เวลโคร
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โลโกทางการของเวลโคร | |
ชื่อทางการค้า | Velcro Companies[1] |
---|---|
ชื่อเดิม | Velcro SA.[2] |
ประเภท | บริษัทเอกชน |
อุตสาหกรรม | การผลิต: ระบบยึด |
ผู้ก่อตั้ง | จอร์จ เดอ เมสทรัล |
สำนักงานใหญ่ | สหราชอาณาจักร |
จำนวนที่ตั้ง | การผลิต: 7 ประเทศ[1] |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก[1] |
บุคลากรหลัก | [1] |
ผลิตภัณฑ์ | Hook-and-loop fastener และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ[1] |
ตราสินค้า | VELCRO[1] |
พนักงาน | 2,500[1] |
บริษัทในเครือ | Alfatex Group[3] |
เว็บไซต์ | www.Velcro.co.uk |
เวลโคร (อังกฤษ: Velcro)[2][4][5] มีชื่อทางการว่า Velcro IP Holdings LLC และชื่อทางการค้าว่า Velcro Companies[1] เป็นบริษัทเอกชนอังกฤษที่ก่อตั้งโดยจอร์จ เดอ เมสทรัล วิศวกรไฟฟ้าชาวสวิสในคริสต์ทตวรรษ 1950 ถือเป็นผู้ผลิตดั้งเดิมของ hook-and-loop fastener ที่เดอ เมสทรัลคิดค้นขึ้น[2] แถบสำหรับปะยึด มีลักษณะข้างหนึ่งเป็นแถบตะขอ อีกข้างหนึ่งเป็นแถบห่วง ภาษาไทยเรียกแถบชนิดนี้ว่า ตีนตุ๊กแก หรือ แถบหนามเตย
ประวัติ
[แก้]จอร์จ เดอ เมสทราล (Georges de Mestral) นักวิศวกรรมไฟฟ้าชาวสวิส คิดค้นแถบหนามเตยครั้งแรกใน ค.ศ. 1941 ขณะที่เขาเดินบนเทือกเขาแอลป์ และคิดว่าทำไมเมล็ดเบอร์ด็อกติดที่ถุงเท้าและเสื้อโค้ททำด้วยผ้าขนสัตว์ และ Milka สุนัขของเขาด้วย[2][6] เขาค้นพบว่าสิ่งนี้สามารถกลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ได้[5] เขาจดสิทธิบัตรใน ค.ศ. 1955[2][5] และภายหลังปรับปรุงและพัฒนาสิ่งนี้จนออกขายในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950
เดอ เมสทรัสตั้งชื่อมันว่า Velcro;[2][4] ซึ่งเป็นคำประสมภาษาฝรั่งเศสสองคำคือ velours ('ผ้ากำมะหยี่') กับ crochet ('ห่วง')[2][5]
ส่วนประกอบ
[แก้]เวลโคร ประกอบจากแถบ 2 ด้านคือ ด้านที่เป็นขอเกี่ยว ซึ่งเป็นแผ่นที่เต็มไปด้วยขอเกี่ยวพลาสติกเล็ก ๆ จำนวนมาก และอีกด้านที่เป็นห่วง ทำจากเส้นใยพลาสติกวงเป็นห่วงเล็ก ๆ จำนวนมาก. นอกจากนี้แล้ว เวลโครยังอาจเป็น ตะขอทั้งสองด้าน กลุ่มคนบางกลุ่มเรียกด้านทั้งสองของเวลโคร นี้ว่า "posi-cro and neg-cro" แต่ก็ไม่มีใครรู้เป็นที่แน่นอนว่าด้านไหนชื่ออะไร เมื่อด้านทั้งสองของเวลโครนี้ถูกประกบกดเข้าด้วยกัน ด้านที่เป็นขอก็จะเกี่ยวห่วงของอีกด้าน ซึ่งทำให้ด้านทั้งสองประกบติดกัน เมื่อทำการดึงด้านทั้งสองให้หลุดจากกันจะมีเสียงดังคล้ายผ้าฉีกขาด เนื่องจาก "เวลโคร" นี้เป็นชื่อจดทะเบียนทางการค้า ชื่อโดยทั่วไปที่ใช้เรียกอุปกรณ์นี้คือ "hook and loop" แต่ชื่อ "เวลโคร" นี้เป็นคำที่ได้รับความนิยมมากกว่า คนโดยทั่วไปจึงใช้คำ "เวลโคร" นี้เป็นคำติดปากใช้หมายถึงอุปกรณ์นี้โดยทั่วไป
การใช้งาน
[แก้]ความแน่นเหนียวในการเกาะติดของแถบเวลโครนี้ขึ้นอยู่กับ ลักษณะการเกาะของขอเกี่ยวว่าเข้าไปเกี่ยวห่วงได้ดีขนาดไหน และ ขึ้นอยู่กับลักษณะของแรงในการดึงจากกัน ถ้าหากแถบเวลโครนี้ใช้การยึดติดวัสดุผิวแข็งเกร็ง แรงยึดเหนี่วจะแน่นเป็นพิเศษ ทั้งนี้เนื่องมาจากลักษณะของแรงในการดึงออกนั้นจะกระจายออกอย่างสม่ำเสมอเป็นบริเวณกว้าง คือต้องดึงให้ขอเกี่ยวเป็นจำนวนมากหลุดออกพร้อมกัน ส่วนการปะติดนั้นอาจทำให้เกาะเกี่ยวได้แน่นหนาขึ้นด้วยการใช้การสั่นสะเทือนเข้าช่วย
