เรืองศักดิ์ งามสมภาค
เรืองศักดิ์ งามสมภาค | |
---|---|
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2546 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2552–2557) เพื่อไทย (2557–ปัจจุบัน) |
เรืองศักดิ์ งามสมภาค (เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย เป็นสมาชิกกลุ่มของสมศักดิ์ เทพสุทิน และอดีตอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ประวัติ
[แก้]เรืองศักดิ์ งามสมภาค เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2487 สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ จาก วิทยาลัยช่างกลพระนครเหนือ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพระนครเหนือ ในปัจจุบัน) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ในปัจจุบัน) และระดับปริญญาตรีจากประเทศฟิลิปปินส์[1]
การทำงาน
[แก้]เรืองศักดิ์ เคยรับราชการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม จนเกษียณอายุราชการในปี 2547[1]
เรืองศักดิ์ เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคภูมิใจไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรค ในปี 2552 นายเรืองศักดิ์ เป็นผู้หนึ่งที่ถูกกล่าวว่าเป็นบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข แทนนายมานิต นพอมรวดี ในปี 2553[1][2] แต่สุดท้ายก็เป็นนางพรรณสิริ กุลนาถสิริ ที่ได้รับแต่งตั้ง
จากนั้นได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ต่อมาย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ในปี 2557[3][4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 เรืองศักดิ์ งามสมภาค จาก ไทยรัฐ
- ↑ เรืองศักดิ์-พรสิริชิงดำเก้าอี้รมช.สธ.
- ↑ กลุ่มมัชฌิมา ทยอยลาออกจาก ภท. คาดหันซบ พท.
- ↑ 'สมศักดิ์'แยกวงภท.เหตุวืดเก้าอี้หัวหน้า
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒, ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๗๑๖, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคภูมิใจไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเหรียญพิทักษ์เสรีชน
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา