ข้ามไปเนื้อหา

เลนส์นูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เลนส์นูน (อังกฤษ: Convex Lens) คือ เลนส์ที่มีลักษณะตรงกลางหนากว่าส่วนขอบ ทำหน้าที่รวมแสงหรือลู่แสงให้เข้ามารวมกันที่จุดจุดหนึ่งเรียกว่า จุดรวมแสง หรือ จุดโฟกัส เมื่อลำแสงผ่านขนานเข้าหาเลนส์จะทำให้รังสีพุ่งเข้าหากัน และไปตัดกันจริงที่จุดโฟกัสจริง (Real focus) [1]

เลนส์นูนสามารถให้ทั้งภาพจริงและภาพเสมือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของวัตถุ ถ้าระยะวัตถุมากกว่าความยาวโฟกัสจะเกิดภาพจริง แต่ถ้าระยะวัตถุน้อยกว่าความยาวโฟกัสจะเกิดภาพเสมือน [2]

ภาพจริงเป็นภาพที่ฉากสามารถรับได้เป็นภาพหัวกลับกับวัตถุ ส่วนภาพเสมือนเป็นภาพที่ฉากไม่สามารถรับได้ เป็นภาพหัวตั้งเหมือนวัตถุ ภาพจริงที่เกิดจากเลนส์นูนมีหลายขนาด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะวัตถุและตำแหน่งภาพจริงที่จะเกิดหลังเลนส์ ภาพเสมือนที่เกิดจากเลนส์นูนมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุและตำแหน่งภาพเสมือนจะเกิดหน้าเลนส์ [3]


ทั้งนี้ เลนส์นูนได้ถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น

  • แว่นขยาย
  • แว่นสายตายาว
  • กล้องถ่ายรูป
  • กล้องจุลทรรศน์
  • กล้องส่องทางไกล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-23. สืบค้นเมื่อ 2015-04-24.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-23. สืบค้นเมื่อ 2015-04-24.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-23. สืบค้นเมื่อ 2015-04-24.