี่ยทำงานด้วยความเข้มปานกลาง โดยใช้เทคนิคที่ใช้กันแพร่หลายในเวลานั้น จำเป็นต้องผลิต ถ้อยแถลงอย่างเป็นทางการของกฎคือ มูลค่าของโภคภัณฑ์เท่ากับค่าเฉลี่ยของเวลาทำงานอันจำเป็นทางสังคมที่จำเป็นสำหรับการผลิต
ข้อโต้เถียงของมาคส์มีว่าโภคภัณฑ์มีแนวโน้มแลกเปลี่ยนที่มูลค่า ณ ระดับความคิดเชิงทฤษฎีค่อนข้างทั่วไป นั่นคือ หากโภคภัณฑ์ A มีมูลค่า V แลกเปลี่ยนกับโภคภัณฑ์ B จะมีแนวโน้มในการถือว่าโภคภัณฑ์ B มีมูลค่า V ด้วยเช่นกัน แต่บางพฤติการณ์จะแตกต่างไปจากกฎนี้
เงิน
[แก้]มาคส์ถือว่าเงินโลหะ เช่น ทองคำ เป็นโภคภัณฑ์ และมูลค่าของมันคือเวลาทำงานที่จำเป็นสำหรับการผลิต (ขุดเหมือง หลอมโลหะ ฯลฯ) มาคส์ให้เหตุผลว่าทองคำและเงินใช้เป็นเงินมาแต่เดิมเพราะเป็นตัวแทนของแรงงานปริมาณสูงในรูปขนาดเล็ก ทนทานและสะดวก เงินกระดาษในแบบจำลองนี้จึงแทบไม่มีมูลค่าในตัวมันเอง แต่ให้หมุนเวียนในระบบด้วยกฤษฎีกาของรัฐ
การผลิต
[แก้]มาคส์แสดงรายการปัจจัยพื้นฐานของการผลิตไว้ดังนี้
- แรงงาน "กิจกรรมส่วนตัวของมนุษย์"
- วัตถุแห่งแรงงาน: สิ่งที่แรงงานทำงาน
- เครื่องมือแรงงาน: เครื่องมือ, การใช้แรงงานสัตว์เลี้ยง เช่น ม้า, สารเคมีที่ใช้ในการดัดแปลงวัตถุ ฯลฯ
วัตถุแห่งแรงงานบางอย่างหาได้จากธรรมชาติโดยตรง ได้แก่ ปลาที่ยังไม่มีคนจับ ถ่านหินที่ยังไม่มีคนขุดขึ้นมา เป็นต้น วัตถุอื่นเป็นผลลัพธ์ของการผลิตขั้นก่อนหน้า เรียก วัตถุดิบ เช่น แป้งหรือด้ายไหมพรม โรงช่าง คลองและถนนถือว่าเป็นเครื่องมือแรงงาน วัตถุแรงงานและเครื่องมือแรงงานรวมกันเรียก ปัจจัยการผลิต ความสัมพันธ์ของการผลิตเป็นความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อกันในฐานะส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต ในทุนนิยม แรงงานสินจ้างและทรัพย์สินส่วนบุคคลเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์การผลิต
- การคำนวณมูลค่าของผลิตภัณฑ์ (ระวังสับสนกับราคา):
- หากมีการใช้แรงงานโดยตรงต่อธรรมชาติ และเครื่องมือมีมูลค่าเล็กน้อยมาก มูลค่าของผลิตภัณฑ์เท่ากับเวลาทำงาน หากมีการใช้แรงงานต่อสิ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์ของแรงงานก่อนหน้านี้ (คือวัตถุดิบ) การใช้เครื่องมือที่มีมูลค่าบางอย่าง มูลค่าของผลิตถัณฑ์จะเท่ากับมูลค่าของวัตถุดิบ บวกการเสื่อมราคาของเครื่องมือ บวกเวลาทำงาน การเสื่อมราคาคิดได้จากการหารมูลค่าของเครื่องมือด้วยเวลาใช้งาน เช่น ถ้าเครื่องกลึงโลหะมีมูลค่า 1,000 ปอนด์ใช้ได้ 10 ปี หมายความว่า เครื่องมือนั้นได้ให้มูลค่าแก่ผลิตภัณฑ์ในอัตรา 100 ปอนด์ต่อปี
โดยที่ | คือมูลค่าของผลิตภัณฑ์ | ||
คือมูลค่าของปัจจัยการผลิต | |||
คือเวลาทำงาน |
ผลของความก้าวหน้าทางเทคนิค
[แก้]มาคส์ระบุว่าปริมาณผลิตภัณฑ์แท้จริง (คือมูลค่าใช้สอย) ซึ่งกรรมกรทั่วไปผลิตขึ้นมาในเวลาหนึ่ง ๆ นั้นเป็นผลิตภาพของกรรมกร ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นภายใต้ระบบทุนนิยม ทั้งนี้เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของขนาดบรรษัท การแบ่งงานกันทำ และการใช้เครื่องจักร ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทันทีคือมูลค่าของสินค้ามีแนวโน้มลดลง เพราะเวลาทำงานที่จำเป็นของการผลิตลดลง
ในช่วงเวลาหนึ่ง กรรมกรผลิตสินค้ามากขึ้น แต่สินค้าหนึ่งชิ้นมีมูลค่าลดลง มูลค่ารวมที่สร้างขึ้นต่อเวลายังมีเท่าเดิม หมายความว่า วิถีการยังชีพถูกลง ฉะนั้นมูลค่าอำนาจแรงงานหรือเวลาทำงานที่จำเป็นลดลง หากความยาววันทำงานยังเท่าเดิม จะทำให้มีเวลาทำงานส่วนเกินและอัตรามูลค่าส่วนเกินเพิ่มขึ้น
