ข้ามไปเนื้อหา

เวอร์ชัวรอยด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เวอร์ชัวรอยด์ (ญี่ปุ่น: バーチャロイド; อังกฤษ: Virtuaroid มีคำย่อว่า VR) เป็นกลุ่มของหุ่นยนต์อาวุธขนาดใหญ่ในเกมชุดเวอร์ชวลออนของบริษัทเซก้า เวอร์ชัวรอยด์ส่วนใหญ่มีรูปร่างคล้ายกับมนุษย์และจัดเป็นหุ่นยนต์แบบเรียลโรบ็อต เวอร์ชัวรอยด์ทั้งหมดที่ปรากฏตัวในเกมได้รับการออกแบบโดยฮาจิเมะ คาโทกิ และยังมีเวอร์ชัวรอยด์ซึ่งปรากฏในพลาสติกโมเดลซีรีส์ เวอร์ชัวรอยด์ยังได้ปรากฏตัวในเกมซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น อัลฟา 3 สำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 โดยมีลักษณะคล้ายกับหุ่นยนต์ที่ไม่มีนักบินและมีความคิดเป็นของตัวเอง

ลักษณะโดยทั่วไป

[แก้]

ในเกมภาคแรกได้ระบุความสูงของเวอร์ชัวรอยด์ไว้ตั้งแต่ 13 ถึง 20 เมตรและเมื่อติดตั้งอุปกรณ์แล้วจะมีน้ำหนักตั้งแต่ 11 ถึง 32 ตัน แต่ในเกมภาคต่อๆมาไม่ได้ระบุข้อมูลส่วนนี้ไว้แต่อย่างใด ในซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น อัลฟา 3 ระบุว่าเวอร์ชัวรอยด์เป็นยูนิตขนาดกลางจึงเชื่อได้ว่าเวอร์ชัวรอยด์รุ่นหลังก็ยังมีขนาดใกล้เคียงกับรุ่นแรก ในเนื้อเรื่องนั้น เวอร์ชัวรอยด์เป็นหุ่นยนต์ที่พัฒนาโดยใช้โอเวอร์เทคโนโลยี ซึ่งเวอร์ชัวรอยด์บางรุ่นจะมีความสามารถพิเศษนอกเหนือจากปกติ

วีคอนเวอเตอร์ (V converter)

เป็นแกนกลางของเวอร์ชัวรอยด์ ภายในของวีคอนเวอเตอร์ก็คือผลึกวีคริสตัลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของเวอร์ชัวรอยด์ ในการสร้างเวอร์ชัวรอยด์นั้นจะใช้การโปรแกรมข้อมูลในวีดิสก์ เมื่อใช้วีดิสก์ส่งข้อมูลไปยังวีคอนเวอเตอร์ซึ่งติดตั้งกับโครงพื้นฐานของเวอร์ชัวรอยด์ วีคอนเวอเตอร์จะสร้าง Cyber Imaginary Space (C.I.S.) จนกลายเป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่สมบูรณ์ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่ารีเวิร์สคอนเวิร์ต (reverse convert)

Mind-Shift Battle System

เรียกสั้นๆว่า M.S.B.S. เป็นระบบปฏิบัติการของเวอร์ชัวรอยด์ ซึ่ง M.S.B.S.สามารถใช้ควบคุมเวอร์ชัวรอยด์จากภายนอกได้ ในความเป็นจริงนั้น M.S.B.S.ก็คือเอนจินของเกมเวอร์ชวลออน

เนื้อเรื่อง

[แก้]

ต้นกำเนิด

[แก้]

การพัฒนาเวอร์ชัวรอยด์นั้นเริ่มจากการค้นพบซากหุ่นยนต์อาวุธขนาดใหญ่ (ต่อมาได้รับการตั้งชื่อว่าบัลบัสบาว) ในโบราณสถานบนดวงจันทร์ของบริษัทมหาอำนาจ DN ในปี Virtual Century 0084 (ระบบปฏิทินในเวอร์ชวลออน มีตัวย่อว่า V.C.และเขียนด้วยเลขฐาน 16) ซึ่งบริษัท DN ได้ศึกษาเทคโนโลยีจากบัลบัสบาวจนสามารถสร้างวีคอนเวอเตอร์ได้และพยายามซ่อมแซมบัลบัสบาวให้กลับมาใช้การได้อีกครั้ง แต่หลังจากความล้มเหลวอย่างต่อเนื่อง นักวิจัยของบริษัท DNจึงหันมาใช้วีคอนเวอเตอร์กับหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่แทน โดยออกแบบไว้เป็น XMU-04-C โปรโตเทมจิน และ XMU-05B โปรโตไรเดน

ในเวลาต่อมาได้มีการดัดแปลงหุ่นยนต์ทั้งสองเป็นอาวุธสงครามเพื่อหาเงินทุนสนับสนุนให้มากขึ้น แม้ว่าจะไม่ใช่อาวุธที่สมบูรณ์ แต่ทั้ง MBV-04 เทมจิน และ MBV-05 ไรเดนก็นับเป็นอาวุธที่พลิกโฉมการทำสงครามได้เลยทีเดียว บริษัท DNได้เปลี่ยนนโยบายจากการฟื้นสภาพของบัลบัสบาวไปเป็นการพัฒนาหุ่นยนต์สงครามที่ได้รับชื่ออย่างเป็นทางการว่าเวอร์ชัวรอยด์

ปฏิบัติการมูนเกต

[แก้]

เนื้อเรื่องของเกมภาคแรก ในปี V.C. 00a0 โบราณสถานบนดวงจันทร์ได้ทำงานเองและเตรียมยิงปืนใหญ่ โซลาร์แคนน่อนมายังโลก บริษัท DN ได้เริ่ม ปฏิบัติการมูนเกต เพื่อทำลายโซลาร์แคนน่อน เพื่อเพิ่มกำลังพลให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ บริษัท DNจึงใช้ระบบควบคุมเวอร์ชัวรอยด์จากระยะไกลด้วย M.S.B.S.มาปิดบังว่าเป็นเกมตู้และให้บริการกับสาธารณชนเพื่อหลอกให้ประชาชนทั่วไปควบคุมเวอร์ชัวรอยด์ให้ ซึ่งผู้ที่มีมีคุณสมบัติในการควบคุมเวอร์ชัวรอยด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเรียกว่า เวอร์ชวลออน โพซิทีฟ หรือ วีโอพลัส (VIRTUAL-ON positive/VO+) ฉากแรกๆของเกมเวอร์ชวลออนจะเป็นแค่สถานการณ์จำลองเพื่อวัดว่าผู้เล่นเป็นวีโอพลัสหรือไม่ จากนั้นจึงส่งการควบคุมไปยังเวอร์ชัวรอยด์เพื่อเริ่มทำการต่อสู้จริง

