ข้ามไปเนื้อหา

เยื่อไม้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เยื่อไม้
ภาพวาดครูเอื้อ สุนทรสนาน และสมาชิกวงเยื่อไม้
บนหน้าปกแผ่นเสียงอัลบั้ม "เยื่อไม้ ๑"
วาดโดย เกริกบุระ ยมนาค
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดกรุงเทพ ประเทศไทย
แนวเพลงลูกกรุง
ช่วงปี2530 - 2533
ค่ายเพลงคีตา เรคคอร์ดส
สมาชิกวิระ บำรุงศรี
อรวี สัจจานนท์
นพ โสตถิพันธุ์
ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์

เยื่อไม้ เป็นชื่อวงดนตรีสัญชาติไทย ที่มีผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2533 ทั้งหมด 13 ชุด โดยเป็นการนำเพลงเก่าของสุนทราภรณ์ และศิลปินครูเพลงลูกกรุง มาบรรเลงใหม่โดยใช้เครื่องดนตรีอคูสติก ผู้ตั้งชื่อวงคือ ประภาส ชลศรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2561 สาขาศิลปะการแสดง ประเภทดนตรีสากลและนาฏศิลป์สากล (ผู้สร้างสรรค์งานบันเทิงและดนตรีไทยสากล) โดยให้ความเห็นว่า "งานของท่านก็เหมือนกับต้นไม้ใหญ่ที่ยังยืนต้นอยู่ เยื่อไม้ก็เป็นเพียงเยื่อบางๆ ของต้นไม้ใหญ่เท่านั้น"[1]

สมาชิกวงดนตรี “เยื่อไม้” มี ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์ เป็นหัวหน้าวงควบตำแหน่งเปียโน และ นพ โสตถิพันธุ์ นักไวโอลินอาวุโส โดยรวบรวมพรรคพวกจากวงยามาฮ่าซาวด์เข้าร่วมวงเยื่อไม้ ได้แก่ วีรชัย เขียวขจี มือกลอง เจน เฉลยกาย เล่นดับเบิลเบส สมชาย เฟี้ยวสำอางค์ เล่นฟลุท พิเนตร เนตรงาม เล่นกีตาร์ โดยมี วิระ บำรุงศรี และ อรวี สัจจานนท์ เป็นนักร้องนำของวง[2] โดยมีจุดประสงค์เพื่ออนุรักษ์และสืบสานงานเพลงเก่าอันทรงคุณค่า ดังนั้นลักษณะการร้องและการเล่นดนตรีของวงจึงใกล้เคียงกับต้นฉบับ แต่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการใช้เครื่องดนตรีที่ล้วนทำจากไม้ ท่ามกลางวิวัฒนาการการบันทึกเสียงด้วยเครื่องดนตรีอันทันสมัย

อัลบั้มชุดแรกของวง ออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2531 ภายใต้สังกัด คีตาแผ่นเสียง-เทป ในชื่อชุด "เยื่อไม้ ๑" โดยเป็นบทเพลงของสุนทราภรณ์ทั้งหมด บันทึกเสียงที่ห้องอัดไพบูลย์ ศุภวารี ต่อมาถึงชุด "เยื่อไม้ ๒" ได้นำบทเพลงของครูเพลงท่านอื่นๆ ที่มีผลงานเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ พยงค์ มุกดา, นคร มงคลายน, ชาลี อินทรวิจิตร, สมาน กาญจนผลิน, สุรพล โทณะวณิก, ป.ชื่นประโยชน์ และ เกษม ชื่นประดิษฐ์ มาบรรเลงใหม่ และยังได้ออกผลงานในนามวงอีก โดยแบ่งเป็นอัลบั้มเพลงร้อง คือ "เยื่อไม้ ๓ บานเช้า", "เยื่อไม้ ๔ บานเย็น", "เยื่อไม้ ๖ เก้าละคอน", "เยื่อไม้ ๗ เก้าครู", "เยื่อไม้ ๙ ลีลาศ", "เยื่อไม้ ๑๐ ลีลา", "เยื่อไม้ ๑๑ สถาบัน", "เยื่อไม้ ๑๒ เพลงรัก" และ "เยื่อไม้ ๑๓ เพลงรำ" ส่วนอัลบั้มเพลงบรรเลง มี 2 ชุดคือ "เยื่อไม้ ๕ เสียงจากไม้" และ "เยื่อไม้ ๘ เพลงผลัดใบ" โดย นพ โสตถิพันธุ์ รับหน้าที่บรรเลงเดี่ยวไวโอลิน [3]

