เรื่องอื้อฉาวการทารุณทางเพศของจอห์นนี คิตะงะวะ
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาญี่ปุ่น (ตุลาคม 2023) คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ในปี 2023 มีการเปิดเผยว่า จอห์นนี คิตะงะวะ (1931–2019) ผู้ก่อตั้งบริษัทจัดหานักแสดงสัญชาติญี่ปุ่น จอห์นนีแอนด์อะโซชีเอท ได้ก่ออาชญากรรมล่วงละเมิดทางเพศหลายครั้งตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 จนถึงกลางทศวรรษ 2010 คิตาคาวะได้รับการกล่าวว่าเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในอุตสาหกรรมบันเทิงของญี่ปุ่น และมีอำนาจผูกขาดในการจัดตั้งวงบอยแบนด์ในญี่ปุ่นมานานกว่าสี่สิบปี[1] ไม่มีการฟ้องร้องคดีอาญาใดๆ ต่อคิตะงะวะ เนื่องจากสื่อญี่ปุ่นปกปิดการละเมิดสิทธิดังกล่าวโดยมิได้มีการรายงานข่าวเลย
ระหว่างปี 1988 ถึง 2000 คิตะงะวะตกเป็นเป้าหมายของข้อกล่าวหาต่าง ๆ มากมายว่าเขาใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนในการมีความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่เหมาะสมกับเด็กชายวัยรุ่นที่มีสัญญากับจอห์นนีแอนด์อะโซชีเอท คิตะงะวะปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว และในปี 2002 ศาลตัดสินให้นิตยสารชูกังบุนชุนต้องชดใช้ค่าเสียหาย 8.8 ล้านเยน ซึ่งเป็นค่าเสียหายที่สูงมาก นิตยสารได้ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งส่งผลให้การตัดสินพลิกกลับบางส่วน ศาลสูงโตเกียวได้ลดค่าเสียหายลงเหลือ 1.2 ล้านเยนโดยสรุปว่า ข้อกล่าวหาว่าคิตะงะวะบังคับให้เด็กดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นการหมิ่นประมาท แต่ข้อกล่าวหาว่าเขาแสวงหาประโยชน์ทางเพศนั้นเป็นความจริง สองปีต่อมาศาลสูงสุดปฏิเสธคำอุทธรณ์ของคิตะงะวะ คดีนี้ได้รับการรายงานน้อยมากในญี่ปุ่น โดยนักข่าวหลายคนระบุว่าเป็นผลจากอิทธิพลของคิตะงะวะที่มีต่อสื่อของประเทศ[2][3]
ในปี 2023 สี่ปีหลังจากที่เขาเสียชีวิต การล่วงละเมิดของคิตะงะวะเป็นที่รู้จักต่อสาธารณะมากขึ้นหลังจากรายงานในเดือนสิงหาคมของปีนั้น สรุปว่าเขาได้กระทำการล่วงละเมิดทางเพศตั้งแต่ต้นทศวรรษปี 1970 จนถึงกลางทศวรรษปี 2010 รวมถึงการข่มขืนเด็กชายหลายร้อยคนที่อยู่ภายใต้สัญญากับจอห์นนีแอนด์อะโซชีเอท[4][5] รายงานดังกล่าวออกมาหลังจากที่ข้อกล่าวหาเรื่องการล่วงละเมิดต่อคิตะงะวะ ได้รับความสนใจอีกครั้งหลังจากที่มีการเผยแพร่สารคดีเรื่อง "พรีเดเตอร์: เดอะซีเคร็ตสแกนดัลออฟเจป๊อบ" รวมถึงข้อกล่าวหาอื่นๆ ที่ถูกกล่าวอ้างโดยคาอุอัน โอกาโมโตะ นักดนตรีและอดีตสมาชิกวงจอห์นนีส์จูเนียร์ มีรายงานว่ามีผู้เสียหายจากกรณีดังกล่าวถึง 478 ราย โดย 325 รายเรียกร้องค่าชดเชย และมีเพียง 150 รายเท่านั้นที่ได้รับการยืนยันว่าเซ็นสัญญากับจอห์นนีแอนด์อะโซชีเอท[6] ในช่วงปลายปีนั้น ได้มีการเปิดเผยว่าบริษัทจะเปลี่ยนชื่อเป็น "สไมล์อัพ" และสิ่งใดก็ตามที่มีชื่อว่า "จอห์นนี" เช่น บริษัทที่เกี่ยวข้องและกลุ่มนักแสดง จะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อลบร่องรอยใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชื่อของคิตะงะวะออกไป
ข้อกล่าวหาในช่วงชีวิตของคิตะงะวะ
[แก้]การเรียกร้องเบื้องต้น
[แก้]ในปี 1988 โคจิ คิตะ อดีตสมาชิกของโฟร์ลีฟส์ ได้ตีพิมพ์ชุดไดอารีในชื่อ ฮิคะรุ เกนจิ เอะ (ญี่ปุ่น: Hikaru Genji e; โรมาจิ: 光Genjiへ; ทับศัพท์: Dear Hikaru Genji)[7] คิตะเขียนว่าจอห์นนี คิตะงะวะ ใช้ตำแหน่งที่มีอิทธิพลเหนือกลุ่มเพื่อล่วงละเมิดทางเพศเด็กชายที่เซ็นสัญญากับคิตะงะวะ[8][9][10] ในปี 1989 เรียว นะกะทะนิ อดีตสมาชิกจอห์นนีส์จูเนียร์ ตีพิมพ์ข้อกล่าวหาที่คล้ายคลึงกันในหนังสือของเขา จอห์นนีส์รีเวนจ์ และระบุว่าเขาถูกคิตะงะวะล่วงละเมิดทางเพศเมื่ออายุ 11 ขวบ[11] ข้อกล่าวหาที่คล้ายกันนี้ถูกกล่าวถึงในหนังสือที่ตีพิมพ์ในปี 1996 โดยจุนยุ ฮิระโมะโตะ อดีตสมาชิกจอห์นนีส์จูเนียร์ ฮิระโมะโตะกล่าวหาว่า คิตะงะวะอยู่หอพักเดียวกับศิลปินที่เขาชื่นชอบ อีกทั้งยังเคยเห็นคิตะงะวะบังคับเด็กชายคนหนึ่งให้มีเซ็กส์กับเขา[12]
