เรือหลวงฮูด (51)
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ประวัติเรือ | |
---|---|
ตั้งชื่อตาม | ซามูเอล ฮูด |
สั่งต่อเมื่อ | 7 เมษายน 1916 ที่บริษัท John Brown & Company |
เริ่มสร้าง | 1 กันยายน 1916 |
ปล่อยเรือลงน้ำ | 22 สิงหาคม 1918 |
ขึ้นประจำการ | 15 พฤษภาคม 1920 |
จม | 24 พฤษภาคม 1941 ในการรบกับบิสมาร์ค |
ข้อมูลเรือ | |
ระวางขับน้ำ | มาตรฐาน:41,125ตัน(ปี 1939:42,750ตัน) เต็มที่:46,880 ตัน(1939:48,650ตัน) |
ความยาวทั้งหมด | 262.3 เมตร |
ความยาวตามระดับแนวน้ำ | 259.2 เมตร |
ความกว้าง | 28.9เมตร(1939 :32.0 เมตร) |
กินน้ำลึก | 10.2 เมตร(เมื่อบรรทุกเต็มที่) |
เครื่องจักร | 4 shafts, Brown-Curtis geared steam turbines 24 Yarrow water-tube boilers |
กำลังสูงสุด | 144,000 แรงม้า(ระยะแรกที่ทำการทดสอบ:151,280 แรงม้า) |
ความเร็วสูงสุด | 29.5น๊อตส์ (ระยะแรกที่ทำการทดสอบ:32.07น๊อตส์) (1941 :28น๊อตส์) |
ระยะทำการ | 14น๊อตส์/8,900ไมล์ทะเล |
การบรรทุกเชื้อเพลิง | น้ำมันหล่อลื่นแบบเข้มข้น:1,200 ตัน(สำรอง)4,000 ตัน(เต็มที่) |
ลูกเรือ | 1,341 นาย(ปี 1940:1,421นาย) |
อาวุธประจำเรือ | (ปีที่เพิ่งสร้างเสร็จ) :
ปืนใหญ่ BL 15-นิ้ว (Mk I guns) 8 กระบอก ปืนใหญ่ BL 5.5-นิ้ว (Mk I guns) 12 กระบอก ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน QF 4-นิ้ว (Mark V anti-aircraft guns) 4 กระบอก ท่อปล่อยตอร์ปิโดขนาด 21-นิ้ว (533 mm) 6 ท่อยิง ในปี 1941 : ปืนใหญ่ BL 15-นิ้ว (381 mm) (Mk I guns) 8 กระบอก ปืนใหญ่ 4-นิ้ว (Mk XVI AA guns) 14 กระบอก ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาด 40 มม. (QF 2-pdr "pom pom" AA guns) 24 กระบอก ปืนกลขนาด 0.5-นิ้ว (12.7 มม) (Vickers machine guns) 20กระบอก ท่อยิงจรวดต่อสู้อากาศยาน 100 ท่อยิง ท่อปล่อยตอร์ปิโดขนาด 21-นิ้ว (533 mm) 4 ท่อยิง |
เกราะ | ด้านข้างตัวเรือ:305 มม(ตามระดับแนวน้ำ)178 มม(ส่วนที่1ทางดาดฟ้าเรือข้างตัวเรือ)、25~38(หัวเรือ)、75 มม(ส่วนใต้ระดับแนวน้ำ) ดาดฟ้า:51 มม(ดาดฟ้าเรือส่วนใหญ่)、51 มม(ส่วนใต้ระดับแนวน้ำลงไป) ป้อมปืนหลัก:381 มม(ทางด้านหน้า)、279~305 มม(ด้านข้าง)、178~279 มม(ด้านหลัง)、127 มม(หลังคาป้อม) ปืนใหญ่ในส่วนของบาเบต:305 มม(ส่วนบนของดาดฟ้า)、105 มม(ส่วนล่างของดาดฟ้า) สะพานเรือ:228~279 มม(ด้านข้าง) |
เรือหลวงฮูด (หมายเลข 51) เป็นเรือลาดตระเวณประจัญบานลำสุดท้ายที่กองทัพเรือสหราชอาณาจักร สร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งการก่อสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1918 ในช่วงเวลานั้นถือว่าเป็นเรือลาดตระเวณประจันบานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ชาวอังกฤษมีความภูมิใจในเรือลำนี้มากจนเรือลำนี้ถูกขนานนามว่า "Mighty Hood" (เรือรบที่ทรงอำนาจ) ชื่อเรือนั้นถูกตั้งตาม Samuel Hood ซึ่งเป็นชื่อของนายพลเรือที่มีชื่อเสียงคนนึงในราชนาวีหลวงช่วงกลางถึงปลายศตวรรษที่ 18 เรือลำนี้เป็นหนึ่งในสี่ลำของเรือลาดตระเวนประจัญบานชั้น แอดมิเริล-คลาส ที่ถูกสั่งซื้อใน ค.ศ. 1916 ตอนแรกฮูดมีการจำกัดการสร้าง แต่การออกแบบของเธอถูกเปลี่ยนแปลงหลังจาก ยุทธนาวีที่จัดแลนด์ และพัฒนาเรือลำนี้ในขณะที่กำลังถูกต่อเรือไปพร้อมๆกัน ด้วยเหตุผลประการนี้ฮูดจึงเป็นเพียงลำเดียวที่สร้างเสร็จ ถึงแม้ว่าจะมีเรือลำอื่นที่ใหม่และทันสมัยกว่าอยู่เรื่อยๆ แต่เรือลำนี้ก็ยังคงเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดของโลกหลังจากเข้าประจำการเป็นเวลา 20 ปี