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีแนวโน้มเพิ่มปริมาณทุนที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นธุรกิจ และมีแนวโน้มลงเอยให้น้ำหนักกับรายจ่ายเพื่อปัจจัยการผลิต (ทุนคงที่) มากกว่าแรงงาน (ทุนแปรผัน) มาคส์เรียกสัดส่วนระหว่างทุนคงที่ต่อทุนแปรผันว่า องค์ประกอบของทุน
ทฤษฎีปัจจุบันในเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์
[แก้]เศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์มีผู้อื่นต่อเติมเริ่มตั้งแต่เวลาที่มาคส์เสียชีวิต หนังสือ ทุน เล่มสองและสามมีการแก้ไขโดยเพื่อนสนิทของเขา เอ็งเงิลส์ ตามบันทึกของมาคส์ หนังสือ ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน ถูกแก้ไขโดย คาร์ล เคาท์สกี ทฤษฎีมูลค่าแบบมาคส์และทฤษฎีบทเปอร์รอน-โฟรบีเนียสว่าด้วยเวกเตอร์ลักษณะเฉพาะเชิงบวกของเมตริกซ์เชิงบวก[10] เป็นพื้นฐานของการคำนวณคณิตศาสตร์ของเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์ ความสัมพันธ์ระหว่างการขูดรีด (แรงงานส่วนเกิน) และกำไรมีการสร้างแบบจำลองที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น[11]
วารสารภาษาอังกฤษ ได้แก่ Capital & Class, Historical Materialism, Monthly Review, Rethinking Marxism, Review of Radical Political Economics และ Studies in Political Economy
ข้อวิจารณ์
[แก้]ข้อวิจารณ์เศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์คลาสสิกมาจากนักเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์ซึ่งทบทวนทฤษฎีดั้งเดิมของมาคส์ หรือโดยสำนักคิดออสเตรีย วี. เค. ดมิทรีเอฟ เขียนในปี 1898,[12] ลาดิสเลาส์ ฟอน บอร์ทไควิกซ์ เขียนในปี 1906–07[13] และนักวิจารณ์ต่อ ๆ มาอ้างว่าทฤษฎีมูลค่าแรงงานของมาคส์และกฎแนวโน้มอัตรากำไรลดลงของมาคส์ขัดแย้งภายในกันเอง กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า นักวิจารณ์อ้างว่ามาคส์ดึงข้อสรุปที่ไม่ได้สอดคล้องกับข้อตั้งต้นทางทฤษฎีของตนเอง เมื่อมีการแก้ไขข้อผิดพลาดตามอ้างดังกล่าวแล้ว ข้อสรุปของเขาที่ว่าราคาและกำไรรวมถูกตัดสินจาก และเท่ากับมูลค่าและมูลค่าส่วนเกินรวมจะไม่เป็นความจริง ผลลัพธ์ดังกล่าวทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงทฤษฎีของเขาที่ว่าการขูดรีดแรงงานเป็นบ่อเกิดแห่งกำไรเพียงแหล่งเดียว[14]
การทำนายของมาคส์ว่าอัตรากำไรในระบบทุนนิยมมีแนวโน้มลดลงจริงหรือไม่นั้นยังเป็นหัวข้อถกเถียงกันอยู่ N. Okishio ในปี 1961 ปรับแก้ทฤษฎีบทแสดงว่าถ้านักทุนนิยมมุ่งใช้เทคนิคตัดราคา และค่าจ้างแท้จริงไม่เพิ่มขึ้นแล้ว อัตรากำไรย่อมสูงขึ้น[15]
ข้อกล่าวหาความไม่ต้องกันเองเป็นลักษณะเด่นของเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์และการถกเถียงเกี่ยวกับทฤษฎีดังกล่าวตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970[16] ในบรรดานักวิจารณ์ที่ชี้ถึงความไม่ต้องกันภายใน ได้แก่ นักเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์และสำนักสรัฟฟา เช่น Paul Sweezy,[17] Nobuo Okishio,[18] Ian Steedman,[19] John Roemer,[20] Gary Mongiovi,[21] และ David Laibman ซึ่งเสนอให้สาขาตั้งอยู่บนเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์แบบที่ถูกต้องแทนบทวิจารณ์เศรษฐกิจการเมืองของมาคส์แบบดั้งเดิมในเรื่อง ทุน