ในปี 1999 นิตยสารรายสัปดาห์ ชูกังบุนชุน ได้พิมพ์ชุดบทความจำนวน 10 ตอนที่ระบุรายละเอียดข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดทางเพศมากมาย[13] ผู้กล่าวหาเป็นเด็กวัยรุ่นชายประมาณ 12 คนที่ถูกคัดเลือกเข้าองค์กรจอห์นนีแอนด์อะโซชีเอท ซึ่งให้การโดยไม่เปิดเผยชื่อ นอกจากนี้ ซีรีส์ยังกล่าวหาว่าคิตะงะวะอนุญาตให้ผู้เยาว์ในบริษัทของเขาดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่[8][14]
คดีความ
[แก้]โยชิฮิเดะ ซากาอุเอะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดการประชุมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในเดือนเมษายน 2000[9] ซากาอุเอะกล่าวว่าจากการรายงานข่าวและตอบสนองต่อคำขอจากประชาชน เขาต้องการตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐได้สอบสวนข้อร้องเรียนเกี่ยวกับคิตะงะวะอย่างถูกต้องหรือไม่[14] เจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติยอมรับว่าพวกเขาได้ทำการสอบสวนหน่วยงานของคิตะงะวะแล้ว แต่ไม่ได้ระบุว่าเกิดการล่วงละเมิดทางเพศขึ้น เจ้าหน้าที่ระบุว่าบริษัทของคิตะงะวะได้รับคำเตือนเกี่ยวกับการอนุญาตให้ผู้เยาว์ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่[9]
กระทรวงตำรวจและสวัสดิการแห่งชาติระบุว่าตามความเข้าใจของกระทรวงเกี่ยวกับกฎหมาย แม้ว่าข้อกล่าวหาต่อคิตะงะวะจะเป็นความจริง แต่การกระทำดังกล่าวไม่ถือเป็นการล่วงละเมิดเด็ก เนื่องจากคิตะงะวะไม่ใช่พ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็กชายที่เขาทำงานอยู่[9] เจ้าหน้าที่ให้การว่าทั้งเด็กชายและพ่อแม่ของพวกเขาไม่ได้ฟ้องร้องคิตะงะวะในคดีอาญา[9][7] คิตะงะวะปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดและทนายความของเขาได้ระบุว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวมาจากอดีตพนักงานที่ไม่พอใจ[9] คิตะงะวะฟ้องชูกังบุนชุนในฐานหมิ่นประมาท[12]
ภายหลังการดำเนินคดีอันยืดเยื้อ ในปี 2002 ศาลแขวงโตเกียวได้ตัดสินให้ชูกังบุนชุนต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่คิตะงะวะเป็นจำนวนเงิน 8.8 ล้านเยน ศาลพิเคราะห์ว่าบทความดังกล่าวทำให้คิตะงะวะเสื่อมเสียชื่อเสียง[8] ชูกังบุนชุนยื่นอุทธรณ์คำตัดสิน ศาลสูงโตเกียวตัดสินกลับคำพิพากษาของศาลแขวงบางส่วน โดยพิเคราะห์ว่าแม้บทความของชูกังบุนชุน ทำให้คิตะงะวะเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่เนื้อหาหมิ่นประมาทในบทความจำกัดอยู่เพียงข้อกล่าวหาที่ว่าคิตาคาวะจัดหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบให้กับผู้เยาว์เท่านั้น และชูกังบุนชุน มีสิทธิ์ที่จะตีพิมพ์ประเด็นนี้จากข้อมูลอันน่าเชื่อถือของอดีตคู่ค้าของคิตะงะวะ คิตะงะวะอุทธรณ์คำตัดสินนี้ต่อศาลสูงสุดญี่ปุ่น แต่ในปี 2004 ศาลได้ยกคำร้องนี้[7]
นอกจากชูกังบุนชุนแล้ว ไม่มีสื่อหลักของญี่ปุ่นรายใดรายงานเรื่องราวข้อกล่าวหาต่อคิตะงะวะ การพิจารณาคดีในรัฐสภา หรือคดีความของเขาเลย เดอะนิวยอร์กไทมส์ระบุว่าการไม่รายงานข่าวนี้เป็นผลมาจากอิทธิพลของคิตะงะวะที่มีต่อสื่อมวลชน[9][2][3] เมื่อชูกังบุนชุนเริ่มตีพิมพ์ซีรีส์นี้ จอห์นนีแอนด์อะโซชีเอทปฏิเสธไม่ให้นิตยสารและสื่ออื่น ๆ ที่เป็นขององค์กรแม่ เข้าถึงนักแสดง[14] ในปี 2023 หนังสือพิมพ์อะซะฮิชิมบุนคาดเดาว่าในช่วงแรกสื่อญี่ปุ่นก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับข่าวนี้มากนัก เนื่องจากในเวลานั้นผู้ชายไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเหยื่อการล่วงละเมิดทางเพศ ดังนั้น ข่าวนี้จึงถูกมองว่าเป็นเพียง "ข่าวซุบซิบ" อีกทั้งชูกังบุนชุนก็แพ้คดีในเบื้องต้นด้วย[11] นอกจากนี้ บริษัทสื่อแต่ละแห่งยังมีบุคลากรโดยเฉพาะที่ทำหน้าที่เป็น "ตัวแทน" ของจอห์นนีแอนด์อะโซชีเอท โดยจะทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างทั้งสองบริษัท ตัวแทนเหล่านี้มักเป็นแฟนของศิลปินที่มีพรสวรรค์จากบริษัทดังกล่าว[11]
ข้อกล่าวหาที่ตามมาและเรื่องอื้อฉาวในปี 2023
[แก้]หลังจากเกิดคดีความขึ้น ในปี 2005 โชโกะ คิยามะ อดีตสมาชิกจอห์นนีส์จูเนียร์ ได้ตีพิมพ์หนังสือวิจารณ์ว่าบรรดาผู้ประกาศข่าวไม่เคยรายงานกรณีของคิตะงะวะเลย และคิตะงะวะก็ไม่เคยถูกลงโทษเลยแม้จะมีข้อกล่าวหา[15]
ไม่นานหลังจากการเสียชีวิตของคิตะงะวะ ในเดือนกรกฎาคม 2019 ชูกังบุนชุนได้โพสต์ข้อกล่าวหาล่วงละเมิดทางเพศอีกครั้งจากอดีตสมาชิกจอห์นนีส์จูเนียร์ ซึ่งกล่าวหาว่าจูบแรกของเขาคือกับคิตะงะวะ และเนื่องจากเขาต่อต้านการรุกคืบของคิตะงะวะ จึงถูกผลักไสให้ไปอยู่มุมเวทีระหว่างการแสดง[16] ในเดือนมกราคม 2021 โคคิ มาเอดะ อดีตสมาชิกวงเซเวนเมนซามูไร กล่าวผ่านการสัมภาษณ์กับ อะระมะ! ญี่ปุ่น ว่าเขา "มั่นใจ" ว่ามีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างคิตาคาวะและจอห์นนีส์จูเนียร์ เพราะเขา "มีสิทธิพิเศษในการตัดสินใจว่าใครสมควรได้รับการเปิดตัว"[17] อย่างไรก็ตามเพียงไม่นานหลังจากบทสัมภาษณ์ถูกตีพิมพ์ มาเอดะก็กลับคำพูดของเขา[18][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
ในเดือนมีนาคม 2023 บีบีซีได้เผยแพร่สารคดีเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศของคิตะงะวะ ในชื่อ "พรีเดเตอร์: เดอะซีเคร็ตสแกนดัลออฟเจป๊อบ" ซึ่งบรรยายโดยโมบีน อะซาร์ หลังจากการเผยแพร่สารคดีดังกล่าว จอห์นนีแอนด์อะโซชีเอทกล่าวว่าบริษัทกำลังดำเนินการปรับ "โครงสร้างองค์กรที่โปร่งใส" ซึ่งจะประกาศในช่วงปลายปีดังกล่าว[19]
ในเดือนเมษายนปีเดียวกัน คาอุอัน โอกาโมโตะ นักดนตรีและอดีตสมาชิกวงจอห์นนีส์จูเนียร์ กล่าวในงานแถลงข่าวที่จัดขึ้นที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในญี่ปุ่น ว่าเขาถูกคิตะงะวะล่วงละเมิดทางเพศหลายครั้งระหว่างปี 2012 ถึง 2016 และเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารยอมรับความประพฤติมิชอบดังกล่าว[20] โอกาโมโตะประมาณการว่ามีเด็กชายราว 100 ถึง 200 คนได้รับเชิญไปที่บ้านของคิตะงะวะในช่วงเวลาที่เขาอยู่ที่วงนี้ และอ้างว่าเมื่อคิตะงะวะบอกแขกคนหนึ่งของเขาให้เข้านอนเร็ว ทุกคนก็รู้ว่า "ถึงตานายแล้ว"[21][22] หลังจากการแถลงข่างนี้จอห์นนีแอนด์อะโซชีเอทได้ออกแถลงการณ์โดยระบุว่า "จะดำเนินความพยายามร่วมกันต่อไปเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามข้อกำหนดอย่างทั่วถึงโดยไม่มีข้อยกเว้น และดำเนินการเพื่อเสริมสร้างระบบการกำกับดูแล" แต่บริษัทไม่ได้กล่าวถึงข้อกล่าวหานี้โดยตรง[22] ต่อมาในเดือนเดียวกัน เอ็นเอชเครายงานว่าจอห์นนีแอนด์อะโซชีเอทกำลังพูดคุยกับพนักงานและบุคลากรที่มีความสามารถของตน และได้ส่งเอกสารไปยังหุ้นส่วนทางธุรกิจโดยระบุว่าพวกเขากำลังตรวจสอบข้อกล่าวหานี้ เอกสารดังกล่าวระบุว่าบริษัทได้พิจารณาข้อกล่าวหานี้อย่างจริงจัง และจากการสืบสวนจนถึงขณะนี้ยังไม่พบกรณีการประพฤติมิชอบใด ๆ นอกจากนี้ บริษัทยังตระหนักดีว่าข้อมูลภายในบริษัทไม่เพียงพอที่จะเปิดเผยความจริง[23] หลังการแถลงข่าว เอ็นเอชเคเอ็นเอชเครายงานเรื่องการทารุณของคิตะงะวะนี้เมื่อวันที่ 13 เมษายน โดยเป็นรายงานทางโทรทัศน์ของเอ็นเอชเคครั้งแรกเกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาวดังกล่าว รายงานนี้ออกอากาศ 2 นาที ในเวลาสี่โมงเย็น[24]
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2023 จูลี เคโกะ ฟูจิชิมะ หลานสาวของคิตะงะวะและประธานบริษัทจอห์นนีแอนด์อะโซชีเอท ออกแถลงการณ์ขอโทษต่อผู้ที่กล่าวหาว่าคิตะงะวะล่วงละเมิดทางเพศ เธอเสริมว่าเธอมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ถูกกระทำโดยคิตะงะวะ[25] สองวันหลังจากที่บริษัทออกแถลงการณ์ โอกาโมโตะและยาซูชิ ฮาชิดะ อดีตสมาชิกจอห์นนีส์จูเนียร์อีกคนหนึ่ง ได้เข้าร่วมการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งจัดโดยพรรคประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ[26] ฮาชิดะบอกว่าเขาถูกทารุณกรรมทางเพศโดยคิตะงะวะประมาณสองครั้งเมื่อเขาอายุ 13 ปี[27] ทั้งฮาชิดะและโอกาโมโตะต่างยกย่องการรายงานข่าวกล่าวหาล่วงละเมิดทางเพศโดยสื่อต่างประเทศว่าเป็นสิ่งสำคัญในการปูทางไปสู่การรายงานข่าวของสื่อในประเทศ[26][28]
สามเดือนต่อมา คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้สอบสวนการทารุณของคิตะงะวะในหน่วยงาน[29][30] การสอบสวนอิสระที่จัดตั้งโดยจอห์นนีแอนด์อะโซชีเอท รายงานผลการสอบสวนเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2023 ซึ่งระบุว่าคิตะงะวะได้กระทำการล่วงละเมิดทางเพศซ้ำแล้วซ้ำเล่าตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 จนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 2010 คระกรรมการสอบสวนแนะนำให้ฟูจิชิมะลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัท อีกทั้งบริษัทต้องยอมรับข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดและหาแนวทางแก้ไข[31] เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2023 จอห์นนีแอนด์อะโซชีเอทได้จัดงานแถลงข่าวยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการทารุณของคิตะงะวะเป็นครั้งแรก[32] ฟูจิชิมะลาออก และโนริยูกิ ฮิงาชิยามะ อดีตสมาชิกของโชเน็นไต เข้ามารับตำแหน่งซีอีโอแทน[33] อย่างไรก็ตาม ฮิงาชิยามะเคยถูกกล่าวหาว่าเคยบอกให้สมาชิกจอห์นนีส์จูเนียร์ "กินไส้กรอกของผม" มาก่อน[34]
