แลออนิด กุชมา
แลออนิด กุชมา | |
---|---|
Леонід Кучма | |
กุชมาใน พ.ศ. 2562 | |
ประธานาธิบดียูเครน คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 – 23 มกราคม พ.ศ. 2548 | |
ก่อนหน้า | แลออนิด เกราชุก |
ถัดไป | วิกตอร์ ยุชแชนกอ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | แลออนิด ดานือลอวึช กุชมา 9 สิงหาคม พ.ศ. 2481 แคว้นแชร์นีฮิว สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน สหภาพโซเวียต |
พรรคการเมือง | พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต |
คู่สมรส | ลยุดมือลา กุชมา |
บุตร | ออแลนา ปินชุก |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยแห่งชาติดนีปรอแปตร็อวสก์ |
ลายมือชื่อ | |
แลออนิด ดานือลอวึช กุชมา (ยูเครน: Леоні́д Дани́лович Ку́чма; 9 สิงหาคม พ.ศ. 2481 –) เป็นนักการเมืองชาวยูเครนซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียูเครนตั้งแต่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 จนถึง 23 มกราคม พ.ศ. 2548 ในสมัยที่เขาดำรงนั้นเต็มไปด้วยปัญหาการทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง รวมถึงการจำกัดเสรีภาพสื่อสารมวลชนในประเทศ[1]
เขาประสบความสำเร็จจากอาชีพการงานในอุตสาหกรรมเครื่องจักรของสหภาพโซเวียต ต่อมาเขาเริ่มเข้าสู่เส้นทางการเมืองใน พ.ศ. 2533 จากการที่เขาได้รับเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภายูเครน โดยเขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียูเครนตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2536 จนกระทั่งใน พ.ศ. 2537 เขาชนะการเลือกตั้งอีกครั้งและดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศ หลังจากนั้นเขาชนะการเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2532 ซึ่งการทุจริตนั้นพุ่งสูงขึ้นตั้งแต่ที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในสมัยแรก จนกระทั่ง พ.ศ. 2543–2544 อำนาจของเขาเริ่มเสื่อมลงจากการเผชิญหน้ากับสื่อมวลชน[2] ทั้งนี้ ในสมัยของเขาเศรษฐกิจซบเซาเป็นอย่างมาก แต่เขายังสามารถทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้บ้างใน พ.ศ. 2543 และในการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เขาเริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศรัสเซียจนดีขึ้นตามลำดับ[3]
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]เขาเกิดในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่แคว้นแชร์นีฮิว[4] เป็นบุตรของดานือลอและปารัสกา กุชมา บิดาของเขาได้รับบาดเจ็บในสงครามโลกครั้งที่สองและถึงแก่กรรมขณะที่เขาอายุได้ 4 ขวบ[5][6] ส่วนมารดาของเขาทำงานที่ฟาร์มคอลคอซ เขาเริ่มเข้าเรียนที่โรงเรียนกอสตอบอบรอแวในเขตแซแมนิวกา และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติดนีปรอแปตร็อวสก์ และสำเร็จการศึกษาใน พ.ศ. 2503[7] ในปีเดียวกันเขาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต[8]
เขาสมรสกับลยุดมือลา กุชมา ใน พ.ศ. 2510[9] มีลูกสาวคือออแลนา ปินชุก
เครื่องอิสริยาภรณ์
[แก้]- สเปน: เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน ชั้นสายสร้อย[10]
- อิตาลี: เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นประถมาภรณ์พร้อมสายสร้อย[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Profile: Leonid Kuchma". BBC. 29 October 1999.
- ↑ Adrian Karatnycky, "Ukraine's Orange Revolution," Foreign Affairs, Vol. 84, No. 2 (Mar. – Apr., 2005), pp. 35–52 in JSTOR
- ↑ Robert S. Kravchuk, "Kuchma as Economic Reformer," Problems of Post-Communism Vol. 52#5 September–October 2005, pp 48–58
- ↑ "Leonid Kuchma | president of Ukraine". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
- ↑ "single | The Jamestown Foundation". www.jamestown.org. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
- ↑ "Engology,Engineer, Leonid Kuchma - President of the Ukraine". www.engology.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-09-23. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
- ↑ "Profile: Leonid Kuchma". BBC. 2002-09-26. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
- ↑ Erlanger, Steven (1994-07-12). "UKRAINIANS ELECT A NEW PRESIDENT". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2016-01-13.
- ↑ First ladies of Ukraine เก็บถาวร 2014-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ITAR-TASS (6 June 2014)
- ↑ Bollettino Ufficiale di Stato
- ↑ Sito web del Quirinale: dettaglio decorato.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Liudmyla Shanghina, "UKRAINE IS NOT AMERICA", ราซุมคอฟ
- "Yushchenko Won the Competition of Personalities", (Kuchma's 2005 interview), วเรเมียโนโวสเต (Russia) (ในภาษารัสเซีย)