เวอร์ชัวรอยด์ที่ใช้ในช่วงปฏิบัติการมูนเกตนี้นับเป็นเวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่หนึ่ง

เวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สอง

[แก้]

เนื้อเรื่องของภาค โอราโทริโอ แทงแกรม แม้ว่าปฏิบัติการมูนเกตจะประสพความสำเร็จและทำลายโซลาร์แคนน่อนได้ทันเวลา ช่วงเวลาที่บริษัท DN ถูกเบนความสนใจนี้เอง สมาชิกบางส่วนของบริษัท DN ได้แยกตัวออกไปเป็นองค์กร RNA ซึ่งต่อต้านบริษัท DNด้วยวิทยาการและเงินทุนที่ทัดเทียมกัน การต่อสู้ระหว่างองค์กรทั้งสองจึงเป็นสงครามที่ดูเหมือนจะไม่มีวันสิ้นสุด จนกระทั่งสถานีหมายเลข 9 แทงแกรม ซึ่งกล่าวว่ามีพลังในการควบคุมมิติและเวลาหายสาบสูญไปอย่างลึกลับ ทั้งบริษัท DN และ RNA ได้ออกตามหาแทงแกรมเพื่อนำมาใช้ในสงครามครั้งนี้

เวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สองได้รับการพัฒนาโดยกลุ่มต่างๆทั้งฝ่าย DN และ RNA โดยส่วนใหญ่จะใช้พื้นฐานของเวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่หนึ่ง (ในเกมนั้นผู้เล่นสามารถเลือกสีของเวอร์ชัวรอยด์ที่ใช้ได้ โดยสีของผู้เล่นที่หนึ่งจะเป็นสีของ DN ส่วนสีของผู้เล่นคนที่สองจะเป็นสีของ RNA) เวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สองจะใช้ M.S.B.S.รุ่นใหม่ที่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนกว่าเดิม เช่น การพุ่งตัวกลางอากาศได้ เวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สองยังมีเกราะ วีอาเมอร์ซึ่งทำให้ทนทานกว่ารุ่นแรกมาก

เวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สาม

[แก้]

เนื้อเรื่องของเวอร์ชวลออน ฟอร์ซ และ เวอร์ชวลออน มาร์ซ เมื่อเกิดสงครามกับอาณานิคมบนดาวอังคารนั้นไม่สามารถใช้งานเวอร์ชัวรอยด์ส่วนใหญ่ได้ เนื่องจากมาร์สคริสตัลและจูปิเตอร์คริสตัลที่พบบนดาวอังคารและดาวพฤหัสนั้นได้รบกวนการทำงานของวีคริสตัลที่เป็นส่วนสำคัญของวีคอนเวอเตอร์ โดยมีเพียง MBV-707-F เทมจิน707 ซึ่งเป็นเวอร์ชัวรอยด์พื้นฐานเท่านั้นที่สามารถปฏิบัติการบนดาวอังคารได้แต่ก็มีสมรรถนะที่ลดลงมาก เวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สามจึงได้รับการพัฒนาเพื่อปฏิบัติการภายใต้การรบกวนของมาร์สคริสตัลโดยเฉพาะ เวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สามหลายรุ่นจะมีความสามารถในการต่อสู้ที่ด้อยกว่ารุ่นที่สอง (ซึ่งเป็นเหตุผลที่เวอร์ชัวรอยด์ในภาคมาร์ซและฟอร์ซมีอัตราการตอบสนองที่ช้ากว่าภาคก่อนๆ) เวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สามรุ่นแรกก็คือ ว็อกซ์ซีรีส์ซึ่งพัฒนาโดยสถานีหมายเลข 3 อแด็กซ์ เทมจิน707 ซึ่งเป็นรุ่นที่สองจำนวนมากยังได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ใช้งานบนดาวอังคารได้ดียิ่งขึ้น

เวอร์ชัวรอยด์ซีรีส์

[แก้]

เทมจิน

[แก้]

เวอร์ชัวรอยด์ซึ่งนับเป็นตัวเอกของเกมชุดเวอร์ชวลออน เทมจินเป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่มีความสมดุลในทุกด้าน มีความเร็วและพลังทำลายในระยะประชิดตัวในระดับสูง จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะกับผู้เล่นทั้งมือใหม่และผู้มีประสบการณ์ เทมจิน747J ยังเป็นหนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่ปรากฏตัวในซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น อัลฟ่า3และได้รับการพากษ์เสียงโดยอัทสึกิ ทานิ

เนื้อเรื่อง

เทมจินเป็นหนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์รุ่นแรกที่บริษัท DNพัฒนาขึ้นมา MBV-04-G เทมจินมีอาวุธหลักเป็นดาบแสงซึ่งสามารถใช้เป็นบีมไรเฟิลได้ ซึ่งเทมจินรุ่นหลังตั้งแต่ MBV-707-F เทมจิน707 ได้เปลี่ยนเป็นอาวุธที่เรียกว่า สเลปเนอร์ ซึ่งมีอานุภาพสูงขึ้นและสามารถใช้งานได้หลายรูปแบบกว่าเดิม แต่เทมจินรุ่น MBV-10/80 เทนเอตตี้ จะยังใช้ดาบแสงแบบเดิมอยู่ เทมจินรุ่นที่สาม MBV-747 เทมจิน747มีความสามารถในการติดตั้งเกราะเสริมเพื่อเพิ่มความสามารถในสถานการณ์ต่างๆได้ โดย MZV-747-J ซึ่งเป็นรุ่นมาตรฐานของหน่วย MARZ จะใช้เกราะ แอสซอล์ทอาเมอร์ ซึ่งมีน้ำหนักเบาแต่ทนทาน แต่ MZV-747-HIIจะใช้เกราะ โฮล์ดอาเมอร์ซึ่งเน้นการป้องกันและพลังทำลายในระยะไกลมากกว่าเดิม เทมจิน747ยังติดตั้ง ไมนด์บูสเตอร์ ซึ่งทำให้วีคอนเวอร์เตอร์ไม่ได้รับผลกระทบจากมาร์สคริสตัล หนึ่งในเทมจิน747รุ่นพิเศษ VR-747 Type a8 เป็นของทหารรับจ้าง ไวต์ไนท์และนับเป็นหนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่แข็งแกร่งที่สุด