โยชิสึงุ ลูกชายของเรียวอิจิ ฮัตโตริ และโมโตยาสุ มัตสึซากิ กล่าวว่าคิตะงะวะล่วงละเมิดทางเพศพวกเขาเมื่อตอนเป็นเด็กในปี 1950[35]
ในเดือนธันวาคม 2024 เคียวเฮ อีดะ และจุนยะ ทะนะกะ อดีตสมาชิกบริษัทจัดหานักแสดง ยื่นฟ้องในเนวาดาเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการที่คิตะงะวะล่วงละเมิดพวกเขาในลาสเวกัส[36]
ควันหลง
[แก้]ในวันที่ 6 กันยายน 2023 บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ตัดสินใจลบความสำเร็จของคิตะงะวะในการผลิตเพลงยอดนิยมบนชาร์ตเพลงป็อปออกจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้ลบสถิติของเขาออกไป เนื่องจากเขาไม่เคยถูกตัดสินว่ามีความผิด[37] การตัดสินใจครั้งนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาดโดยฮิงาชิยามะ[38] บริษัทต่าง ๆ เช่น ซันโทรี และแมคโดนัลด์ ซึ่งเคยทำสัญญากับ จอห์นนีแอนด์อะโซชีเอทในการโฆษณาหรือแคมเปญส่งเสริมการขาย ตัดสินใจที่จะถอนหรือไม่ต่อสัญญากับศิลปินของจอห์นนีฯ เพื่อเป็นการตอบสนองต่อเรื่องอื้อฉาวของคิตะงะวะ ซันโตรีเรียกร้องให้มีการจัดทำแผนการป้องกันและการชดเชยให้กับเหยื่อ ซึ่งเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นในการสร้างความร่วมมือใหม่[39][40]
สำนักข่าวใหญ่หลายแห่ง เช่น เอ็นเอชเค, นิปปงทีวี, ทีวีอาซาฮิ, ทีบีเอส, ทีวีโตเกียว และฟูจิเทเลวิชัน ออกแถลงการณ์เพื่อรับทราบถึงการไม่เปิดเผยข้อมูลตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งช่วยให้การละเมิดทางเพศของ คิตะงะวะยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง[41][42][43] บุนเกอิชุนจูและโมบีน อะซาร์ ได้รับรางวัลในปี 2023 จากสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในญี่ปุ่น (เอฟซีซีเจ) สำหรับการรายงานข่าวเรื่องอื้อฉาวดังกล่าว เอฟซีซีเจเปรียบเทียบเรื่องอื้อฉาวนี้กับการลอบสังหารชินโซ อาเบะ โดยอ้างถึงการที่สื่อไม่พูดถึงการทารุณนี้เพราะการจัดการอย่างเป็นระบบโดยองค์กรที่ใกล้ชิดกับบุคคลที่ทรงอิทธิพล[44][45]
การเปลี่ยนชื่อบริษัท
[แก้]สำนักข่าวญี่ปุ่นหลายแห่งรายงานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2023 ว่าจอห์นนีแอนด์อะโซชีเอทกำลังพิจารณาจัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อบริหารจัดการนักแสดง ขณะที่จอห์นนีแอนด์อะโซชีเอทในปัจจุบันจะเปลี่ยนชื่อและดำเนินกิจการต่อไปเพื่อจุดประสงค์ในการชดเชยให้แก่เหยื่อการล่วงละเมิด นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกว่าโนริยูกิ ฮิงาชิยามะ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานบริษัทจอห์นนีแอนด์อะโซชีเอท หลังจากการลาออกของจูลี เคโกะ ฟูจิชิมะ ก็คาดว่าจะดำรงตำแหน่งหัวหน้าบริษัทแห่งใหม่นี้ด้วย[46] วันถัดมาจอห์นนีแอนด์อะโซชีเอทได้จัดงานแถลงข่าวเพื่อสรุปแผนการของพวกเขา โดยประกาศว่าพวกเขาจะเปลี่ยนชื่อบริษัทปัจจุบันเป็น "สไมล์อัพ" ซึ่งจะใช้ชื่อเดียวกับที่ใช้ในโครงการการกุศลประจำปี 2020 โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคมเป็นต้นไป[47][48][49] สไมล์อัพจะยังคงดำเนินกิจการภายใต้การเป็นดำเนินงานของฟูจิชิมะและจะปิดตัวลงเมื่อคำร้องขอค่าชดเชยจากการล่วงละเมิดทางเพศทั้งหมด ซึ่งมีจำนวน 325 คำร้อง ณ เวลาที่ประกาศนี้ ได้รับการดำเนินการแล้ว[47]
ฮิงาชิยามะกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่านักแสดงที่ทำงานภายใต้บริษัทจัดการใหม่ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ "จะมีอิสระในการเดินตามเส้นทางอาชีพของตนเองโดยไม่ถูกจำกัดหรือขึ้นอยู่กับบริษัทอีก"[47] นอกจากนี้ยังมีการประกาศด้วยว่าสิ่งใดก็ตามที่ใช้ชื่อ "จอห์นนี" เช่น บริษัทที่เกี่ยวข้องและแผนกต่างๆ ของบริษัท เช่น จอห์นนีส์ไอส์แลนด์ และเจสตรอม รวมถึงกลุ่มนักแสดง เช่น จอห์นนีส์เวสต์ และคันจานิ 8 จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อลบร่องรอยของชื่อ "จอห์นนี" ออกไป[50] ฮิงาชิยามะกล่าวว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีชื่อของจอห์นนีจะต้องถูกกำจัด" ในขณะที่ฟูจิชิมะ ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม กล่าวว่าเธอต้องการ "ลบล้างสิ่งที่เหลืออยู่ทั้งหมดของจอห์นนีออกไปจากโลกนี้" [48] ในขณะที่ในตอนแรกฮิงาชิยามะควรจะรับช่วงต่อบริษัทใหม่ แต่ในการประชุมที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ฮิงาชิยามะได้ปฏิเสธการเข้ารับตำแหน่งนี้ และอัตสึชิ ฟูกูดะ ประธานของบริษัทที่ปรึกษาสปีดดี ได้ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานคนใหม่[51]
เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2023 ได้มีการเปิดเผยว่าบริษัทบริหารศิลปินใหม่จะใช้ชื่อว่า "สตาร์โตะเอนเตอร์เทนเมนต์" ซึ่งเป็นชื่อที่ผสมคำว่า "สตาร์" กับฮิรางานะ と (โตะ) โดยคำหลังมีความหมายว่า "มุ่งไปสู่อนาคต" ชื่อของบริษัทใหม่ได้รับการตัดสินใจหลังจากพิจารณาข้อเสนอของแฟน ๆ จำนวน 140,156 ใบ ดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ฮิงาชิยามะจะเข้ามาแทนที่ฟูจิชิมะทั้งในบริษัทบริหารศิลปินแห่งใหม่ และในตำแหน่งประธานของบริษัทเดิม แต่ฮิงาชิยามะปฏิเสธบทบาทในบริษัทใหม่ ฟูกูดะได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานของสตาร์โต[52]
2024: รายงานต่อเนื่องของบีบีซี
[แก้]รายการต่อเนื่องจากบีบีซีที่ออกอากาศในปี 2024 ชื่อ "เอาเอร์เวิลด์: เดอะชาโดว์ออฟอะพรีเดเตอร์" ดำเนินต่อไปด้วยการเจาะลึกคดีที่มีการยื่นคำร้องเกือบ 1,000 คดี[53] รายการนี้มีการสัมภาษณ์พิเศษกับฮิงาชิยามะประธานคนใหม่ของสไมล์อัพ, อากิมาสะ นิฮงกิ อดีตบุคลากรจากบริษัทดูแลศิลปิน และภรรยาม่ายของเหยื่อรายหนึ่ง ในรายการ ฮิงาชิยามะยอมรับว่าเขาไม่ได้รับการฝึกอบรมหรือประสบการณ์อย่างเป็นทางการในการให้คำปรึกษาหรือช่วยเหลือผู้ที่ถูกล่วงละเมิด อย่างไรก็ตาม เขาคาดว่าหลังจากได้พูดคุยกับเหยื่อเกือบ 200 รายเป็นการส่วนตัว "... มันจะช่วยเยียวยาจิตใจพวกเขาได้แม้เพียงเล็กน้อย " สำหรับประเด็นว่ามีผู้ก่อเหตุถูกกล่าวหาเพิ่มขึ้นอีกนั้น ฮิงาชิยามะยืนยันว่าตนได้ยินมาว่ามีสองคน แต่เขาไม่ได้รายงานข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อตำรวจ ตามที่เขาพูด นั่นสอดคล้องกับเหยื่อเพื่อให้พวกเขายื่นคำร้องทางอาญา โดยให้หน่วยงานให้ความร่วมมือมากที่สุด นิฮงกิเปิดเผยข้อกล่าวหาของเขาต่อสาธารณะหลังจากเห็นเรื่องราวที่รายงานในปี 2023 เขาเชื่อว่ายังคงมีความลับบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ "ผมต้องการให้พวกเขารับผิดชอบ ผมคิดว่านี่คือคดีล่วงละเมิดทางเพศหลังสงครามที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น เราไม่ควรปล่อยให้มันหายไปราวกับว่ามันเป็นเพียงปัญหาชั่วคราว การเก็บบันทึกเรื่องราวนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นถือเป็นเรื่องสำคัญ" จากการสัมภาษณ์ภรรยาม่ายของเหยื่อรายหนึ่ง สามีของเธอถูกคุกคามทางออนไลน์และถูกขู่ฆ่าหลังจากเปิดเผยเรื่องการถูกทารุณกรรม เธอได้รับข้อความจากสามีบอกว่าเขาจะไปพักผ่อนบนภูเขา ที่นั่นเองที่หน่วยค้นหาพบศพของเขา มันสายเกินไปแล้วที่จะช่วยเขา ผลที่ตามมาประการหนึ่งของคดีนี้คือ ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรี เผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นให้ปฏิรูปกฎหมายป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ โดยเปลี่ยนอายุยินยอมในญี่ปุ่นจาก 13 ปี เป็น 16 ปี หลังจากการพ้นผิดในคดีข่มขืนหลายคดีในปี 2562 และจำนวนผู้ชายที่แจ้งความในคดีล่วงละเมิดทางเพศเพิ่มขึ้น[54][55]
