เรกนันส์อินเอกเซลซิส
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เรกนันส์อินเอกเซลซิส (อังกฤษ: Regnans in Excelsis; "ปกครองจากเบื้องบน") เป็นสารตราพระสันตะปาปาที่ออกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 5 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1570 ที่เป็นการประกาศว่า “เอลิซาเบธ, ผู้อ้างตนเป็นพระราชินีอังกฤษ” เป็น “ผู้นอกศาสนาและปลดปล่อยข้าแผ่นดินของพระองค์ทั้งหมดจากความภักดีต่อพระองค์ และคว่ำบาตรทุกคนที่เชื่อฟังคำสั่งของพระองค์”[1]
สาเหตุและเนื้อหา
[แก้]สารตราเขียนเป็นภาษาละตินและจากสามคำแรก (incipit) ของเนื้อหาของสารตรา สามคำแรกของเนื้อหาแปลว่า “ปกครองจากเบื้องบน” (สื่อถึงพระเจ้า) [2] ในบรรดาข้อกล่าวหาก็รวมทั้ง “พระองค์ทรงยกเลิกราชสภาที่ประกอบด้วยขุนนางผู้สูงศักดิ์ของอังกฤษ และแต่งตั้งแทนด้วยผู้ไม่ทราบที่มาและผู้เป็นคนนอกศาสนา”
สถาบันพระสันตะปาปากลับมามีความสัมพันธ์อันดีอีกครั้งกับอังกฤษในระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษผู้ทรงเปลี่ยนอังกฤษภายใต้นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์กลับมาเป็นโรมันคาทอลิก หลังจากสมเด็จพระราชินีนาถแมรีเสด็จสวรรคตในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1558 รัฐสภาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธก็อนุมัติพระราชบัญญัติอำนาจสูงสุด (Act of Supremacy) ฉบับใหม่ในปี ค.ศ. 1559 ที่ระบุว่าคริสตจักรแห่งอังกฤษเป็นนิกายที่เป็นอิสระจากโรม สารตราพระสันตะปาปาฉบับนี้จึงเห็นกันว่าเป็นการกระทำที่เป็นการตอบโต้พระราชบัญญัติของอังกฤษ แต่การที่เป็นสารตราที่ออกจนสิบเอ็ดปีให้หลัง อาจจะมีสาเหตุมาจากทางโรมได้รับความกดดันจากพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน, ทอมัส โฮวาร์ด ดยุคแห่งนอร์โฟล์คที่ 4 หรือ สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ ซึ่งบุคคลทั้งสามต่างก็มีความประสงค์ที่จะโค่นราชบัลลังก์อังกฤษ นอกจากนั้นการรอการออกสารตราก็อาจจะเป็นเพราะมีคู่หมายที่มีความหวังที่จะเสกสมรสกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่เป็นโรมันคาทอลิกอยู่หลายคน และในทางส่วนพระองค์แล้วสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธก็ทรงยอมรับผู้ที่เป็นโรมันคาทอลิกที่ทำการสักการระเป็นการส่วนตัว สารตราพระสันตะปาปาเป็นสารตราที่ออกเพื่อสนับสนุนแต่หลังจากการปฏิวัติทางเหนือ (Northern Rebellion) ที่เกิดขึ้นในอังกฤษในปี ค.ศ. 1569 และการปฏิวัติเดสมอนด์ (Desmond Rebellions) ครั้งแรกในไอร์แลนด์โดยการสนับสนุนจากชาวต่างชาติที่เป็นโรมันคาทอลิก และนโยบายที่รุนแรงขึ้นต่อข้าแผ่นดินผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่เป็นโรมันคาทอลิก
ผลของสารตรา
[แก้]สารตราพระสันตะปาปาทำให้รัฐบาลอังกฤษเพิ่มความกดดันต่อลัทธิเยซูอิดที่ทางฝ่ายอังกฤษเชื่อว่าเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของสเปนและสถาบันพระสันตะปาปา การกระทำของอังกฤษไม่นานก็ดูเหมือนเป็นการกระทำที่มีเหตุผลเมื่อมีสิ่งพิมพ์ในอังกฤษที่มีส่วนในการทำให้เกิดการคบคิดริโดลฟิ (Ridolfi plot) ซึ่งเป็นแผนที่ทอมัส โฮวาร์ด ดยุคแห่งนอร์โฟล์คที่ 4 จะเป็นผู้ลักพาตัวและสังหารสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ และยกสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ขึ้นเป็นพระมหากษัตรีย์แทนที่และโดยการสมรสกับแมรี ดยุคแห่งนอร์โฟล์คก็จะได้เป็นกษัตริย์โดยปริยาย[3]
เพื่อแบ่งเบาความตึงเครียดของความกดดันโรมันคาทอลิกในอังกฤษสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 ก็ทรงออกพระราชประกาศเพื่อคลี่คลายสถานะการณ์ในปี ค.ศ. 1580 โดยให้คำอธิบายว่าข้าแผ่นดินที่เป็นโรมันคาทอลิกในอังกฤษควรมีความจงรักภักดีต่อพระราชินีในทางฆราวาสทุกเรื่อง จนเมื่อถึงโอกาสอันเหมาะสมที่พระองค์จะได้รับการโค่นราชบัลลังก์ ไม่นานหลังจากการเริ่มสงครามอังกฤษ-สเปน (ค.ศ. 1585-1604) ก็ได้มีการตราพระราชบัญญัติ "ป้องกันและปราบปรามเยสุอิต บาทหลวงสอนศาสนา และบุคคลอื่นผู้กระด้างกระเดื่องในทำนองเดียวกัน (against Jesuits, seminary priests and other such like disobedient persons)
ในปี ค.ศ. 1588 ในการสนับสนุนกองเรืออาร์มาดาของสเปนสมเด็จพระสันตะปาปาซิกส์ตุสที่ 5 ก็ทรงรื้อฟื้นสารตราพระสันตะปาปาว่าดัวยการคว่ำบาตรสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธขึ้นมาอีกครั้ง ในข้อหาที่มีพระบรมราชโองการให้ปลงพระชนม์ (regicide) สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ ในปี ค.ศ. 1587 และข้อหาต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโรมันคาทอลิก[4] ระหว่างอันตรายจากการรุกรานโดยกองเรืออาร์มาดา ก็ปรากฏว่าข้าแผ่นดินอังกฤษส่วนใหญ่ก็ยังคงมีความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์เช่นคาร์ดินัลวิลเลียม แอลเลน ต่างก็ได้หลบหนีภัยไปแล้ว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ McGrath, Patrick (1967). Papists and Puritans under Elizabeth I. Poole, England: Blandford Press. p. 69.
- ↑ Text of Regnans in excelsis, 1570 เก็บถาวร 2008-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ Haynes, Alan (2004). Walsingham: Elizabethan Spymaster and Statesman. Stroud, England: Sutton Publishing. pp. 13. ISBN 0-7509-3122-1.
- ↑ Text of Sixtus V's 1588 Bull against Queen Elizabeth in support of the Armada[ลิงก์เสีย]