ไรเดน

[แก้]

เวอร์ชัวรอยด์ที่มีจุดเด่นที่พลังทำลายในระยะไกลที่รุนแรงและพลังป้องกันในระดับสูง เนื่องจากค่อนข้างช้าจึงเป็นที่นิยมของผู้เล่นที่มีประสบการณ์มากกว่ามือใหม่

เนื้อเรื่อง

ไรเดนเป็นหนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์รุ่นแรกที่บริษัท DNพัฒนาขึ้นมา โดยเดิมทีออกแบบไว้สำหรับใช้ทำลายยานรบขณะที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก ไรเดนรุ่นแรกคือ HBV-05-E นั้นใช้ปืนเลเซอร์ติดไหล่ซึ่งเอามาจากยานรบที่ปลดระวางแล้วและสามารถยิงทำลายเป้าหมายในชั้นบรรยากาศได้จากพื้นดิน เนื่องจากมียานรบเพียง 26ลำและค่าใช้จ่ายในการสร้างไรเดนหนึ่งเครื่องนั้นเทียบได้กับเทมจิน 20เครื่อง จึงมีการผลิตไรเดนออกมาเพียง 26เครื่องเท่านั้น บริษัท DNได้พัฒนาเวอร์ชัวรอยด์ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างถูกกว่าเพื่อใช้งานแทนไรเดนคือ HBV-10-B ดอร์คัส และ SAV-07-D เบลก์ดอร์

แต่เนื่องจากไรเดนเป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในบรรดานักบินที่มีประสบการณ์ บริษัท DNจึงได้พัฒนาไรเดนต่อมาเป็น HBV-502-H8 ซึ่งใช้ปืนเลเซอร์แบบใหม่ซึ่งสามารถยิงตาข่ายพลังงานสำหรับหยุดการเคลื่อนไหวของศัตรูได้ ไรเดนรุ่นใหม่นี้ยังมีความสามารถในการถอดเกราะระหว่างการต่อสู้ ไรเดนที่ถอดเกราะออกจะถูกทำลายได้ง่ายแต่ก็มีความเร็วที่สูงกว่าเวอร์ชัวรอยด์รุ่นการขับเคลื่อนสูงอย่างเฟยเยน เดอะไนท์ ใน เวอร์ชวลออนมาร์ซ หน่วยพิเศษ SHBVD (Special Heavy Battle Virtuaroid Division) ใช้ไรเดนที่ปรับแต่งให้มีความเร็วเทียบได้กับเทมจิน707 ไรเดนรุ่นแรกๆจะใช้อาวุธมือถือเป็นปืนไฮเปอร์บาซูก้า แต่HBV-512-E ไรเดน512Eและไรเดนของหน่วย SHBVD สามารถใช้บีมกันแทนได้

ดอร์คัส/ดอร์เดรย์

[แก้]

เวอร์ชัวรอยด์ซึ่งมีพลังป้องกันสูงคล้ายกับไรเดน แต่เน้นการต่อสู้ในระยะกลางและระยะประชิดตัวมากกว่า

เนื้อเรื่อง

หนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่บริษัท DNพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทนไรเดน มีลักษณะเป็นยูนิตใช้งานอเนกประสงค์ที่มีพลังทำลายด้อยกว่าไรเดน มือซ้ายของดอร์คัสเป็นลูกตุ้มซึ่งจะมีหนามแสงสำหรับเพิ่มพลังทำลาย ลูกตุ้มนี้สามารถยิงออกไปโจมตีและควบคุมจากระยะไกลด้วยระบบ H.L.S. (Hammer Launched System) ส่วนมือขวาจะเป็นก้ามขนาดใหญ่ซึ่งยิงลูกไฟได้ ดอร์คัสมีศูนย์ถ่วงต่ำกว่าไรเดนจึงมีความคล่องตัวสูงกว่าเล็กน้อย

ในภาคโอราโทริโอ แทงแกรม RNAได้พัฒนาเวอร์ชัวรอยด์ที่ปรับปรุงมาจากดอร์คัสคือ RVR-68 ดอร์เดรย์ ซึ่งเปลี่ยนลูกตุ้มเป็นสว่านขนาดใหญ่ที่สามารถเจาะทะลวงสิ่งกีดขวางต่างๆรวมถึงวีอาเมอร์ได้ดี ก้ามที่มือขวามีระบบ H.L.S.และสามารถยิงออกไปได้เหมือนสว่าน ดอร์เดรย์มีวีอาเมอร์ที่แข็งที่สุดในบรรดาเวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สองและมีความสามารถพิเศษในการขยายร่างจนสามารถกระทืบเวอร์ชัวรอยด์ที่เป็นศัตรูได้

เวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สาม J-500 ว๊อกซ์ "โจ"มีลักษณะคล้ายกับดอร์คัส และ B-240 ว๊อกซ์ "บ็อบ"มีลักษณะคล้ายกับดอร์เดรย์

เบลก์ดอร์/วอคซีรีส์

[แก้]

เวอร์ชัวรอยด์แบบเน้นพลังทำลายในระยะไกลคล้ายกับไรเดน แต่มีความเร็วสูงกว่าและพลังป้องกันที่ด้อยกว่า