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2024 สไมล์อัพได้โพสต์จดหมายที่ส่งถึงบีบีซีบนเว็บไซต์ของตนเพื่อประท้วงการกล่าวถึงคำพูดของฮิงาชิยามะ ในรายการและการสัมภาษณ์ฉบับยาว โดยระบุว่า "สิ่งที่ออกอากาศนั้นแตกต่างไปจากจุดประสงค์ที่แท้จริงของคำพูดของฮิงาชิยามะ" ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใส่ร้ายแทนที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการใส่ร้าย พวกเขายังชี้ให้เห็นถึงการขาดความเป็นมืออาชีพในการสัมภาษณ์เหยื่อในโพสต์ดังกล่าว เหยื่อเหล่านั้นได้ตกลงที่จะให้สัมภาษณ์ เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์เข้าใจคดีนี้ได้ดีขึ้น โดยตกลงว่าจะให้มีการให้สัมภาษณ์หากข้อเท็จจริงและเนื้อหาของข้อมูลไม่ได้ถูกเปิดเผยในรายการหรือในสื่ออื่น ๆ แต่เนื้อหาดังกล่าวกลับถูกเปิดเผยไม่เพียงแต่ในรายการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในงานแถลงข่าวที่จัดขึ้นที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในญี่ปุ่น โดยมีพิธีกรและผู้ผลิตรายการร่วมด้วยเมื่อสิบห้าวันก่อนหน้านั้น สไมล์อัพเรียกร้องให้มีการแก้ไขและขอโทษพฤติกรรมดังกล่าว[56][57] ต่อมาในวันที่ 3 พฤษภาคม 2024 บีบีซีโดยออกแถลงการณ์เป็นลายลักษณ์อักษรผ่านทวิตเตอร์โดยระบุว่า "สารคดีนี้ได้รับการค้นคว้าและรายงานอย่างเข้มงวดตามหลักเกณฑ์การบรรณาธิการที่เข้มงวดของบีบีซี... เรามั่นใจว่าผู้มีส่วนสนับสนุนทั้งหมด รวมถึงคุณฮิงาชิยามะ ได้รับการนำเสนออย่างยุติธรรมและถูกต้อง และรวมถึงสิทธิในการตอบกลับที่จำเป็นทั้งหมด" แถลงการณ์ยังระบุเพิ่มเติมว่า "บีบีซีไม่เห็นด้วยกับข้อจำกัดใด ๆ ในสิ่งที่สามารถหารือได้ในระหว่างการประชุมที่จัดโดยสไมล์อัพ กับผู้ที่ถูกล่วงละเมิด และปฏิเสธข้อกล่าวอ้างนี้"[58][59][60][61]
คดีความในสหรัฐอเมริกา
[แก้]ในเดือนธันวาคม 2024 อดีตศิลปิน 2 คนจากค่ายจอห์นนีแอนด์อะโซชีเอท ยื่นฟ้องสไมล์อัพและสตาร์โตะเอนเตอร์เทนเมนต์ต่อศาลในสหรัฐอเมริกา เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการฟ้องร้องครั้งแรกของเหยื่อจากคดีอื้อฉาวการล่วงละเมิดทางเพศของจอห์นนี คิตะงะวะ คดีฟ้องร้องที่ยื่นฟ้องในเทศมณฑลคลาร์ก รัฐเนวาดา โดยโจทก์ เคียวเฮ อีดะ และจุนยะ ทะนะกะ กล่าวหาว่าคิตะงะวะล่วงละเมิดทางเพศพวกเขาในโรงแรมแห่งหนึ่งที่ลาสเวกัส เมื่อทั้งสองยังเป็นวัยรุ่นในเดือนมีนาคม 1997 และเดือนสิงหาคม 2002 ตามลำดับ คดีฟ้องร้องยังกล่าวหาว่า จูลี เคโกะ ฟูจิชิมะ (หลานสาวของคิตะงะวะ) และอดีตผู้บริหารบริษัทคนอื่น ๆ ว่าทราบถึงการละเมิดดังกล่าว แต่ไม่ได้ดำเนินการที่เหมาะสม อีดะกล่าวในแถลงการณ์ว่า "การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในความตระหนักรู้ของสังคม" เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก ในขณะที่ทะนะกะกล่าวว่าเขาต้องการให้ผู้คนตระหนักว่าการพูดออกมาต่อต้านการละเมิดประเภทนี้ถูกระงับในญี่ปุ่นมานานหลายทศวรรษ[62] สไมล์อัพกล่าวตอบโต้ต่อการฟ้องร้องว่าพวกเขาจะปรึกษาหารือกับทนายความในสหรัฐ โดยเสริมว่าเชื่อว่าศาลสหรัฐไม่ควรมีเขตอำนาจศาลเหนือเรื่องดังกล่าว เนื่องจากโจทก์อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นในขณะนั้น สตาร์โตะเอนเตอร์เทนเมนต์อ้างว่าบริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้ และไม่มีเหตุผลที่พวกเขาจะถูกฟ้องร้อง[63][64] ทนายความชาวอเมริกันที่เป็นตัวแทนของทะนะกะและอีดะกล่าวกับ เอ็นเอชเคว่าคดีนี้ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายการจำกัดอายุความในรัฐเนวาดา[65]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Chris Campion (2005-08-21). "J-Pop's dream factory". The Guardian Music Observer Monthly. London (ตีพิมพ์ 21 Aug 2005). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2013. สืบค้นเมื่อ 2 Feb 2009.
- ↑ 2.0 2.1 Schilling, Mark (2019-07-18). "Johnny Kitagawa: Power, Abuse, and the Japanese Media Omerta". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 27, 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-07-29.
- ↑ 3.0 3.1 St. Michel, Patrick (2019-07-10). "Johnny Kitagawa: The mogul who defined and controlled Japan's entertainment industry". The Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.
- ↑ Daly, Rhian (2023-03-07). "Johnny Kitagawa: J-pop founder who faced decades of sexual abuse allegations". Rolling Stone UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-03-12.
- ↑ "Johnny Kitagawa's sexual abuse: Japan's worst kept secret". BBC News. 8 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2023. สืบค้นเมื่อ September 9, 2023.
