ข้ามไปเนื้อหา

เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 มิถุนายน พ.ศ. 2512 (55 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2563)
คณะก้าวหน้า (2563-ปัจจุบัน)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาชีพนักการเมือง

เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ เป็นอดีตนักการเมืองชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ชุดที่ 25) แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันทำงานที่ คณะก้าวหน้า

ประวัติ

[แก้]

เยาวลักษณ์เป็นคนเชียงใหม่แต่กำเนิด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จากนั้นได้เข้าทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่การตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กระทั่งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ปี พ.ศ. 2540 เธอจึงย้ายกลับภูมิลำเนาเดิม และเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเริ่มงานเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยพายัพ ก่อนจะมาสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จนได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจ จนถึงปัจจุบัน เธอมีผลงานทางวิชาการและงานวิจัยร่วมกับชุมชนจำนวนมาก อาทิ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการลงพื้นที่ให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชนในภาคเหนือมากว่า 15 ปี[1]

การทำงาน

[แก้]
  • ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาดหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง จำกัด (มหาชน) กรุงเทพฯ (2535-2540)
  • อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพายัพ จ.เชียงใหม่ (2545-2547)
  • อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (2547 - ปัจจุบัน)
  • วิทยากรด้านการพัฒนาบุคลิกภาพและจิตวิทยาอุตสาหกรรม

ผลงานวิชาการ

[แก้]
  1. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่[2] (ทุนวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว. 2556)
  2. แนวทางการดูแลและเสริมสร้างสุขภาวะกลุ่มผู้สูงอายุบ้านสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (ทุนวิจัยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว. 2554)
  3. การศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2552
  4. ค่านิยมในการทำงานของพนักงานชาวไทยและชาวต่างชาติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2552

การเมือง

[แก้]

เยาวลักษณ์ได้สมัครเข้าร่วมกับพรรคอนาคตใหม่ และได้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคเหนือ โดยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เยาวลักษณ์ลงสมัคร สส.แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 17 และได้รับเลือกตั้ง[3]

ในวันเปิดสมัยประชุมสภาวันแรก พรรคอนาคตใหม่เสนอชื่อเธอเพื่อดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง แข่งกับ สุชาติ ตันเจริญ จากพรรคพลังประชารัฐ[4] ซึ่งหากเธอได้รับเลือกตั้ง เธอก็จะเป็นรองประธานสภาสตรีคนที่สอง ถัดจาก ลลิตา ฤกษ์สำราญ อดีตรองประธานสภาสตรีลำดับที่สองในยุครัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร แต่แพ้ไปด้วยคะแนนเสียง 246 ต่อ 248[5]

หลังคำตัดสินให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ พร้อมกับตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 10 ปี เยาวลักษณ์และอดีตสมาชิกพรรคอีก 11 คนที่ถูกตัดสิทธิ์ย้ายมาทำงานที่ คณะก้าวหน้า[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ - คณะทำงาน « Future Forward Party พรรคอนาคตใหม่". futureforwardparty.org. 2019-03-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 2023-11-20.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. วงษ์ประภารัตน์, เยาวลักษณ์ (2556-04-01). "รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน บ้านสันทรายหลวง อาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2019-05-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-06-11.
  4. ""เยาวลักษณ์" หวังสร้างประวัติศาสตร์ รองประธานสภาหญิงคนแรก มั่นใจเสียงสนับสนุนไม่แตก". www.sanook.com/news. 2019-05-26.
  5. ""ช่อ-พรรณิการ์" แถลง เยาวลักษณ์ คะแนนเกินเพราะขานชื่อซ้ำ". workpointTODAY.
  6. "คณะก้าวหน้าเปิดโรดแมปนำประเทศออกจากวิกฤต กดดัน พล.อ. ประยุทธ์ ลาออก". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2023-11-13.