เนื้อเรื่อง

หนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่บริษัท DNพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทนไรเดน เบลก์ดอร์เป็นเวอร์ชัวรอยด์แบบยิงโจมตีระยะไกลโดยใช้วัตถุระเบิดรวมถึงมิสไซล์นำวิถีเป็นอาวุธหลัก เบลก์ดอร์มีน้ำหนักเบากว่าไรเดนและดอร์คัสจึงมีความเร็วสูงกว่า แต่เนื่องจากระบบนำวิถีของมิสไซล์ทำให้หนักช่วงบนจึงล้มง่ายกว่า ในภาคโอราโทริโอ แทงแกรม บริษัท DNได้พัฒนาเบลก์ดอร์ต่อมาเป็น SAV-326-D กริสวอค โดยใช้โครงสร้างแบบใหม่เรียกว่า USS (Unit Skeleton System) กริสวอคประกอบด้วยแกนกลางเป็นเวอร์ชัวรอยด์ขนาดเล็กซึ่งมีอาวุธเป็นปืนกลสำหรับป้องกันตัวในระยะประชิด และแขนขาเสริมซึ่งติดตั้งมิสไซล์และระเบิดแบบต่างๆไว้ ในตัวกริสวอคมีขีปนาวุธข้ามทวีปหัวรบนิวเคลียร์อยู่ด้วยจึงมีพลังทำลายที่สูงกว่าไรเดนเสียอีก ตู้ที่ใช้ MSBSเวอร์ชัน5.66 จะมี SBV-328-B สไตน์วอคซึ่งเป็นอีกรูปแบบของกริสวอคที่ใช้ปืนแสงแทนมิสไซล์

เวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สาม D-101 ว็อกซ์ "แดน" มีลักษณะคล้ายกับกริสวอค

ว็อกซ์ซีรีส์

[แก้]

ปรากฏตัวในภาคเวอร์ชวลออนฟอร์ซ ว็อกซ์ซีรีส์เป็นเวอร์ชัวรอยด์กลุ่มที่มีความหลากหลาย โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายกับดอร์เดรย์หรือวอคซีรีส์

เนื้อเรื่อง

ว็อกซ์ซีรีส์เป็นเวอร์ชัวรอยด์รุ่นที่สามกลุ่มแรก โดยใช้โครงสร้างแบบ USSของวอคซีรีส์เพื่อให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆได้ตามสถานการณ์ ซึ่งอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะใช้จำลองการทำงานของดอร์เดรย์หรือวอคซีรีส์ เวอร์ชัวรอยด์ซึ่งเป็นแกนกลางคือ L-48 ว็อกซ์ "ลี" และ L-43 ว็อกซ์ "ลู" นั้นสามารถใช้งานเป็นยูนิตเดี่ยวๆได้ แต่มีพลังในการต่อสู้ต่ำมาก

อาฟามด์

[แก้]

เวอร์ชัวรอยด์ที่มีพลังทำลายในระยะประชิดสูงสุดและมีความเร็วในระดับสูงคล้ายกับเทมจิน แต่อาวุธระยะไกลจะด้อยประสิทธิภาพกว่า ตั้งแต่ภาค โอราโทริโอ แทงแกรม อาฟามด์จะแบ่งเป็นสองแบบคือแบบดั้งเดิมที่เน้นการต่อสู้ในระยะประชิดกับแบบที่เน้นการต่อสู้ในระยะไกล อาฟามด์ เดอะแฮตเตอร์ ยังเป็นหนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่ปรากฏตัวในซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น อัลฟ่า3และได้รับการพากษ์เสียงโดยทาเคโนบุ มิตสึโยชิ

เนื้อเรื่อง

เดิมทีเป็นเวอร์ชัวรอยด์ซึ่งบริษัท DNออกแบบให้เป็นยูนิตรบหลักที่แข็งแกร่งกว่าเทมจิน โดยมีอาวุธหลักเป็นบีมทอนฟาที่มีพลังทำลายสูงกว่าดาบของเทมจิน อาฟามด์ยังมีเกราะที่แข็งแกร่งกว่าและเครื่องกำเนิดพลังงานที่มีกำลังมากกว่าจึงสามารถวิ่งได้เร็วกว่า แต่เนื่องจากอาวุธในระยะไกลมีประสิทธิภาพด้อยกว่าเทมจินจึงเหมาะกับการใช้งานแบบซุ่มโจมตีมากกว่าใช้ในการรบทั่วไปตามที่วางแผนไว้

หลังปฏิบัติการมูนเกต RNAได้พัฒนาอาฟามด์ต่อมาอีกหลายรูปแบบ ซึ่งที่มีความสำคัญก็คือ RVR-39 อาฟามด์ แบทเลอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับอาฟามด์รุ่นแรก และ RVR-33 อาฟามด์ สไตรเกอร์ ซึ่งมีอาวุธระยะไกลที่มีอานุภาพมากกว่าเดิมและเสริมเกราะให้หนาขึ้นไปอีก แต่มีความเร็วที่ลดลงและไม่มีบีมทอนฟาจึงมีพลังทำลายในระยะประชิดตัวที่ด้อยกว่า ซึ่งในรุ่นที่สามนั้นอาฟามด์ สไตรเกอร์ได้รับการพัฒนาต่อมาเป็น อาฟามด์ ไทเกอร์ ส่วนอาฟามด์ แบทเลอร์ได้รับการพัฒนาเป็น อาฟามด์ จากัวร์ซึ่งมีเกราะที่บางกว่าเดิมเพื่อให้มีความเร็วสูงขึ้นอีก อาฟามด์รุ่นที่สามที่โดดเด่นที่สุดก็คือ MVZ-36-T อาฟามด์ เดอะแฮตเตอร์ของจ่าอิซซี ฮัตเตอร์ สมาชิกหน่วย MARZ ซึ่งใช้โครงสร้างของอาฟามด์ ไทเกอร์แต่ติดบีมทอนฟาเหมือนอาฟามด์ จากัวร์

บัลซีรีส์

[แก้]

เวอร์ชัวรอยด์ที่สามารถปล่อยแขนทั้งสองข้างออกไปยิงโจมตีศัตรูเป็นเหมือนอาวุธควบคุมด้วยรีโมตจากระยะไกลได้ ตั้งแต่ภาคโอราโทริโอ แทงแกรม บัลซีรีส์จะมียูนิตอาวุธเพิ่มเป็นสี่ยูนิต ซึ่งสามารถผสานการใช้งานจนสามารถยิงอาวุธรูปแบบต่างๆกันออกมาได้มากมาย บัลซีรีส์มีความสามารถในการต่อสู้กลางอากาศในระดับสูง แต่เนื่องจากความสามารถด้านอื่นๆค่อนข้างต่ำจึงเป็นตัวละครที่ควบคุมยากที่สุด

