ข้ามไปเนื้อหา

เรือดำน้ำญี่ปุ่น อิ-58 (ค.ศ. 1943)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิ-58 ในปี ค.ศ. 1944
ประวัติ
จักรวรรดิญี่ปุ่น
ชื่ออิ-58
อู่เรืออู่ทหารเรือโยโกซูกะ
ปล่อยเรือ26 ธันวาคม ค.ศ. 1942
เดินเรือแรก9 ตุลาคม ค.ศ. 1943
สร้างเสร็จ7 กันยายน ค.ศ. 1944
ความเป็นไปแยกชิ้นส่วนในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1946
ลักษณะเฉพาะ [1]
ชั้น: เรือดำน้ำแบบบี 3
ขนาด (ระวางขับน้ำ):
  • 2140 ตันบนผิวน้ำ
  • 3688 ตันตอนดำน้ำ
ความยาว: 108.7 เมตร
ความกว้าง: 9.3 เมตร
กินน้ำลึก: 5.18 เมตร
ระบบขับเคลื่อน:
  • เครื่องยนต์ดีเซล 4,700 แรงม้า (3,500 กิโลวัตต์) จำนวน 2 เครื่อง
  • มอเตอร์ไฟฟ้า 1,200 แรงม้า (890 กิโลวัตต์) จำนวน 2 เครื่อง
ความเร็ว:
  • 17.75 นอต บนผิวน้ำ
  • 6.5 นอต ตอนดำน้ำ
  • พิสัยเชื้อเพลิง:
  • 21,000 ไมล์ทะเล ที่ 16 นอต บนผิวน้ำ
  • 105 ไมล์ทะเล ที่ 3 นอต ตอนดำน้ำ
  • ทดสอบความลึก: 100 เมตร
    จำนวนเรือและอากาศยาน: ตอร์ปิโดมนุษย์ ไคเต็น 6 ลำ[2]
    อัตราเต็มที่: 94 นาย
    ยุทโธปกรณ์:
    อากาศยาน: เครื่องบินทุ่นลอยน้ำ 1 ลำ
    อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: โรงเก็บเครื่องบินและเครื่องปล่อยตัวสำหรับเครื่องบินทุ่นลอยน้ำ

    อิ-58 (อังกฤษ: I-58) เป็นเรือดำน้ำลาดตระเวน[2] แบบบี 3 ของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ความสำเร็จที่สำคัญในช่วงสงครามเพียงอย่างเดียวของเรือคือการโจมตีด้วยตอร์ปิโดต่อ ยูเอสเอส อินเดียแนโพลิส เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 เรือได้รับการดัดแปลงให้บรรทุกตอร์ปิโดที่มีคนขับ ไคเต็น ทำการโจมตีหลายครั้งซึ่งสร้างความเสียหายเล็กน้อย เรือดำน้ำลำดังกล่าวยอมจำนนในเดือนกันยายน ค.ศ. 1945 และในเวลาต่อมาได้ถูกแยกชิ้นส่วนโดยกองทัพเรือสหรัฐ[3]

    การออกปฏิบัติการ[แก้]

    ปฏิบัติการเท็งโง[แก้]

    การจมเรืออินเดียแนโพลิส[แก้]

    วันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 เรือดำน้ำญี่ปุ่น อิ-58 ได้ยิงตอร์ปิโดใส่ ยูเอสเอส อินเดียแนโพลิส ส่งผลให้เรืออินเดียแนโพลิสจมลงใน 12 นาที ด้วยจำนวนลูกเรือกว่า 1,196 คน และประมาณ 300 คน จมลงพร้อมไปกับเรือ ในขณะที่ลูกเรือ 900 คนที่รอดชีวิตต้องเผชิญหน้ากับสภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำเกินไป การขาดน้ำ การถูกพิษจากน้ำเค็ม และการโจมตีจากฉลาม ขณะที่กำลังลอยด้วยเรือชูชีพและเกือบจะไม่มีอาหารและน้ำ ทหารเรือเรียนรู้การใช้ชีวิตหลังจากการจมจนกระทั่งพวกเขาถูกช่วยชีวิตใน 4 วันต่อมาโดยลูกเรือของเครื่องบินรบเวนทูรา (PV-1 Ventura) ในระหว่างการตรวจตราในหน้าที่ มีเพียงทหารเรือ 317 คน ที่รอดชีวิต

    ดูเพิ่ม[แก้]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Polmar & Carpenter 1986, p. 108
    2. 2.0 2.1 Jentschura 1977, p. 176
    3. Bob Hackett and Sander Kingsepp (2008). "Submarine I-58 : Tabular Record of Movement". combinedfleet.com. สืบค้นเมื่อ 18 September 2010.

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]