วงเยื่อไม้ยุบวงในปี พ.ศ. 2533 โดยออกอัลบั้มชุดที่ 12 และ 13 ซึ่งได้เพิ่มเครื่องเป่าทองเหลืองเข้าร่วมบรรเลงด้วย และไม่ใช้สีทองสกรีนบนปกเทปเช่นชุดก่อน นอกจากนี้ นพ โสตถิพันธุ์ ยังได้ออกอัลบั้มเดี่ยวไวโอลินอีกชุดหนึ่งโดยไม่ใช้ชื่อเยื่อไม้ คือ "ชนบทบรรเลง" หลังจากนั้น นักร้องของวงคือ วิระ เป็นสมาชิกวงมะลิลา บราซิลเลี่ยน และยังคงตระเวนร้องเพลงตามงานต่างๆ ควบคู่กับงานราชการที่ กองสวัสดิการ สำนักงานกำลังพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ[4] ปัจจุบัน เกษียณอายุราชการแล้ว ส่วน อรวี เป็นนักร้องค่ายแกรมมี่จนถึงปัจจุบัน

อนึ่ง มีสมาชิกวงเฉลียงเข้ามาเป็นศิลปินรับเชิญบันทึกเสียงให้กับวงเยื่อไม้ คือ ภูษิต ไล้ทอง เล่นคลาริเน็ต ในชุดที่ 2 และ 5 และ วัชระ ปานเอี่ยม ร่วมร้องเพลง บ่าวสาวรำวง และ ไม่รักใครเลย ในชุดที่ 9

ผลงานอัลบั้ม

[แก้]

เยื่อไม้ 1

  1. ยังจำได้ไหม
  2. ขอพบในฝัน
  3. จูบในใจ
  4. เย็นลมว่าว
  5. สาวอัมพวา
  6. เธอเท่านั้น
  7. กว่าจะรักกันได้
  8. รักฉันครึ่งหัวใจ
  9. ปีศาจวสันต์
  10. ห่วงอาลัย
  11. แค้น
  12. ใจหาย

เยื่อไม้ 2

  1. สักวันหนึ่ง
  2. รอยไถ
  3. ทุยจ๋าทุย
  4. ฉงน
  5. ดอกแก้ว
  6. นกขมิ้น
  7. ท่าฉลอม
  8. บางประกง
  9. รักใต้ร่มไทร
  10. จูบเย้ยจันทร์

เยื่อไม้ 3 บานเช้า

  1. ปาหนัน
  2. รักเอาบุญ
  3. มั่นใจไม่รัก
  4. สำคัญที่ใจ
  5. เพราะรักที่รัก
  6. ลาทีปากน้ำ
  7. กังกลรัก
  8. ไม่ใกล้ไม่ไกล
  9. ดำเนินทราย
  10. ถึงอย่างไรก็ไม่เหมือนเดิม
  11. ฉันยังคอย
  12. ธนูรัก

เยื่อไม้ 4 บานเย็น

  1. นกเขาไพร
  2. เพลงรักจากเธอ
  3. จากเธอ
  4. อ้อยใจ
  5. ฝากรัก
  6. ดึกคืนนี้
  7. เริงลีลาศ
  8. ตลุงมอญซ่อนผ้า
  9. พรจุมพิต
  10. วิมานสีชมพู
  11. คอยลม
  12. เปล่า

เยื่อไม้ 5 เสียงจากไม้ (เพลงบรรเลง)

  1. ลืมเสียเถิดอย่าเสียดาย
  2. ดอกไม้ใกล้มือ
  3. พนาโศก
  4. บ้านของเรา
  5. ขอให้เหมือนเดิม
  6. คลื่นกระทบฝั่ง
  7. รักบังใบ
  8. พรานไพร
  9. หากภาพเธอมีวิญญาณ
  10. ไม่อยากจากเธอ

เยื่อไม้ 6 เก้าละคอน

  1. เรือนแพ
  2. เงาไม้
  3. ดวงจันทร์
  4. ผู้ชนะสิบทิศ
  5. บุเรงนอง
  6. ดวงใจ
  7. ลำนำแผลเก่า
  8. ขวัญเรียม
  9. มนต์รักดอกคำใต้
  10. สามหัวใจ
  11. มนต์รักอสูร
  12. จำเลยรัก

