ข้ามไปเนื้อหา

เวสโต สลิเฟอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวสโต เมลวิน สลิเฟอร์
เกิด11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1875(1875-11-11)
มัลเบอรี่ อินดีแอนา สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969(1969-11-08) (93 ปี)
แฟลกสตัฟฟ์ แอริโซนา สหรัฐอเมริกา
สัญชาติชาวอเมริกัน
อาชีพนักดาราศาสตร์
นายจ้างหอดูดาวโลเวลล์
มีชื่อเสียงจากการขยายตัวของเอกภพ
ญาติเอิร์ล ซี. สลิเฟอร์ (น้องชาย)

เวสโต เมลวิน สลิเฟอร์ (อังกฤษ: Vesto Melvin Slipher; 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1875 – 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน[1] น้องชายของเขาคือ เอิร์ล ซี. สลิเฟอร์ ก็เป็นนักดาราศาสตร์เช่นกันและเป็นผู้อำนวยการหอดูดาวโลเวลล์[1]

สลิเฟอร์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอินดีแอนาเมื่อ ค.ศ. 1909[1] และเข้าทำงานที่หอดูดาวโลเวลล์ ที่แฟลกสตัฟฟ์ แอริโซนา ตราบจนตลอดชีวิต เขาได้เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการหอดูดาวใน ค.ศ. 1915 รักษาการผู้อำนวยการในปี 1916 และเป็นผู้อำนวยการใน ค.ศ. 1926 ตราบจนกระทั่งเกษียณอายุเมื่อ ค.ศ. 1952[1] สลิเฟอร์ใช้วิธีสเปกโตรสโกปีในการสำรวจหาคาบการหมุนของดาวเคราะห์และตรวจสอบองค์ประกอบของบรรยากาศดาวเคราะห์ เมื่อ ค.ศ. 1912 เขาเป็นคนแรกที่สังเกตพบการเคลื่อนตัวของเส้นสเปกตรัมของดาราจักร ทำให้เขาเป็นผู้ค้นพบการเคลื่อนไปทางแดงของดาราจักร[2] เขายังเป็นผู้ว่าจ้าง ไคลด์ ทอมโบ (Clyde Tombaugh) และเป็นผู้กำกับการทำงานที่นำไปสู่การค้นพบพลูโต ใน ค.ศ. 1930[1]

โดยทั่วไปมักเข้าใจกันว่า เอ็ดวิน ฮับเบิล เป็นผู้ค้นพบการเคลื่อนไปทางแดงของดาราจักร แต่อันที่จริงการตรวจวัดเช่นนี้กับการตีความได้มีการทำความเข้าใจมาก่อนแล้วตั้งแต่ ค.ศ. 1917 โดยนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวต่าง ๆ คือ เจมส์ เอ็ดเวิร์ด คีลเลอร์ (หอดูดาวลิกและหอดูดาวอัลเลเกนี) เวสโต สลิเฟอร์ (หอดูดาวโลเวลล์) และ วิลเลียม วอลเลซ แคมป์เบล (หอดูดาวลิก)

อ้างอิงและเชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Nesto Slipher, 93, Astronomer, Dies", The New York Times (ตีพิมพ์ 10 พฤศจิกายน 1969), p. 47, 9 พฤศจิกายน 1969, ISSN 0362-4331 สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2008.
  2. สลิเฟอร์รายงานการตรวจวัดปรากฏการณ์ด็อพเพลอร์นี้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1912 ในรายงาน The radial velocity of the Andromeda Nebula ซึ่งอยู่ในหนังสืออนุทินประจำหอดูดาวโลเวลล์ (Lowell Observatory Bulletin) หัวข้อ 2.56–2.57 ในรายงานของเขาได้บันทึกไว้ว่า "แม็กนิจูดของความเร็วซึ่งมีค่าสูงสุดเท่าที่เคยสังเกตมา ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าระยะห่างที่คล้ายคลึงกับความเร็วไม่น่าจะเกิดจากสาเหตุอื่น แต่ผมเชื่อว่า ณ ปัจจุบันเรายังไม่สามารถแปลความออกมาได้" สามปีต่อมา สลิเฟอร์เขียนบทรีวิวในวารสาร Popular Astronomy, Vol. 23, น. 21–24 Spectrographic Observations of Nebulae เขาระบุว่า "การค้นพบก่อนหน้านี้ว่าแขนก้นหอยของแอนดรอเมดาใหญ่ มีความเร็วที่แปลกประหลาด คือ −300 km(/s) แสดงถึงความเป็นไปได้ว่า ผลการเฝ้าสังเกตมิใช่เพียงสเปกตรัมของแขนก้นหอย แต่เป็นความเร็วของมัน" สลิเฟอร์รายงานค่าความเร็วของเนบิวลาชนิดก้นหอย 15 แห่ง ทั้งหมดได้ค่าความเร็วเป็นบวก มีเพียง 3 แห่งที่ได้ค่าตรงกันข้าม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]