เรือบรรทุกอากาศยานชินาโนะ
ชินาโนะ ระหว่างการแล่นทดสอบในทะเลในอ่าวโตเกียว
| |
ประวัติ | |
---|---|
จักรวรรดิญี่ปุ่น | |
ชื่อ | ชินาโนะ |
ตั้งชื่อตาม | แคว้นชินาโนะ |
อู่เรือ | อู่ทหารเรือโยโกซูกะ |
ปล่อยเรือ | 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 |
เดินเรือแรก | 5 ตุลาคม ค.ศ. 1944 |
เข้าประจำการ | 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 |
ความเป็นไป | อับปางโดยเรือดำน้ำ ยูเอสเอส อาร์เชอร์-ฟิช ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 |
ลักษณะเฉพาะ | |
ชั้น: | ยามาโตะ |
ประเภท: | เรือบรรทุกอากาศยาน |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): |
65,800 ตัน[A 1] (มาตรฐาน) 69,191 ตัน (เต็มที่)[1] |
ความยาว: | 872 ฟุต 2 นิ้ว (265.8 เมตร)[1] |
ความกว้าง: |
[แนวน้ำ] 127 ฟุต 7 นิ้ว (38.9 เมตร) [ลานบิน] 131 ฟุต 3 นิ้ว (40 เมตร) |
กินน้ำลึก: | 33 ฟุต 10 นิ้ว (10.3 เมตร)[1] |
ระบบพลังงาน: | 150,000 แรงม้า (110,000 kW)[2] |
ระบบขับเคลื่อน: |
กังหันไอน้ำ × 4[1] หม้อน้ำแบบคัมปงใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง × 12[1] เพลา × 4[1] |
ความเร็ว: | 27 นอต (50 กม./ชม.)[1] |
พิสัยเชื้อเพลิง: | 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 27 นอต[1] |
อัตราเต็มที่: | 2,400 นาย[3] |
ยุทโธปกรณ์: |
16 × ปืนสองประสงค์ 127 มม. (5 นิ้ว)[3] 145 × 25 มม. (1 นิ้ว) แบบ 96 AA[3] 12 × จรวดต่อต้านอากาศยาน 28-ลำกล้อง 127 มม. (5 นิ้ว)[3] |
เกราะ: | |
อากาศยาน: | 47 ลำ |
หมายเหตุ: | ดัดแปลงเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน (หลังจากการเสียเรือบรรทุกเครื่องบินถึง 4 ลำ) |
ชินาโนะ (ญี่ปุ่น: 信濃) ได้ชื่อตามแคว้นโบราณของญี่ปุ่น ชินาโนะ เป็นเรือบรรทุกอากาศยานของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมได้รับการวางกระดูกงูเรือเป็นลำที่ 3 ในเรือประจัญบานชั้นยามาโตะ ตัวเรือที่เสร็จสมบูรณ์บางส่วนของชินะโนะถูกเปลี่ยนเป็นเรือบรรทุกอากาศยานใน ค.ศ. 1942 ระหว่างสร้างเสร็จไปได้ครึ่งหนึ่ง เป็นเวลากว่าสองปีที่ชินะโนะได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเรือบรรทุกอากาศยานสนับสนุนขนาดใหญ่ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว เรือชินะโนะมีระวางขับน้ำเต็มที่ 73,000 ตัน นับเป็นเรือบรรทุกอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ณ เวลานั้น
การออกแบบและการสร้าง
[แก้]อาวุธยุทธภัณฑ์
[แก้]การขึ้นระวางประจำการและการอับปาง
[แก้]วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 ชินะโนะได้ขึ้นระวางประจำการอย่างเป็นทางการที่เมืองโยะโกะซุกะ ซึ่งก่อนหน้านั้นมีเวลาเพียงสองสัปดาห์เพื่อเตรียมเรือประจำการและสำหรับการทดสอบเรือเล็กๆ น้อยๆ[7] โดยในวันที่ 1 ตุลาคม ลูกเรือได้รายงานต่อคณะกรรมการว่าลูกเรือร้อยละ 70 - 75 ไม่มีประสบการณ์เดินเรือในทะเลมาก่อน[8] จากความกังวลที่เพิ่มขึ้นในความปลอดภัยของเรือเนื่องมาจากมีการบินผ่านของเครื่องบินทิ้งระเบิดของสหรัฐ ดังนั้นกองทัพเรือญี่ปุ่นจึงมีคำสั่งให้ชินะโนะเดินทางไปเมืองคุเระเพื่อเตรียมเรือประจำการในส่วนที่เหลือที่นั่น[7] คำสั่งของกองทัพเรือต้องการใช้ชินะโนะออกเดินทางไปยังคุระไม่เกินวันที่ 28 พฤศจิกายน แต่ผู้บังคับการเรือ นาวาเอกโทะชิโอะ อะเบะ (Toshio Abe) ได้ร้องขอให้วันแล่นเรือยืดออกไป ประตูผนึกน้ำส่วนใหญ่ยังไม่ได้ติดตั้ง อุปกรณ์ทดสอบคุณภาพอากาศยังไม่ได้รับการจัดการ ยังมีรูจำนวนมากที่เว้นว่างไว้สำหรับสายไฟ ช่องอากาศและท่ออากาศยังไม่ได้ปิดผนึก[3] ไม่มีทั้งระบบท่อน้ำดับเพลิงและระบบระบายน้ำที่เสร็จสมบูรณ์ เช่น เครื่องสูบน้ำยังไม่ได้ส่งมอบ[8] และเขายังต้องการเวลาเพื่อฝึกลูกเรือใหม่[9]