เยื่อไม้ 7 เก้าครู

  1. ดวงใจในฝัน
  2. คอย
  3. จนจริงไม่จนรัก
  4. สุดเอื้อมมือถึง
  5. จ้าวหัวใจ
  6. สักขีแม่ปิง
  7. สนามอารมณ์
  8. สาวนครชัยศรี
  9. หนึ่งในร้อย
  10. ทาษเทวี
  11. พ่อแง่แม่งอน
  12. ชายเดียวในดวงใจ

เยื่อไม้ 8 เพลงผลัดใบ (เพลงบรรเลง)

  1. ค้างคาวกินกล้วย
  2. น้ำตาแสงไต้
  3. ชั่วฟ้าดินสลาย
  4. วิหคเหินลม
  5. ในฝัน
  6. ภาษาใจ
  7. สิ้นรักสิ้นสุข
  8. ข้างขึ้นเดือนหงาย
  9. ลมหวน
  10. คิดจะปลูกต้นรักสักกอ

เยื่อไม้ 9 ลีลาศ

  1. ฟลอร์เฟื่องฟ้า
  2. ไม่รักใครเลย
  3. ตะลุงสากล
  4. บ่าวสาวรำวง
  5. โอ้ยอดรัก
  6. ธารน้ำรัก
  7. คำรำพัน
  8. หนึ่งน้องนางเดียว
  9. พักร้อน
  10. พรานล่อเนื้อ
  11. แสนงอน
  12. ชะชะช่าพาเพลิน

เยื่อไม้ 10 ลีลา

  1. พี่รักเจ้า
  2. ขอรักคืน
  3. มนต์นางรำ
  4. ศรกามเทพ
  5. นกสีชมพู
  6. ศึกในอก
  7. ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง
  8. ใครจะรักเธอจริง
  9. สั่งไทร
  10. ครูสอนรัก
  11. หนึ่งในดวงใจ
  12. บ้านนา

เยื่อไม้ 11 สถาบัน

  1. แดนนภา
  2. ผู้ครองฟ้า
  3. สนสามพราน
  4. ลาแล้วสามพราน
  5. ลาภูพิงค์
  6. นักเรียนพยาบาล
  7. ขวัญโดม
  8. โดมรอเธอ
  9. รั้วแดงกำแพงเหลือง
  10. จามจุรีศรีจุฬา
  11. ลาแล้วจาจุรี
  12. พรานทะเล

เยื่อไม้ 12 เพลงรัก

  1. รักต้องห้าม
  2. สีชัง
  3. กลัวจะรักไม่จริง
  4. แรมพิศวาส
  5. สัญญารัก
  6. วานลมรัก
  7. ขอโทษ
  8. พนันรัก
  9. ม่านไทรย้อย
  10. รัก
  11. ทะเลระทม
  12. มาลีดอกฟ้า

เยื่อไม้ 13 เพลงรำ

  1. รำวงสาวบ้านแต้
  2. ตะลุงพระเหลเถไถ
  3. สาวตางาม
  4. รำวงชาวทะเล
  5. แซมบ้าพารัก
  6. ลาวดำเนินทรายสามช่า (บรรเลง)
  7. เพลินเพลงแมนโบ้
  8. หนีไม่พ้น
  9. แสนงามแสนงอน
  10. ตะลุงเข้ากรุง
  11. แขกคราญ
  12. อาลัยรัก

คอนเสิร์ต

[แก้]
  • คอนเสิร์ตบานเช้า บานเย็นศิลปิน (2531)
  • คอนเสิร์ตบ้าน 4 ทะเล (2533) (แขกรับเชิญ)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เยื่อไม้ ใน pisutshop". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-11. สืบค้นเมื่อ 2010-10-24.
  2. "โซล่า-เยื่อไม้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-01. สืบค้นเมื่อ 2010-10-24.
  3. "สินค้าแม่ไม้เพลงไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-14. สืบค้นเมื่อ 2010-10-24.
  4. ""วิระ บำรุงศรี" ศิลปินในเครื่องแบบ ใน ชีวิตต้องสู้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-10-24.