ข้ามไปเนื้อหา

เยื่ออะแร็กนอยด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เยื่ออะแร็กนอยด์/
เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง
(Arachnoid mater)
แผนภาพแสดงภาพตัดผ่านด้านบนของกะโหลกศีรษะ แสดงเยื่อต่างๆ ของสมอง
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง
ตัวระบุ
MeSHD001099
นิวโรเนมส์1464
TA98A14.1.01.201
TA25386
FMA9591
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง หรือ เยื่ออะแร็กนอยด์ (อังกฤษ: Arachnoid mater) เป็นหนึ่งในชั้นของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง อยู่ระหว่างชั้นเยื่อดูรา (dura mater) ที่อยู่ด้านบนและเยื่อเพีย (pia mater) ที่อยู่ด้านล่างลึกลงไป โดยมีช่องว่างระหว่างเยื่อเพียและเยื่ออะแร็กนอยด์เรียกว่า ช่องว่างใต้เยื่ออะแร็กนอยด์ (subarachnoid space)

เยื่ออะแร็กนอยด์มีลักษณะบาง คล้ายกับใยแมงมุม ยึดติดกับด้านในของเยื่อดูรา หุ้มรอบสมองและไขสันหลังแต่ไม่ได้แนบไปกับร่องหรือรอยพับของสมอง ข้างใต้เยื่อนี้ลงไปจะมีน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) อยู่ภายในช่องว่างใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (subarachnoid space) ซึ่งเต็มไปด้วยเส้นใยละเอียดของเยื่ออะแร็กนอยด์ยื่นลงไปยึดกับเยื่อเพีย

ส่วนของเยื่ออะแร็กนอยด์ที่คลุมรอบสมองและไขสันหลังเรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า arachnoidea encephali และ arachnoidea spinalis ตามลำดับ

ในบางครั้งเราอาจเรียกเยื่ออะแร็กนอยด์และเยื่อเพียรวมเป็นโครงสร้างเดียวกัน เรียกว่า "เลปโตเมนิงซ์" (leptomeninges; มาจากรากศัพท์ภาษากรีก Lepto- แปลว่า บาง) และเรียกชั้นเยื่อดูราว่า "แพคีเมนิงซ์" (pachymeninx)

ภาพอื่นๆ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]