ผู้สนับสนุนการตีความระบบเดี่ยวชั่วคราว (TSSI) ในทฤษฎีคุณค่าของมาคส์อ้างว่าความไม่ต้องกันที่มีผู้ยกขึ้นมานั้นแท้จริงแล้วเป็นผลมาจากการตีความผิด พวกเขาให้เหตุผลว่าเมื่อทฤษฎีของมาคส์เข้าใจว่าเป็น "ชั่วคราว" และ "ระบบเดียว" ความไม่ต้องกันภายในนั้นจะหายไป ในการสำรวจการถกเถียงปัจจุบัน ผู้สนับสนุน TSSI "หลักฐานของความไม่ต้องกันจะแก้ต่างไม่ได้อีกต่อไป คดีทั้งหมดต่อมาคส์นั้นถูกลบดเหลือเป็นประเด็นการตีความ"[22]
เศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์ส่วนใหญ่มาจากข้อความขัดแย้งในตัวที่สังเกตในประเทศที่ประกาศสวามิภักดิ์ต่อลัทธิเศรษฐกิจและการเมืองลัทธิมาคส์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 János Kornai วิเคราะห์ความขาดแคลนสินค้าในประเทศเหล่านั้นและการมีเศรษฐกิจที่สอง (ตลาดมืด) สำหรับสินค้าพื้นฐานอย่างยิ่ง และประดิษฐ์คำว่า "เศรษฐกิจขาดแคลน" Dembinsky ชี้ว่าแนวทางเข้าสู่การศึกษาที่ไม่้องกันองมาคส์ในการตัดสิน "มูลค่าแรงงาน" นำไปสู่การถดถอยของประสิทธิภาพในเศรษฐกิจเหล่านั้น
ความเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์
[แก้]Robert Solow ประเมินในปี 1988 ว่าเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์ไม่มีความเกี่ยวข้อง โดยวิจารณ์ New Palgrave Dictionary of Economics ว่า เลือกตัวอย่างบทความที่มีแก่นลัทธิมาคส์มากเกินไป ทำให้ "เกิดความเข้าใจผิด ๆ ต่อสถานการณ์ปัจจุบัน" ในวิชาชีพเศรษฐศาสตร์ Solow ระบุว่า "ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า นักเศรษฐศาสตร์ที่พูดภาษาอังกฤษที่จริงจังที่สุดถือว่าเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์เป็นทางตันที่ไม่มีความหมาย"[23]
George Stigler กล่าวว่า นักเศรษฐศาสตร์ในประเพณีมาคส์-สรัฟฟาเป็นส่วนน้อยมากในนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ และงานเขียนของพวกเขาแทบไม่มีผลกระทบต่องานวิชาชีพของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยหลักที่พูดภาษาอังกฤษ[24]
เศรษฐศาสตร์มาคส์ใหม่
[แก้]คำว่า Neo-Marxian, Post-Marxian และ Radical Political Economics ถูกใช้เป็นครั้งแรกเพื่ออ้างถึงประเพณีความคิดทางเศรษฐกิจที่แยกออกมาในคริสต์ทศวรรษ 1970 และ 1980
ในเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม แนวทางเข้าสู่แบบมาคส์ใหม่เน้นย้ำถึงสภาพผูกขาดของทุนนิยมมากกว่าการแข่งขัน บุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ Michal Kalecki, Josef Steindl, Paul A. Baran และ Paul Sweezy[25][26]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Neo-Marxian blood Schools". The New School. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-29. สืบค้นเมื่อ 2007-08-23.
- ↑ Munro, John. "Some Basic Principles of Marxian Economics" (PDF). University of Toronto. สืบค้นเมื่อ 2007-08-23.
- ↑ Described in Duncan Foley and Gérard Duménil, 2008, "Marx's analysis of capitalist production," The New Palgrave Dictionary of Economics, 2nd Edition. Abstract.
- ↑ 4.0 4.1 Dembinsky, Pawel H. (1991). The Logic of The Planned Economy. Oxford: Claredon Press. pp. 22–23. ISBN 0198286864.
- ↑ Heilbroner 2000, p. 164 .
- ↑ Screpanti & Zamagni 2005, p. 474 .