ความสามารถในการปล่อยแขนทั้งสองข้างและลักษณะของบัลซีรีส์หลายๆรุ่นที่ไม่มีขาทำให้บัลซีรีส์คล้ายกับ MSN-02 ซีอองก์ในโมบิลสูทกันดั้ม

เนื้อเรื่อง

XBV-13-t11 บัลบัสบาว เป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่จำลองมาจากซากหุ่นยนต์ลึกลับซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเวอร์ชัวรอยด์ บัลบัสบาวเป็นเวอร์ชัวรอยด์รุ่นแรกที่ไม่มีขาแต่ใช้ระบบลอยตัวเหนือพื้น เนื่องจากเป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่ใช้เพื่อทดลองและเก็บข้อมูลจึงมีสมรรถนะไม่สเถียรนัก แขนของบัลบัสบาวเป็นยูนิตอาวุธที่เรียกว่า E.R.L. (Eject Remote Launcher) ซึ่งสามารถปล่อยออกไปยิงโจมตีศัตรูจากระยะไกลได้ ในภาคโอราโทริโอ แทงแกรม บริษัทDNได้พัฒนาบัลซีรีส์ต่อมาโดยมีส่วนขาที่แตกต่างกันตามการใช้งานและเพิ่มจำนวนของ E.R.L.เป็นสี่ยูนิต

ภาพต้นฉบับของเฟยเยนรุ่นที่สาม

ลิลินพลาจิน่าซีรีส์

[แก้]

กลุ่มของเวอร์ชัวรอยด์ซึ่งมีรูปร่างแบบผู้หญิง เวอร์ชัวรอยด์กลุ่มนี้มีความสามารถในการใช้ไฮเปอร์โหมดภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดเพื่อเพิ่มความสามารถในการต่อสู้ได้ รูปร่างของเวอร์ชัวรอยด์ในกลุ่มลิลินพลาจิน่าจะคล้ายกับตัวละครจากการ์ตูนแนวสาวน้อยเวทมนตร์ โดยเฟยเยนจะคล้ายกับสึคิโนะ อุซางิจากเรื่องเซเลอร์มูน แองเจลันจะคล้ายกับเบลดันดี้จากเรื่องโอ้!เทพธิดา และการายากะจะคล้ายกับตัวละครจากแม่มดน้อยโดเรมี เฟยเยนเดอะไนท์ยังเป็นหนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่ปรากฏตัวในซูเปอร์โรบ็อตไทเซ็น อัลฟ่า3และได้รับการพากษ์เสียงโดยชิเอโกะ ฮิกุชิ

เนื้อเรื่อง

เฟยเยนเป็นเวอร์ชัวรอยด์รุ่นแรกเพียงแบบเดียวที่ไม่ได้พัฒนาโดยบริษัทDN ผู้ที่ออกแบบเฟยเยนก็คือเด็กหญิงลิลิน พลาจิน่าซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียงสิบขวบ ลิลิน พลาจิน่าได้ติดตั้งอีโมชันแนลซิสเต็มไว้ในวีคอนเวอร์เตอร์ของยูนิตต้นแบบ VR-014 เฟยยูป หรือ ออริจินัลเฟยเยน ซึ่งได้หนีหายสาบสูญไป เฟยยูปไม่เคยปรากฏตัวในเกม แต่มีบทบาทสำคัญในภาคออดิโอดราม่าทั้งสองภาคของเวอร์ชวลออนคือ เคาเตอร์พ้อย 009เอ และ ไซเบอร์เนต ราฟโซดี้ บริษัทDNได้ใช้ข้อมูลของเฟยยูปสร้างเป็น SRV-14-A เฟยเยน วีคอนเวอร์เตอร์ของเฟยเยนมีประสิทธิภาพสูงกว่าของเวอร์ชัวรอยด์รุ่นแรกทั้งหมดจึงเป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่มีความเร็วสูงสุด อาวุธของเฟยเยนมีพลังทำลายต่ำ แต่เมื่อในสถานการณ์คับขัน อีโมชันแนลซิสเต็มจะทำงานเป็นไฮเปอร์โหมดโดยเพิ่มพลังทำลายและอัตราการยิงของอาวุธเป็นสองเท่า

ในภาคโอราโทริโอ แทงแกรม RNAได้ปรับปรุงดีไซน์ของเฟยเยนเป็น RVR-14 เฟยเยนเดอะไนท์ ซึ่งใช้อาวุธที่มีพลังทำลายมากกว่าเดิมและเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นแบบชุดบัลเลต์ ลิลิน พลาจิน่ายังได้พัฒนาเวอร์ชัวรอยด์ VR-017 ไอซ์ดอลเพื่อใช้ผนึก CVT-01 อาจิม โดยใช้รูปแบบที่ผสมกันระหว่างเทพธิดาและแม่มด ซึ่งบริษัทDNใช้รูปแบบของไอซ์ดอลผลิตเป็นเวอร์ชัวรอยด์ SGV-417-L แองเจลัน ซึ่งมีพลังในการใช้เวทมนตร์ควบคุมน้ำแข็งได้และไฮเปอร์โหมดของแองเจลันจะกางปีกแสงเหมือนเทพธิดาออกจากด้านหลัง

ในภาคฟอร์ซและภาคมาร์ซ ลิลินพลาจิน่าซีรีส์ทั้งสองก็ได้รับการพัฒนาต่อมาโดยไม่มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญนอกจากรูปร่างภายนอก โดยเฟยเยนรุ่นที่สาม TF-14A เฟยเยนวิธวิวิดฮาร์ทได้เปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นชุดเมด และลิลิน พลาจิน่าได้พัฒนา VR-11 การายากะ เพื่อใช้ผนึกบั๊กของ M.S.B.S. ยาการันเด แต่เนื่องจากการผนึกยาการันเดนั้นไม่สมบูรณ์ บางครั้งยาการันเดจะสามารถออกมาได้โดยการแปลงสภาพการายากะผ่านกระบวนการรีเวิร์สคอนเวิร์ต ซึ่งเมื่อยาการันเดออกมาแล้วจะอาละวาดทำลายทุกอย่างจนอ่อนกำลังจึงกลับสู่สภาพการายากะตามเดิม ยาการันเดยังสามารถแปลงสภาพTG-11M ซึ่งเป็นรุ่นผลิตใช้งานของการายากะได้เช่นกัน

ไวเปอร์/ไซเฟอร์/ไมเซอร์

[แก้]

