ข้ามไปเนื้อหา

เลนี โรเบรโด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลนี โรเบรโด
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการของเธอเมื่อปี พ.ศ. 2559
รองประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่ 14
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 – 30 มิถุนายน 2565
ประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต
ก่อนหน้าเจโจมาร์ บินาย
ถัดไปซารา ดูแตร์เต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
มาเรีย เลออนอร์ ซานโต โทมัส เจโรนา

23 เมษายน พ.ศ. 2508 (59 ปี)
นางา, คามารีเนสซูร์, ประเทศฟิลิปปินส์
พรรคการเมืองพรรคเสรีนิยม
คู่สมรสเจสซี โรเบรโด (เสียชีวิตแล้ว)
บุตร3
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแห่งชาติฟิลิปปินส์ (ศิลปศาสตรบัณฑิต)
มหาวิทยาลัยนูเอวา การ์เซอเรส (นิติศาสตรบัณฑิต)
อาชีพนักกฎหมาย
นักเคลื่อนไหวทางสังคม
นักการกุศล
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์Campaign website

มาเรีย เลออนอร์ "เลนี" โรเบรโด (ตากาล็อก: Maria Leonor "Leni" Robredo; 23 เมษายน พ.ศ. 2508 –) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวฟิลิปปินส์ ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึง พ.ศ. 2565 ทั้งนี้เธอเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดคามารีเนสซูร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2553 จนถึงปี พ.ศ. 2559

เธอชนะบองบอง มาร์กอสบุตรชายของอดีตประธานาธิบดีและเผด็จการเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ในการเลือกตั้งรองประธานาธิบดีเมื่อปี พ.ศ. 2556 ส่งผลให้เธอเป็นสตรีคนที่สองของฟิลิปปินส์ที่ดำรงตำแหน่งนี้ นอกจากนี้เธอยังดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในรัฐบาลของโรดรีโก ดูแตร์เต

ในระหว่างการดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี เธอคือจุดเริ่มต้นของโครงการ อันงัดบูฮาย ที่เน้นขจัดความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งด้านการศึกษา การสาธารณสุข และการพัฒนาชนบท รวมถึงสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศ[1] ส่งผลให้เธอได้รับรางวัลด้านสิทธิมนุษยชนจากหลายองค์กรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ[2]

ด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองของเธอที่มีจุดยืนเสรีนิยม ทำให้เธอมีความขัดแย้งกับดูแตร์แตและวิพากษ์วิจารณ์การบริหารของดูแตร์แตในหลายโอกาส ทั้งการรับมือสถานการณ์โควิด 19ที่ผิดพลาด[3] สงครามยาเสพติด[4] การปราบปรามกลุ่มก่อความไม่สงบ[5] และเธอยังเป็นแกนนำคนสำคัญที่คัดค้านการทำพิธีศพของอดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอสในสุสานวีรชน[6] ส่งผลให้เธอถูกจับกุมในปี พ.ศ. 2563[7] รวมทั้งยังถูกเป็นเป้าโจมตีของผู้เห็นต่างทางการเมืองจากเธอทางสื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง[8]

เธอเคยวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนจากการที่จีนรุกล้ำพื้นที่ในทะเลจีนใต้ด้วยการตั้งขีปนาวุธ[9] ซึ่งเป็นการละเมิดคำตัดสินของศาลอนุญาโตตุลาการถาวรว่าด้วยเรื่องข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้ ซึ่งขัดแย้งกับนโยบายทางการทูตของดูแตร์เตที่ค่อนข้างเป็นมิตรกับประเทศจีนมากกว่า[10]

ในปี พ.ศ. 2565 เธอประกาศลงสมัครประธานาธิบดีโดยจับคู่กับฟรานซิส ปางงิลินัน อดีตวุฒิสมาชิกของฟิลิปปินส์ที่ลงสมัครรองประธานาธิบดี แต่เธอได้พ่ายแพ้ให้กับบองบองซึ่งชนะเธอด้วยคะแนนที่ถล่มทลาย[11][12]

อ้างอิง[แก้]

  1. "COA gives OVP highest audit rating for third successive year". June 29, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 1, 2021. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
  2. Robredo honored as ‘outstanding woman’ in Southeast Asia
  3. Cepeda, Mara (September 3, 2021). "Robredo tempted to tell Duterte: Just let me handle pandemic response". Rappler. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2022. สืบค้นเมื่อ May 11, 2022.
  4. Cepeda, Mara (January 6, 2020). "'1 over 100': Robredo calls Duterte's drug war a 'failure'". Rappler. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2022. สืบค้นเมื่อ May 11, 2022.
  5. Cepeda, Mara (November 9, 2021). "Robredo wants to abolish Duterte's notorious anti-insurgency group". Rappler. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2022. สืบค้นเมื่อ May 11, 2022.
  6. "Robredo chides Marcos family: Why hide burial like a shameful criminal deed?". GMA News Online (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ November 7, 2018.
  7. DOJ clears Robredo, charges Trillanes in sedition case
  8. Cepeda, Mara. "Here's how Robredo debunks 'fake news' vs her". Rappler (ภาษาอังกฤษ). Rappler Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2019. สืบค้นเมื่อ March 2, 2019.
  9. "Robredo slams Beijing 'missiles' in West PH Sea". ABS-CBN News. ABS-CBN Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2019. สืบค้นเมื่อ March 2, 2019.
  10. Cruz, Moises (January 21, 2022). "Robredo: China must recognize arbitral rule first before any joint exploration deal". The Manila Times (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 21, 2022. สืบค้นเมื่อ April 26, 2022.
  11. "Final, official tally: Marcos, Duterte on top with over 31M votes each". Manila Bulletin. May 25, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 25, 2022. สืบค้นเมื่อ May 26, 2022.
  12. "Marcos Jr. officially proclaimed president-elect". CNN Philippines. May 25, 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2022. สืบค้นเมื่อ May 25, 2022.