คำขอของอะเบะถูกปฏิเสธ ชินะโนะออกเดินทางตามกำหนดการเมื่อเวลา 18:00 น. ในวันที่ 28 พฤศจิกายน โดยมีเรือพิฆาต อิโซะกะเซะ (Isokaze) ยุจิกะเซะ (Yukikaze) และ ฮะมะกะเซะ (Hamakaze) เป็นเรือคุ้มกัน
การวิเคราะห์เรื่องการอับปางหลังสงคราม
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อPreston84
- ↑ Ford, Roger (2001) The Encyclopedia of Ships, pg. 404. Amber Books, London. ISBN 9781905704439
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อShinanoClass
- ↑ Ford, Roger (2001) The Encyclopedia of Ships, pg. 404. Amber Books, London. ISBN 9781905704439
- ↑ Ford, Roger (2001) The Encyclopedia of Ships, pg. 404. Amber Books, London. ISBN 9781905704439
- ↑ Ford, Roger (2001) The Encyclopedia of Ships, pg. . Amber Books, London. ISBN 9781905704439
- ↑ 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อcfrecord
- ↑ 8.0 8.1 Battleships: axis and neutral battleships in World War II, William H. Garzke and Robert O. Dulin, Naval Institute Press 1985, ISBN 087-021-101-3, pages 78–84
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSeaAssault
- Preston, Anthony (1999). The World's Great Aircraft Carriers. Brown Books. ISBN 1897884583.
- "Reports of the US Naval Technical Mission to Japan, Ship and Related Targets" (PDF). United States Naval Technical Institute. January 1946. สืบค้นเมื่อ 2009-01-28.
- Reynolds, Clark G. (1968). The Fast Carriers; The Forging of an Air Navy. New York, Toronto, London, Sydney: McGraw-Hill Book Company.
- Wheeler, Keith (1980). War Under the Pacific. Time-Life Books. ISBN 0809433761.
- Enright, Joseph F.; Ryan, James W. (2000). Shinano: The Sinking of Japan's Secret Supership. St. Martin's Paperbacks. ISBN 0312977468.
- Ford, Roger; Gibbons, Tony; Hewson, Rob; Jackson, Bob; Ross, David (2001). The Encyclopedia of Ships. London: Amber Books, Ltd. p. 404. ISBN 978-1-905704-43-9.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เรือรบญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรือประจัญบานชั้นยามาโตะ
- เรือบรรทุกอากาศยาน
- เรือบรรทุกอากาศยานในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรือบรรทุกอากาศยานของกองทัพเรือญี่ปุ่น
- เรือบรรทุกอากาศยานของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น
- เรือที่ต่อในญี่ปุ่น
- เรือที่ต่อโดยอู่ทหารเรือโยโกซูกะ
- เรืออับปางในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรืออับปางในมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรือที่ถูกจมโดยเรือดำน้ำสหรัฐ
- เรือในสงครามโลกครั้งที่สอง