- ↑ "補償請求者325人中、在籍確認は約150人 ジャニーズ性加害". Mainichi (ภาษาญี่ปุ่น). 2 October 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2023. สืบค้นเมื่อ 2 October 2023.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Mark D. West (September 15, 2008). Secrets, Sex, and Spectacle: The Rules of Scandal in Japan and the United States. University of Chicago Press. p. 210. ISBN 978-0-226-89408-9.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Chris Campion (2005-08-21). "J-Pop's dream factory". The Guardian Music Observer Monthly. London (ตีพิมพ์ 21 Aug 2005). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2013. สืบค้นเมื่อ 2 Feb 2009.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 Sims, Calvin (14 April 2000). "Lawmakers In Japan Hear Grim Sex Case". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 9, 2023. สืบค้นเมื่อ 9 March 2023.
- ↑ ญี่ปุ่น: Koji Kita; โรมาจิ: 北公次; ทับศัพท์: Kita Kōji, [Hikaru Genji e] ข้อผิดพลาด: {{Langx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ); โรมาจิ: 光Genjiへ, Publisher: ญี่ปุ่น: Data House; โรมาจิ: データハウス; ทับศัพท์: dēta hausu, December 1988
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "ジャニーズ事務所のメディアコントロール手法 「沈黙の螺旋」は破られるのか". Globe+ (ภาษาญี่ปุ่น). The Asahi Shimbun. 2023-03-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-07. สืบค้นเมื่อ 2024-03-18.
- ↑ 12.0 12.1 McCurry, Justin (23 April 2000). "Japan's star-maker accused of sexually abusing boys". The Observer. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2019. สืบค้นเมื่อ 4 Feb 2009.
- ↑ Oaten, James; Asada, Yumi (2023-03-11). "J-pop mogul Johnny Kitagawa was accused of sexually assaulting young boys in his care, but even in death, he was protected". ABC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-03-15.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Sim, Calvins (30 January 2000). "In Japan, Tarnishing a Star Maker". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 24, 2015. สืบค้นเมื่อ 9 March 2023.
- ↑ Takahara, Kanako; Benoza, Kathleen (2023-05-16). "Foreign media spotlight brought Johnny's sexual abuse claims to the fore". The Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-16. สืบค้นเมื่อ 2023-03-18.
- ↑ Motoki, Masahiko (2019-07-18). "さすが週刊文春やるねえ!ジャニー喜多川礼賛の中で元ジュニアの「性的虐待」告白・・・誘いに抵抗したらステージの隅っこ". J-Cast (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2021. สืบค้นเมื่อ 2023-03-12.
- ↑ Uhara, Tsubasa (2023-02-28). "ジャニー氏の性加害疑惑をBBCが放送へ…思い出されるジャニーズの海外記者'懐柔'劇". Nikkan Cyzo (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-10. สืบค้นเมื่อ 2023-10-10.
- ↑ Taylor, Ronald [@taylorronald] (2023-03-07). "Koki later recanted what he said, so I deleted that portion of the interview by his request, but it still lives on. Speaking of that interview, it reached Japan, and the allegations weren't really the focal point. It was more the outing of Johnny's sexuality that bothered people" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-12. สืบค้นเมื่อ 2023-03-12 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ Daly, Rhian (2023-03-07). "Johnny Kitagawa: J-pop founder who faced decades of sexual abuse allegations". Rolling Stone UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-03-12.
- ↑ "Ex-J-pop hopeful alleges sexual abuse by late music mogul Kitagawa". Kyodo News. 12 April 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023. สืบค้นเมื่อ 12 April 2023.
- ↑ Schilling, Mark (12 April 2023). "Johnny Kitagawa, Late Japanese Talent Mogul, Accused of Sexual Abuse by Former Teen Star Okamoto Kauan". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023. สืบค้นเมื่อ 12 April 2023.
- ↑ 22.0 22.1 Kageyama, Yuri (12 April 2023). "Musician Kauan Okamoto alleges talent manager assaulted him". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2023. สืบค้นเมื่อ 12 April 2023.
- ↑ "Japanese talent agency looking into alleged sexual abuse by late president". NHK World-Japan. 22 April 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2023. สืบค้นเมื่อ 22 April 2023.
- ↑ SAKISIRU編集部 (2023-04-14). "NHK、ジャニー喜多川元社長「性加害」報道も夕方枠のみ。「アリバイ作り」疑う声も". SAKISIRU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-18. สืบค้นเมื่อ 2023-04-30.
- ↑ "Johnny's head apologizes for alleged sexual abuse by late Kitagawa". Kyodo News. 14 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2023. สืบค้นเมื่อ 14 May 2023.
- ↑ 26.0 26.1 Benoza, Kathleen; Takahara, Kanako (16 May 2023). "Outside forces ultimately put Johnny's abuse into public eye". The Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2023. สืบค้นเมื่อ 16 May 2023.
- ↑ "New ex-member of Johnny's talent agency claims teenage sexual abuse". Kyodo News. 16 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 16, 2023. สืบค้นเมื่อ 16 May 2023.
- ↑ "Japan's top pop agency apologizes for alleged sexual abuse by late founder". CNN. May 16, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 19, 2023. สืบค้นเมื่อ May 19, 2023.
- ↑ "U.N. human rights group to probe Johnny's agency sex abuse scandal". The Japan Times. July 12, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 15, 2023. สืบค้นเมื่อ July 15, 2023.
- ↑ "U.N. Report Blasts Response to Johnny Kitagawa Sexual Abuse Scandal". The Hollywood Reporter. August 7, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 8, 2023. สืบค้นเมื่อ August 8, 2023.
- ↑ "Johnny's talent agency probe urges apology, aid to sex abuse victims". Kyodo News. 29 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 29, 2023. สืบค้นเมื่อ 29 August 2023.
- ↑ "EDITORIAL: Johnny's faces uphill battle as it confronts painful sex abuse history", Asahi Shimbun, 2023-09-09, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-01-09, สืบค้นเมื่อ 2024-01-09
- ↑ "Johnny's talent agency admits sexual abuse by founder, head resigns". Kyodo News. 7 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 7, 2023. สืบค้นเมื่อ 7 September 2023.
- ↑ "Johnny Kitagawa: J-pop agency's new boss Higashiyama also faces abuse allegations". BBC News. September 8, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2023. สืบค้นเมื่อ October 10, 2023.
