ข้ามไปเนื้อหา

เลย์ลา (วิดีโอเกม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลย์ลา
เลย์ลา
ภาพปกที่แสดงเลย์ลา (ซ้าย) และไอริส (ขวา)
ผู้พัฒนาดีบี-ซอฟต์
ผู้จัดจำหน่ายดีบี-ซอฟต์
กำกับฮิโรชิ โอโนะ
เซอิจิ มัตสึโนะ
อำนวยการผลิตนาโอโตะ ชินาดะ
เมงูมิ โยชิดะ
โปรแกรมเมอร์นาโอโตะ ชินาดะ
ฮิโรชิ โอโนะ
ยูกิฮารุ นากาจิมะ
ศิลปินเซอิจิ มัตสึโนะ
แต่งเพลงยาซูฮิโตะ ไซโต
เครื่องเล่นแฟมิลีคอมพิวเตอร์
วางจำหน่าย
แนวแอ็กชัน
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

เลย์ลา (อักษรโรมัน: Layla; คาตากานะ: レイラ) เป็นวิดีโอเกมแอ็กชันเลื่อนด้านข้างที่ผลิตโดยบริษัทดีบี-ซอฟต์ ซึ่งเปิดตัวใน ค.ศ. 1986 เฉพาะสำหรับระบบแฟมิลีคอมพิวเตอร์ (นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมเวอร์ชันญี่ปุ่น)

รูปแบบการเล่น

[แก้]

ในเรื่องราวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากซีรีส์ 2 สิงห์สาวเดอร์ตี้แพร์[1][2] เลย์ลาสมาชิกกลุ่มกองกำลังพิเศษแคตวัย 17 ปี[3] จำเป็นต้องช่วยเหลือไอริส ผู้ร่วมทีมของเธอที่ถูกลักพาตัว โดย ดร. มานิโตกะ ผู้ชั่วร้าย เกมนี้ต้องสำรวจดาวเคราะห์น้อยแปดดวงเพื่อค้นหาไอริส ซึ่งแต่ละดวงแบ่งออกเป็นสองส่วน: ส่วนแรกเกี่ยวข้องกับพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย ในขณะที่ส่วนที่สองเกี่ยวข้องกับฐานศัตรูที่แท้จริง

หน้าจอของเกมจะเลื่อนจากซ้ายไปขวาเสมอและไม่ยอมให้มีการย้อนรอยในทุกด่าน ในขณะที่นำทางผ่านภายในที่เหมือนถ้ำของดาวเคราะห์น้อย จะต้องเอาดิสก์พาสเวิร์ดคืนมา โดยในตอนท้ายของแต่ละฐานมีบอสที่ต้องกำจัด และเมื่อพลังชีวิตของผู้เล่นเป็นศูนย์ เธอจะตายและเสียหนี่งชีวิตทันที ส่วนพาสเวิร์ดจะแสดงหลังจากผู้เล่นเกมโอเวอร์เพื่อให้ผู้เล่นสามารถดำเนินการต่อได้ในภายหลัง

เกมนี้สามารถใช้ปืนได้หลายแบบนอกเหนือจากระเบิดมือ ซึ่งปืนพกเป็นอาวุธเริ่มต้นของผู้เล่น แต่สามารถหาอาวุธที่ทรงพลังกว่านี้ได้จากการสำรวจ และอาวุธทุกชนิดมีจำนวนการใช้จำกัด นอกจากนี้ บล็อกบางบล็อกสามารถทำลายได้โดยใช้อาวุธที่ผู้เล่นเลือก ซึ่งบล็อกที่ทำลายได้และทำลายไม่ได้บางครั้งก็แยกไม่ออก ส่วนด่านโบนัสที่แบ่งสรรไปทั่วทั้งเกมทำให้ผู้เล่นสามารถทำลายฝูงบินของยานข้าศึกได้ในขณะที่พวกมันไม่สามารถโจมตีได้อย่างสมบูรณ์

การตอบรับ

[แก้]

เมื่อเกมเลย์ลาได้รับการประกาศในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1986 ซึ่งเดิมกำหนดว่าจะมาในเดือนกันยายน[4] เกมดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงว่ามีวีรสตรีเป็นคนที่สองในแฟมิคอม[5] ต่อจากวาลคิรีจากเกมวาลคิรีโนะโบเค็ง: โทกิโนะคางิเด็นเซ็ตสึ (ส่วนเพศของซามุส อารัน จากเกมเมทรอยด์เป็นความลับ) อย่างไรก็ตาม ได้มีเกมที่มีตัวละครเอกเป็นผู้หญิงเพิ่มขึ้น เช่น อะธีนา, เดอะวิงออฟมาดูลา และกอลฟอร์ซ ซึ่งปรากฏในช่วงเวลาเดียวกันกับที่เปิดตัวในเดือนธันวาคมในที่สุด[6] โดยเมื่อเปิดตัว เลย์ลาได้รับ 26 คะแนนจากเต็ม 40 คะแนน (5, 7, 7, 7 คะแนน โดยนักวิจารณ์สี่คน) ในนิตยสารแฟมิซือรายสัปดาห์ ซึ่งสามคนชื่นชมความน่ารักในคำอธิบายของพวกเขา[7] ส่วนนักวิจารณ์สามคนจากมารุกัตสึ เอฟซี ให้คะแนนรวมที่ 11 จากเต็ม 15 คะแนน (4, 4, 3 คะแนน โดยนักวิจารณ์สามคน)[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • เกมเซ็นเตอร์ ซีเอกซ์ ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นที่นำเสนอเกมดังกล่าวในหนึ่งของความท้าทายช่วงฤดูกาลที่ 11

อ้างอิง

[แก้]
  1. Famicom Magazine 25 (1986/12/19).
  2. Marukatsu FC 16 (1986/12/26).
  3. Weekly Famitsu 10 (1986/10/31).
  4. Famicom Magazine (1986/06/20).
  5. High Score October 1986.
  6. 6.0 6.1 Marukatsu FC 15 (1986/12/12).
  7. Weekly Famitsu 14 (1986/12/26).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]