ในทางตรงกันข้าม หากแถบเวลโครนี้ใช้ในการยึดวัสดุที่อ่อนตัว โค้งงอได้ การดึงให้แถบเวลโครหลุดจากกันก็จะง่ายขึ้น โดยเป็นการดึงในลักษณะเดียวกับการปอก หรือ ลอกออก ซึ่งเป็นการทำให้ขอเกี่ยวหลุดออกที่ละน้อย หากการดึงเป็นการดึงในลักษณะให้หลุดพร้อม ๆ กันในแนวขนานกับแถบ ก็จะต้องใช้แรงดึงมากในลักษณะเดียวกับวัสดุผิวแข็งเกร็ง
วิธีการในการเพิ่มความแน่นของการยึดเกาะด้วยเวลโคร ซึ่งมีแถบใดแถบหนึ่ง หรือทั้งสองแถบติดกับวัสดุอ่อนตัว คือ
- เพิ่มพื้นที่ของแถบเวลโคร
- ออกแบบให้แรงที่แถบเวลโครพยายึดเกาะนั้นมีแนวแรงขนานกับแถบ เช่น การออกแบบให้แถบแปะโค้งผ่านมุมหักงอ ตัวอย่างเช่น ที่ใช้กับรองเท้านั้นออกแบบให้ แถบเวลโครนั้นพันผ่านห่วงโลหะกลับมาแปะ ซึ่งทำให้แรงดึงนั้น มีแนวขนานกับแถบ
ข้อดี และ ข้อเสีย
[แก้]ข้อเสียของเวลโครคือ แถบเวลโครนี้มักจะเกาะเอาเศษผม เส้นใย และ สิ่งสกปรกต่าง ๆ มาติด และห่วงที่ใช้งานมาระยะหนึ่งนั้นมักจะยืดออก หรือ ขาด ความสามารถในการยึดเกาะก็จะลดลงตามอายุการใช้งาน นอกจากนั้นแถบเวลโครยังอาจเกี่ยวกับเสื้อผ้า ที่มีลักษณะเป็นเส้นใย และอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ในขณะดึงออก เสียงดังในขณะดึงออกจากกันนั้นทำให้เวลโครไม่เหมาะกับการใช้งานบางประเภท เช่น เสื้อผ้าและอุปกรณ์ทางการทหาร แต่เสียงดังนี้ก็มีประโยชน์ในการเตือนภัยจากการถูกล้วงกระเป๋าเช่นกัน
ความแข็งแรงในการยึดติดของแถบเวลโครนั้น ขึ้นกับพื้นที่สัมผัสของแถบทั้งสอง มีการสร้างชุดเวลโครซึ่งสามารถยึดคนให้ติดกับผนังที่ปกคลุมด้วยเวลโครนี้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 "Company Information". www.Velcro.co.uk. Velcro IP Holdings LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-25. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Stephens, Thomas (4 January 2007). "How a Swiss invention hooked the world". www.SwissInfo.ch. Swiss Broadcasting Corporation SRG SSR. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-07. สืบค้นเมื่อ 9 May 2008.
- ↑ "Alfatex Group history". www.Velcro.co.uk. Velcro IP Holdings LLC. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
- ↑ 4.0 4.1 "Velcro - Meaning of Velcro in English". www.Lexico.com. Oxford English Dictionary online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-13. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Suddath, Claire (15 June 2010). "A brief history of: Velcro". content.Time.com. TIME USA, LLC. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
- ↑ "Who Invented VELCRO® | History of VELCRO® brand and George de Mestral". www.Velcro.co.uk. Velcro IP Holdings LLC. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.