เวอร์ชัวรอยด์แบบเน้นการต่อสู้กลางอากาศโดยสามารถกระโดดกลางอากาศได้อีกครั้งและเป็นตัวละครที่มีพลังทำลายในระยะไกลและความเร็วในระดับสูง แต่พลังป้องกันแย่ที่สุด

เนื้อเรื่อง

หนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่พัฒนาต่อมาจากเทมจิน โดยศาสตราจารย์ไอเซอร์แมน ผู้พัฒนาได้ปรับปรุงโครงสร้างโดยลดเกราะป้องกันลงเพื่อให้มีน้ำหนักเบาที่สุด จึงมีความเร็วสูงและสามารถลอยตัวกลางอากาศได้ดี ในการทดสอบเครื่องต้นแบบXMU-06A ไวเปอร์อัลฟ่านั้น นักบินทดสอบได้ใช้กำลังของไวเปอร์ถึงขีดสุดจนเป็นพลังงานห่อหุ้มไวเปอร์ไว้ แต่ได้เสียการควบคุมและกระแทกกับพื้นจนไวเปอร์ถูกพลังงานของตัวเองสลายไป ในรุ่นผลิตใช้งานคือ TRV-06-E ไวเปอร์ทูว์ได้แก้ไขสามารถใช้งานพลังงานนี้เป็นอาวุธได้โดยการพุ่งกระแทกเป้าหมายจากกลางอากาศ ซึ่งการโจมตีนี้ได้ชื่อว่า S.L.C.ไดฟ์ตามคำพูดก่อนตายของนักบินทดสอบของไวเปอร์อัลฟ่า "She's Lost Control!"

ในภาค โอราโทริโอ แทงแกรม ศาสตราจารย์ไอเซอร์แมนได้พัฒนาเวอร์ชัวรอยด์ที่พัฒนามาจากไวเปอร์นั่นก็คือRVR-42 ไซเฟอร์ซึ่งได้เพิ่มความสามารถในการต่อสู้กลางอากาศขึ้นอีกขั้นโดยสามารถแปลงร่างเป็นเครื่องบินได้ ในภาคฟอร์ซนั้นไซเฟอร์ได้รับการปรับปรุงไปเป็นYZR-8000 ไมเซอร์ซึ่งในภาคมาร์ซนั้นได้มีไมเซอร์รุ่นพิเศษของทหารรับจ้างกลุ่มซิสเตอร์ออฟโรส

สเปซซิเนฟ

[แก้]

เวอร์ชัวรอยด์ที่ใช้รูปร่างแบบยมทูตและมีอาวุธหลักเป็นเคียวแสงที่สามารถใช้เป็นบีมลันเชอร์ได้ ความเร็วของสเปซซิเนฟค่อนข้างช้าแต่สามารถพุ่งตัวได้เร็ว ลักษณะเด่นของสเปซซิเนฟอยู่ที่อาวุธซึ่งสามารถทำให้อาวุธของคู่ต่อสู้ไม่สามารถใช้การได้ชั่วขณะ และยังมีเดธโหมดซึ่งทำให้สเปซซิเนฟเป็นอมตะและสามารถพุ่งตัวและยิงอาวุธได้อย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าผู้เล่นที่ใช้สเปซซิเนฟไม่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ใน13วินาทีก็จะแพ้ทันที

เนื้อเรื่อง

RVR-87 สเปซซิเนฟ เวอร์ชัวรอยด์ที่ศาสตราจารย์ไอเซอร์แมนได้พัฒนาจนสมบูรณ์ในช่วง โอราโทริโอ แทงแกรม โดยใช้ EVLไบน์เดอร์ซึ่งทำให้วีคอนเวอร์เตอร์เพิ่มพลังได้จากความรู้สึกด้านลบของมนุษย์ เนื่องจาก EVLไบน์เดอร์มีผลกระทบต่อนักบินผู้ใช้งานสเปซซิเนฟอย่างรุนแรง ในภาคฟอร์ซได้มีการปรับปรุงต่อมาเป็นYZR-XIII สเปซซิเนฟ เทอร์ทีนซึ่งเน้นสมรรถนะจากเทคโนโลยีพื้นฐานมากกว่าเดิม

คาเงะคิโยะ

[แก้]

เวอร์ชัวรอยด์ที่มีรูปร่างแบบซามูไร คาเงะคิโยะเป็นตัวละครเพียงแบบเดียวในภาคฟอร์ซที่ไม่ได้ปรากฏตัวในภาคมาร์ซเลย

เนื้อเรื่อง

หนึ่งในเวอร์ชัวรอยด์ที่พัฒนาโดยศาสตราจารย์ไอเซอร์แมน ซึ่งใช้วิธีผนึกวิญญาณของนักรบซามูไรในสมัยโบราณไว้ในวีคอนเวอร์เตอร์ เวอร์ชัวรอยด์รุ่นคาเงะคิโยะจะใช้รหัสเป็นตัวอักษรคันจิแทนตัวอักษรโรมันและใช้อาวุธแบบซามูไรโบราณ

โอเมก้าซีรีส์

[แก้]

กลุ่มของเวอร์ชัวรอยด์ซึ่งเป็นบอสกลาง โอเมก้าซีรีส์เป็นเหมือนตัวละครที่มีไว้ลงโทษผู้เล่นที่ใช้กลยุทธถ่วงเวลาในฉากแรกๆโดยปล่อยให้เวลาหมดในขณะที่มีพลังชีวิตมากกว่าศัตรู ในภาคแรกนั้นผู้เล่นจะเจอกับ ยาการันเด ส่วน ในโอราโทริโอ แทงแกรมจะเจอกับ อาจิม ซึ่งในภาคฟอร์ซและมาร์ซนั้น อาจิมจะมีเกลันเป็นเพื่อนร่วมทีม ในภาคโอราโทริโอ แทงแกรม ผู้เล่นสามารถควบคุมอาจิมได้ แต่อาจิมที่ผู้เล่นควบคุมจะอ่อนแอกว่าที่เป็นบอสกลางมาก

เนื้อเรื่อง

ยาการันเดเกิดจากบั๊กของ M.S.B.S.ซึ่งจะออกมาโจมตีในขณะที่ M.S.B.S.ส่งข้อมูลไปยังเวอร์ชัวรอยด์หลังจากที่ผู้เล่นเกมผ่านระบบจำลองแล้ว โดยยาการันเดมีลักษณะคล้ายกับไรเดนที่เปลี่ยนสภาพไปอย่างมาก ในภาคฟอร์ซ ยาการันเดถูกเวอร์ชัวรอยด์ TG-11M การายากะผนึกไว้ในตัว แต่เนื่องจากการผนึกนั้นไม่สมบูรณ์ ยาการันเดจะสามารถออกมาได้โดยแปลงสภาพการายากะผ่านกระบวนการรีเวิร์สคอนเวิร์ต ในภาคแรกยาการันเดจะมีขนาดเล็กพอๆกับดอร์คัส แต่มีขนาดใหญ่มากในภาคฟอร์ซและมาร์ซ

อาจิมเป็นผลึกวีคริสตัลที่ผ่านกระบวนการรีเวิร์สคอนเวิร์ตจนเป็นเวอร์ชัวรอยด์ที่เป็นผลึกล้วนๆและมีพลังในการต่อสู้สูง ซึ่งในภาคฟอร์ซนั้นได้มี เกลันซึ่งเป็นเวอร์ชัวรอยด์ผลึกเหมือนอาจิมแต่มีรูปร่างแบบผู้หญิงเป็นคู่หูของอาจิมในการป้องกันผลึกจูปิเตอร์คริสตัล

ชาโดว์เวอร์ชัวรอยด์

[แก้]

เวอร์ชัวรอยด์ซึ่งปรากฏตัวเป็นศัตรูในภาคมาร์ซ ชาโดว์ซีรีส์จะมีรูปร่างเหมือนกับเวอร์ชัวรอยด์รุ่นปกติแต่มีสีดำลายแดง ชาโดว์เวอร์ชัวรอยด์ใช้รูปแบบการต่อสู้เหมือนเวอร์ชัวรอยด์ต้นแบบแต่มีความสามารถสูงกว่า ชาโดว์เวอร์ชัวรอยด์ตัวแรกปรากฏในโมเดลซีรีส์ วันแมนเรสคิว คือSDK/04 เทมจิน เดอะชาโดว์

เนื้อเรื่อง

ชาโดว์เวอร์ชัวรอยด์เป็นเวอร์ชัวรอยด์ซึ่งถูกไวรัสคอมพิวเตอร์ของแทงแกรมเข้าควบคุม ชาโดว์เวอร์ชัวรอยด์จะเคลื่อนไหวด้วยตัวเองและไม่สามารถควบคุมได้ กระบวนการรีเวิร์สคอนเวิร์ตทำให้สีของชาโดว์เวอร์ชัวรอยด์กลายเป็นสีดำลายแดงและมีพลังในการต่อสู้สูงกว่าเดิมมาก

รายชื่อเวอร์ชัวรอยด์

[แก้]

รายชื่อของเวอร์ชัวรอยด์แบ่งตามภาคที่ปรากฏตัวเป็นครั้งแรก

เวอร์ชัวรอยด์ที่ปรากฏตัวในเกมภาคแรก

[แก้]
  • MBV-04-E6 เทมจินรุ่นทดสอบ (เฉพาะเครื่องเซก้าแซทเทิร์น)
  • MBV-04-G เทมจิน
  • MBV-09-C อาฟามด์
  • HBV-05-D ไรเดนรุ่นทดสอบ (เฉพาะเครื่องเซก้าแซทเทิร์น)
  • HBV-05-E ไรเดน
  • HBV-10-B ดอร์คัส
  • SAV-07-D เบลก์ดอร์
  • SRV-14-A เฟยเยน
  • TRV-06K-E ไวเปอร์ทูว์
  • XBV-13-t11 บัลบัสบาว
  • ยาการันเด
  • อันออฟฟิเชียล (เฉพาะเครื่องเพลย์สเตชัน 2)

เวอร์ชัวรอยด์ที่ปรากฏตัวในโอราโทริโอ แทงแกรม

[แก้]
  • CVT-001 อาจิม
  • HBV-502-B ไรเดนรุ่นทดสอบ (เฉพาะเครื่องดรีมแคสต์)
  • HBV-502-H ไรเดน
  • MBV-04-10/80sp เทนเอตตี้ สเปเชียล (เฉพาะตู้ที่ใช้M.S.B.S. เวอร์ชัน 5.66)
  • MBV-707-A เทมจินรุ่นทดสอบ (เฉพาะเครื่องดรีมแคสต์)
  • MBV-707-F เทมจิน
  • RVR-12 อาฟามด์ คอมมานเดอร์ (เฉพาะตู้ที่ใช้M.S.B.S. เวอร์ชัน 5.66)
  • RVR-14 เฟยเยน เดอะไนท์
  • RVR-33 อาฟามด์ สไตรเกอร์
  • RVR-39 อาฟามด์ แบทเลอร์
  • RVR-42 ไซเฟอร์
  • RVR-68 ดอร์เดรย์
  • RVR-87 สเปซซิเนฟ
  • SAV-326-D กริสวอค
  • SBV-328-B สไตน์วอค (เฉพาะตู้ที่ใช้M.S.B.S. เวอร์ชัน 5.66)
  • SGV-417-L แองเจลัน
  • XBV-819 บัลซีรีส์
    • XBV-819-TM บัลบารอส
    • XBV-819-TR บัลบาดอส
    • XBV-819-TS บัลเครอส

เวอร์ชัวรอยด์ที่ปรากฏตัวในวันแมนเรสคิว

[แก้]
  • MBV-04-10/80 เทนเอตตี้
  • HBV-05-E/k2 ไรเดน เครื่องเฉพาะแดช พรอนเกอร์
  • HBV-05-F8S ไรเดน เครื่องเฉพาะมิมี ซัลเพน
  • HBV-05-SR4 ไรเดน เครื่องเฉพาะเอลเดน ริดโด
  • RVR-21 อาฟามด์ เดอะรีเวนเจอร์
  • RVR-30 อาฟามด์ ดิแอทแทคเกอร์
  • RVR-32 อาฟามด์ เดอะดิสรับเตอร์
  • RVR-62 ดอร์คัส
  • RVR-64 ไอดอร์คัส
  • SAV-07-3M/6 เบลก์ดอร์
  • SAV-07-Q เบลเมท
  • SDK/04 เทมจิน เดอะชาโดว์
  • XBV/DD-05/02 ไรเดนรุ่นต้นแบบ
  • YZR-540-SH ไวเปอร์ 540SH