- ↑ See Helmut Reichelt, quoted in: Kubota, Ken: Die dialektische Darstellung des allgemeinen Begriffs des Kapitals im Lichte der Philosophie Hegels. Zur logischen Analyse der politischen Ökonomie unter besonderer Berücksichtigung Adornos und der Forschungsergebnisse von Rubin, Backhaus, Reichelt, Uno und Sekine, in: Beiträge zur Marx-Engels-Forschung. Neue Folge 2009, pp. 199–224, here p. 199.
- ↑ Angus Maddison, Phases of Capitalist Development. Oxford, 1982. p. 256, note.
- ↑ Capital, Vol I, Chap I (p. 39 in the Progress Publishers, Moscow, edition).
- ↑ Fujimori, Y. (1982). "Modern Analysis of Value Theory". Lecture Notes in Economics and Mathematical Systems. Springer.
- ↑ Yoshihara, Naoki. "A Progressive Report on Marxian Economic Theory: On the Controversies in Exploitation Theory since Okishio (1963)" (PDF). Working Paper. Univ. of Massachusetts AMHERST. dec. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-20. สืบค้นเมื่อ 2020-12-26.
- ↑ V. K. Dmitriev, 1974 (1898), Economic Essays on Value, Competition and Utility. Cambridge: Cambridge Univ. Press.
- ↑ Ladislaus von Bortkiewicz, 1952 (1906–1907), "Value and Price in the Marxian System", International Economic Papers 2, 5–60; Ladislaus von Bortkiewicz, 1984 (1907), "On the Correction of Marx’s Fundamental Theoretical Construction in the Third Volume of Capital". In Eugen von Böhm-Bawerk 1984 (1896), Karl Marx and the Close of his System, Philadelphia: Orion Editions.
- ↑ M. C. Howard and J. E. King. (1992) A History of Marxian Economics: Volume II, 1929–1990, chapter 12, sect. III. Princeton, NJ: Princeton Univ. Press.
- ↑ M. C. Howard and J. E. King. (1992) A History of Marxian Economics: Volume II, 1929–1990, chapter 7, sects. II–IV. Princeton, NJ: Princeton Univ. Press.
- ↑ See M. C. Howard and J. E. King, 1992, A History of Marxian Economics: Volume II, 1929–1990. Princeton, NJ: Princeton Univ. Press.
- ↑ "Only one conclusion is possible, namely, that the Marxian method of transformation [of commodity values into prices of production] is logically unsatisfactory." Paul M. Sweezy, 1970 (1942), The Theory of Capitalist Development, p. 15. New York: Modern Reader Paperbacks.
- ↑ Nobuo Okishio, 1961, "Technical Changes and the Rate of Profit," Kobe University Economic Review 7, pp. 85–99.
- ↑ "[P]hysical quantities ... suffice to determine the rate of profit (and the associated prices of production) .... [I]t follows that value magnitudes are, at best, redundant in the determination of the rate of profit (and prices of production)." "Marx’s value reasoning––hardly a peripheral aspect of his work––must therefore be abandoned, in the interest of developing a coherent materialist theory of capitalism." Ian Steedman, 1977, Marx after Sraffa, pp. 202, 207. London: New Left Books.
- ↑ "[The falling-rate-of-profit] position is rebutted in Chapter 5 by a theorem which states that ... competitive innovations result in a rising rate of profit. There seems to be no hope for a theory of the falling rate of profit within the strict confines of the environment that Marx suggested as relevant." John Roemer, Analytical Foundations of Marxian Economic Theory, p. 12. Cambridge: Cambridge Univ. Press, 1981.
- ↑ Mongiovi, Gary (2002). "Vulgar economy in Marxian garb: a critique of Temporal Single System Marxism". Review of Radical Political Economics. 34 (4): 393–416. doi:10.1177/048661340203400401. S2CID 140111679. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-06.
"Marx did make a number of errors in elaborating his theory of value and the profit rate .... [H]is would-be Temporal Single System defenders ... camouflage Marx’s errors." "Marx’s value analysis does indeed contain errors." (abstract)
- ↑ Andrew Kliman, Reclaiming Marx's "Capital", Lanham, MD: Lexington Books, p. 208, emphases in original.
- ↑ Robert M. Solow, "The Wide, Wide World of Wealth, "New York Times, March 28, 1988, excerpt (from a review of The New Palgrave: A Dictionary of Economics, 1987).
- ↑ Stigler, George J. (December 1988). "Palgrave's Dictionary of Economics". Journal of Economic Literature. American Economic Association. 26 (4): 1729–36. JSTOR 2726859.
- ↑ Baran, P. and Sweezy, P. (1966). Monopoly Capital: An essay on the American economic and social order, Monthly Review Press, New York
- ↑ Jonathan Nitzan and Shimshon Bichler. Capital as power: a study of order and creorder. Taylor & Francis, 2009, p. 50