เรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถี
เรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถี (DDG) เป็นชั้นของเรือพิฆาตที่มีอาวุธหลักเป็นขีปนาวุธนำวิถีเพื่อให้สามารถป้องกันการโจมตีทางอากาศสำหรับกองเรือได้ มาตรฐานการกำหนดชื่อเรือของเนโตสำหรับเรือประเภทนี้คือ DDG[1] ขณะที่เรือพิฆาตที่มีอาวุธหลักเป็นปืนหรือมีขีปนาวุธป้องกันการโจมตีทางอากาศจำนวนเล็กน้อยเพียงพอสำหรับการป้องกันจุดเล็ก ๆ จะถูกกำหนดชื่อเป็น DD แต่ละประเทศมีการใช้การกำหนดชื่อเรือพิฆาตด้วยตัวอักษร D ในหมายเลขระบุเรือแตกต่างกันไป
เรือพิฆาตติดขีปนาวุธในปัจจุบันมักมีฐานยิงในแนวดิ่ง บางลำมีระบบอาวุธแบบบูรณาการ เช่น ระบบการรบเอจีสของสหรัฐอเมริกา[2] และอาจถูกนำไปใช้ในบทบาทป้องกันขีปนาวุธวิถีโค้งสำหรับกองทัพเรือที่ไม่ได้ใช้งานเรือลาดตระเวนอีกต่อไป นอกจากนี้เรือหลายลำยังเป็นเรืออเนกประสงค์ที่ปฏิบัติการต่อต้านเป้าหมายบนพื้นผิวด้วยขีปนาวุธพื้นสู่พื้นและปืนใหญ่เรือ และสงครามต่อต้านเรือดำน้ำด้วยตอร์ปิโดและเฮลิคอปเตอร์
เรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถีที่ใช้งานในปัจจุบัน
[แก้]- เรือพิฆาตชั้นโฮบาร์ต
- เรือพิฆาตชั้นริเวอร์ (2030s)
- เรือพิฆาตชั้นไทป์ 055
- เรือพิฆาตชั้นไทป์ 052D
- เรือพิฆาตชั้นไทป์ 052C
- เรือพิฆาตชั้นไทป์ 052B
- เรือพิฆาตชั้นไทป์ 051C
- เรือพิฆาตชั้นไทป์ 051B
- เรือพิฆาตชั้นซอฟเรเมนนี
- เรือพิฆาตชั้นคีลัง (อดีตคือชั้นคิดด์)
- เรือพิฆาตชั้นฮอร์ไรซัน
- เรือพิฆาตชั้นวิสาขะปัตนัม
- เรือพิฆาตชั้นโกลกาตา
- เรือพิฆาตชั้นเดลลี
- เรือพิฆาตชั้นราชปัก
- เรือพิฆาตชั้นดูรันด์เดอลาเพนเน
- เรือพิฆาตชั้นฮอร์ไรซัน
- เรือพิฆาตชั้นมายะ
- เรือพิฆาตชั้นอาตาโงะ
- เรือพิฆาตชั้นคงโง
- เรือพิฆาตชั้นฮาตากาเซะ
- เรือพิฆาตชั้นเซจงมหาราช
- เรือพิฆาตชั้นเคดีดีเอ็กซ์
- เรือพิฆาตชั้นไทป์ 45
- เรือพิฆาตชั้นไทป์ 83
- เรือพิฆาตชั้นซอฟเรเมนนี
- เรือพิฆาตชั้นอูดาลอย
- เรือพิฆาตชั้นอัลวาโรเดอบาซาน
- เรือพิฆาตชั้นทีเอฟ-2000
- เรือพิฆาตชั้นอาร์ลีเบิร์ก
- เรือพิฆาตชั้นซุมวอลท์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Destroyers". www.surflant.usff.navy.mil.
- ↑ "Naval Surface Force, U.S. Pacific Fleet > Ships > By Class > U.S. Navy Destroyer (Ship Class - DDG)". www.surfpac.navy.mil.