เวอร์ชัวรอยด์ที่ปรากฏตัวในแฟรกเมนทารี พาสเซจ

[แก้]
  • HBV-502-H2 ไรเดน
  • LBV-314 ดิคดิค
  • MBV-331 เกมุซวอค
  • RVR-40/540TGA TGAไวเปอร์ "ชาล็อต"
  • RVR-40/540TGS TGSไวเปอร์ "เอฟลีน"
  • RVR-44/2000 ไซเฟอร์2000 "แฟร์ บิอันกา"
  • VR-004 เทมจิน
  • VR-707 เทมจิน
  • XVR/RP-07/07 เทมจิน
  • เกเบฮา

เวอร์ชัวรอยด์ที่ปรากฏตัวในเวอร์ชวลออนฟอร์ซ

[แก้]
  • HBV-512 ไรเดนซีรีส์
    • HBV-512-A
    • HBV-512-D
    • HBV-512-E1
    • HBV-512-E2
    • HBV-512-N1
    • HBV-512-N2
  • MBV-04-10/80adv เทนเอตตี้ แอดวานซ์
  • MBV-707 เทมจิน707ซีรีส์
    • MBV-707-J
    • MBV-707-J+
    • MBV-707J/c
  • MBV-747 เทมจิน747ซีรีส์
    • MBV-747-A
    • MBV-747-F
    • MBV-747-H
    • MBV-747-T
  • TA-17 แองเจลันซีรีส์
    • TA-17H แองเจลันSH
    • TA-17L แองเจลันMH
    • TA-17S แองเจลันWH
  • TF-14 เฟยเยนซีรีส์
    • TF-14A เฟยเยนวิธวิวิดฮาร์ท
    • TF-14B เฟยเยนวิธบลูฮาร์ท
    • TF-14C เฟยเยนวิธพานิคฮาร์ท
    • TF-14M เฟยเยนวิธซินเดอเรลลาฮาร์ท
  • TG-11M การายากะ
  • VOX ว็อกซ์ซีรีส์
    • VOX A-300 "เอจ"
    • VOX B-240 "บ็อบ"
    • VOX D-101 "แดน"
    • VOX D-102 "แดนนี"
    • VOX J-500 "โจ"
    • VOX J-504 "เจน"
    • VOX M-400 "มาริโกะ"
    • VOX T-400 "เท็ตสึโอะ"
    • VOX U-303 "ยูตะ"
  • YZR-8000 ไมเซอร์ซีรีส์
    • YZR-8000Δ ไมเซอร์เดลต้า
    • YZR-8000Η ไมเซอร์อีต้า
    • YZR-8000Γ ไมเซอร์แกมม่า
  • YZR-XIII สเปซซิเนฟเทอร์ทีน
    • YZR-XIII end สเปซซิเนฟเทอร์ทีน "ดิเอนด์"
    • YZR-XIII sin สเปซซิเนฟเทอร์ทีน "เดอะซิน"
    • YZR-XIII war สเปซซิเนฟเทอร์ทีน "เดอะวอร์"
  • XBV-821 บัลซีรีส์
    • XBV-821f-C บัลมิ ลันดา
    • XBV-821f-E บัลเซ ริมโซ
    • XBV-821f-S บัลเม ริโน
    • XBV-821m-A บัลบา ซิสตา
    • XBV-821m-F บัลวา ไทกรา
    • XBV-821m-N บัลดี เมโอรา
  • เกลัน
  • คาเงะคิโยะซีรีส์
    • คาเงะคิโยะ "คาเสะ"
    • คาเงะคิโยะ "ฟูมะ"
    • คาเงะคิโยะ "ฮายาชิ"
    • คาเงะคิโยะ "ฮิ"
  • อาฟามด์จากัวร์ซีรีส์
    • RVR-20-A
    • RVR-24-C
    • RVR-27-M
    • RVR-28-G
    • RVR-81-X
  • อาฟามด์ไทเกอร์ซีรีส์
    • RVR-36-F
    • RVR-62-D
    • RVR-77-B
    • RVR-77-X

เวอร์ชัวรอยด์ที่ปรากฏตัวในเวอร์ชวลออนมาร์ซ

[แก้]
  • HBV-512 ไรเดนซีรีส์
    • SVT-GFK 512E1 ไรเดน เครื่องเฉพาะหน่วย SHBVD
    • SVT-GFK 512E2 ไรเดน เครื่องเฉพาะหน่วย SHBVD
  • MBV-707 เทมจิน707ซีรีส์
    • MBV-707-J SF เทมจิน707J สเปเชียลฟอร์ซ
    • MZV-707-S
    • MZV-707-S/V
  • MBV-747 เทมจิน747ซีรีส์
    • MZV-747-A II
    • MZV-747-H II
    • MZV-747-H IIA
    • MZV-747-J
    • MZV-747-J/V
    • VR-747 เทมจิน747 แบบ a8 "ไวต์ไนท์"
  • TA-17B แองเจลันWM
  • VOX ว็อกซ์ซีรีส์
    • VOX B-242 "บ็อบทูว์"
    • VOX D-101 SF "แดน" สเปเชียลฟอร์ซ
    • VOX J-500 SF "โจ" สเปเชียลฟอร์ซ
    • VOX L-43 "ลู"
    • VOX L-48 "ลี"
  • YZR-8000 ไมเซอร์ซีรีส์
    • YZR-8001 Δ CL ไมเซอร์เดลต้าวัน "ชาล็อต"
    • YZR-8001 Δ EV ไมเซอร์เดลต้าวัน "เอฟลีน"
    • YZR-8004 Δ/R FB ไมเซอร์เดลต้าโฟว์ แบบR "แฟร์ บิอันกา"
  • อาฟามด์จากัวร์ซีรีส์
    • RVR-24-C AC อาฟามด์จากัวร์ อัลฟ่าคอมมานโด
  • อาฟามด์ไทเกอร์ซีรีส์
    • MZV-36T-H อาฟามด์ เดอะแฮตเตอร์
    • RVR-36-F AC อาฟามด์ไทเกอร์ อัลฟ่าคอมมานโด

ดูเพิ่ม

[แก้]