เรือฮูดนั้นได้เข้าร่วมการฝึกซ้อม โบกธง ระหว่างที่เธอเข้าประจำการในปี ค.ศ. 1920 และตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประทุขึ้นในปี ค.ศ. 1939 รวมถึงการฝึกซ้อมในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและแล่นเรือไปรอบโลกร่วมกับ การล่องเรือของกองเรือรบพิเศษในปี ค.ศ. 1923 และ 1924 เธอได้เข้าร่วมกับ กองเรือเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อสงคราม อิตาลี-เอทีโอเปียครั้งที่ 2เริ่มต้นขึ้น และเมื่อสงครามกลางเมืองสเปนเริ่มต้นขึ้น ฮูดได้ถูกเข้าร่วมกองเรือเมดิเตอร์เรเนียนอย่างเป็นทางการ ซึ่งเธออยู่ที่นั่นจนถึงปี ค.ศ. 1939 เมื่อเธอกลับไปยังอังกฤษเพื่อการปรับปรุง ความสามารถทางปืนใหญ่ทหารเรือทำให้เธอมีประโยชน์น้อยลง มีการวางแผนที่จะปรับปรุงเธอครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1941 เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น แต่สงครามครามโลกครั้งที่ 2 ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1939 ทำให้เธอต้องเข้าประจำการโดยที่ไม่ได้มีการปรับปรุง
เรือลำนี้ได้เข้าประจำการใน ค.ศ.1920 ใช้ในการฝึกพิเศษ ระหว่าง ค.ศ. 1923 ในปีต่อมา เมื่อสงคราม อิตาลี - เอธิโอเปีย ปะทุ ฮูดได้เข้าร่วมกับกองเรือ เมดิเตอเรเนียน เมื่อสงครามกลางเมืองของสเปนได้ประทุ ก็ถูกเรียกกลับไปอังกฤษ เพื่อปรับปรุงพัฒนายุทโธปกรณ์ให้ทันสมัยพร้อมรบต่อไป
สงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]เรือลำนี้ใช้รบในศึกสำคัญหลายครั้ง จนครั้งสำคัญที่สุดคือ สมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่อังกฤษกับเยอรมนีปะทะในยุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์กในเดือนพฤษภาคม 1941 เรือฮูด (เรือธงกองเรือหลวงอังกฤษ) พร้อมกับเรือเรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์ (53)และเรืออื่น ๆ อีก 6 ลำ ลาดตะเวนบริเวณ แอตแลนติกเหนือได้พบเยอรมนีบริเวณนั้นพอดี จำนวน 2 ลำ คือ เรือประจันบาน บิสมาร์คและเรือลาดตระเวนหนัก ปรินซ์ ออยเกน ซึ่งเรือลาดตระเวนเยอรมันได้ลั่นกระสุนโจมตี ทำให้ปืนของฮูดติดขัด จวบกับเรือหลวงปรินซ์ออฟเวลส์(53) ปืนหลักมีปัญหา ทำให้อังกฤษเสียเปรียบมาก โดยกระสุนนัดนึงของบิสมาร์ค เข้าที่คลังแสงของฮูดทำให้ป้อมปืนระเบิด ทำให้เรือขาดครึ่งและจมในเวลาต่อมา
ผลพวงหลังจากเรือจมลง
[แก้]- เรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์ (53) ถูกปลดระวาง ชั่วคราว
- นายกรัฐมนตรีอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิลล์ได้สั่งตามล่า เรือ บิสมาร์คและหลังจากนั้นประมาณ 2-3 วันเรือ บิสมาร์คถูกเครื่องบินอังกฤษ โจมตีจนจม
อ้างอิง
[แก้]- http://www.hmshood.com/hoodtoday/2001expedition/index.htm | การสูญเสียของ ทั้งบิสมาร์ค และ ฮู้ด
- http://www.hmshood.org.uk/reference/official/adm116/adm116-4351_89to144.htm | การรายงานถึง การสูญเสียเรือ ฮู้ด
- เรือลาดตระเวนประจัญบานชั้นแอดมิรัล
- เรือลาดตระเวนประจัญบาน
- เรือลาดตระเวนประจัญบานของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร
- เรือลาดตระเวนประจัญบานในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรือในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรือในสังกัดกองทัพเรือสหราชอาณาจักร
- เรือที่ต่อในสกอตแลนด์
- เรือรบสหราชอาณาจักรในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรืออับปางในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรืออับปางในมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
- การระเบิดที่คลังกระสุนของเรือ
- ยุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์ก
- อุบัติเหตุทางทะเลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484
- การค้นพบทางโบราณคดีในปี พ.ศ. 2544