- ↑ "Actor, 78, says Kitagawa sexually abused him as a child". The Asahi Shimbun. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2023. สืบค้นเมื่อ September 13, 2023.
- ↑ "Former Johnny & Associates entertainers file damages suit in US". December 19, 2024.
- ↑ "ギネスワールドレコーズ ステートメント", Guinness World Records, 2023-09-06, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 15, 2023, สืบค้นเมื่อ 2023-09-16
- ↑ "Guinness Deletes Johnny Kitagawa from Website; Higashiyama Calls Decision 'Wise'", Yomiuri Shimbun, 2023-09-07, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 13, 2023, สืบค้นเมื่อ 2023-09-11
- ↑ Inoue, Yukana (2023-09-12). "More companies move away from Johnny's over sex abuse scandal". The Japan Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-09-13.
- ↑ Ryall, Julian (2023-09-12). "Japan sex predator Johnny Kitagawa's talent agency faces spiralling crisis amid growing anger, advertiser boycott". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-09-13.
- ↑ Kaneko, Karin (2023-08-30), "Media respond to report on sexual abuse at Johnny and Associates", The Japan Times, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 17, 2023, สืบค้นเมื่อ 2023-09-11
- ↑ "Japanese media apologize for ignoring sex abuse by top J-pop agent". CBC News. 2023-09-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-11.
- ↑ 在京キー局が「マスメディアの沈黙」について姿勢示す…ジャニーズ事務所の会見受け声明を発表【各局全文コメント】 เก็บถาวร 2023-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน2023年9月7日 スポーツ報知
- ↑ Johnston, Eric (August 2023), "Solidarity with the voiceless", Foreign Correspondents' Club of Japan, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2023, สืบค้นเมื่อ 2023-08-21
- ↑ "Number Of Men Who Say They Were Abused By Once-Celebrated J-Pop Agent Johnny Kitagawa Now Nears 1,000". Deadline. 28 March 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2024. สืบค้นเมื่อ 28 March 2024.
- ↑ "Johnny & Associates considering setting up new firm, sources say". NHK World-Japan. 1 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2023. สืบค้นเมื่อ 1 October 2023.
- ↑ 47.0 47.1 47.2 "Johnny's to change name, create new firm to manage its performers". Kyodo News. 2 October 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2023. สืบค้นเมื่อ 2 October 2023.
- ↑ 48.0 48.1 Kageyama, Yuri (2 October 2023). "Johnny's becomes Smile-Up. Japanese music company hit with sex abuse scandal takes on a new name". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2023. สืบค้นเมื่อ 2 October 2023.
- ↑ "ジャニーズ事務所、社名「SMILE-UP.」に変更を発表 「喜多川氏と完全に決別する決意」再出発を誓う". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 2 October 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2023. สืบค้นเมื่อ 2 October 2023.
- ↑ "東山紀之社長「ジャニーズと付くものはなくなります」所属グループの名称変更を断言<会見>". Model Press (ภาษาญี่ปุ่น). 2 October 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2023. สืบค้นเมื่อ 2 October 2023.
- ↑ "SMILE―UP.「来年度の公式カレンダーは発売をしない」と発表「残念なお知らせ…心よりお詫び」". Sponichi (ภาษาญี่ปุ่น). 15 November 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2023. สืบค้นเมื่อ 15 November 2023.
- ↑ "旧ジャニーズ 新たなマネジメント会社名は『STARTO ENTERTAINMENT』と発表 社長は福田淳氏が就任". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). December 8, 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 8, 2023. สืบค้นเมื่อ December 8, 2023.
- ↑ "Our World -The Shadow of a Predator". BBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2024. สืบค้นเมื่อ 27 March 2024.
- ↑ "Number Of Men Who Say They Were Abused By Once-Celebrated J-Pop Agent Johnny Kitagawa Now Nears 1,000". Deadline. 27 March 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2024. สืบค้นเมื่อ 5 April 2024.
- ↑ "Two more abusers at J-pop predator's company". BBC. 27 March 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2024. สืบค้นเมื่อ 5 April 2024.
- ↑ "SMILE-UP.、BBCに抗議文書を送付「訂正と謝罪を要請」 東山紀之の発言「意図的にゆがめて放送」". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 25 April 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2024. สืบค้นเมื่อ 25 April 2024.
- ↑ "BBCへの抗議文書の送付について". Smile Up (ภาษาญี่ปุ่น). 25 April 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2024. สืบค้นเมื่อ 25 April 2024.
- ↑ "BBC refutes protest filed by ex-Johnny & Associates". NHK World. 4 May 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2024. สืบค้นเมื่อ 4 May 2024.
- ↑ "Tested Locally BBCNewsPRJapan/status/1786322422750441827/". Test Locally (site screenshots) (ภาษาEnglish และ Japanese). 3 May 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2024. สืบค้นเมื่อ 4 May 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Tested Locally BBCNewsPRJapan/status/1786322422750441827/". Tested Locally (site screenshots) (ภาษาEnglish และ Japanese). 3 May 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2024. สืบค้นเมื่อ 4 May 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "Tested Locally BBCNewsPRJapan/status/1786322422750441827/". Tested Locally (site screenshots) (ภาษาEnglish และ Japanese). 3 May 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2024. สืบค้นเมื่อ 4 May 2024.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "2 ex-Johnny's talent sue agency for $300 mil. in U.S. over sex abuse". Kyodo News. 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
- ↑ "旧ジャニーズ元所属タレント、性加害訴え米裁判所に提訴 SMILE-UP.「対応進める」、STARTO社「大変困惑」" (ภาษาญี่ปุ่น). Nippon News Network. 19 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 December 2024.
- ↑ "Johnny's victims seek justice in U.S. court for sexual assaults". The Asahi Shimbun. Asahi Shimbun. 20 December 2024. สืบค้นเมื่อ 20 December 2024.
- ↑ "Former Johnny & Associates entertainers file damages suit in US". NHK World-Japan. 19 December 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2024. สืบค้นเมื่อ 20 December 2024.