ข้ามไปเนื้อหา

เมโทรโพลิส พาร์ต 2: ซีนส์ฟรอมอะเมโมรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมโทรโพลิส พาร์ต 2: ซีนส์ฟรอมอะเมโมรี
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด26 ตุลาคม ค.ศ. 1999 (1999-10-26)[1]
บันทึกเสียงค.ศ. 1999
สตูดิโอBearTracks Studios ในซัฟเฟิร์น รัฐนิวยอร์ก
แนวเพลง
ความยาว77:06
ค่ายเพลงElektra
โปรดิวเซอร์ไมก์ พอร์ตนอย, จอห์น เปตรุชชี
ลำดับอัลบั้มของดรีมเทียเตอร์
วันซ์อินอะไลฟ์ไทม์
(1998)
เมโทรโพลิส พาร์ต 2: ซีนส์ฟรอมอะเมโมรี
(1999)
ไลฟ์ซีนส์ฟรอมนิวยอร์ก
(2001)
ซิงเกิลจากเมโทรโพลิส พาร์ต 2: ซีนส์ฟรอมอะเมโมรี
  1. "โฮม"
    จำหน่าย: 11 ตุลาคม ค.ศ. 1999
  2. "ทรูเฮอร์อายส์"
    จำหน่าย: 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2000
ค่าประเมินโดยนักวิจารณ์
คะแนนคำวิจารณ์
ที่มาค่าประเมิน
ออลมิวสิก4/5 stars[1]
ร็อกฮาร์ด10/10[2]
เมทัลสตอร์ม10/10[3]

เมโทรโพลิส พาร์ต 2: ซีนส์ฟรอมอะเมโมรี (อังกฤษ: Metropolis Pt. 2: Scenes from a Memory) เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 5 และคอนเซปต์อัลบั้มชุดแรกของวงดนตรีโพรเกรสซิฟเมทัลชาวอเมริกัน ดรีมเทียเตอร์ ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1999 ทางค่ายเพลง Elektra Records บันทึกเสียงที่ BearTracks Studios ในรัฐนิวยอร์ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่วงเคยมาบันทึกเสียง Images and Words สตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 2 ที่ออกจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 1992 และอีพี A Change of Seasons ที่ออกจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 1995

อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มแรกที่มีจอร์แดน รูเดส มาเป็นมือคีย์บอร์ด เรื่องราวของอัลบั้มนี้ต่อเนื่องมาจากเพลง "Metropolis—Part I: 'The Miracle and the Sleeper'" ซึ่งเป็นเพลงในอัลบั้ม Images and Words

อิทธิพล

[แก้]

ซีนส์ฟรอมอะเมโมรี มีแนวดนตรีแบบโพรเกรสซิฟร็อกดั้งเดิม[1][4][5][6] ตามข้อมูลจากวิดีโอ "เมกกิงออฟซีนส์ฟรอมอะเมโมรี" ระบุว่าอัลบั้มนี้ได้รับอิทธิพลบางส่วนมาจากคอนเซปต์อัลบั้มต่าง ๆ ได้แก่ Tommy ของเดอะฮู, The Lamb Lies Down on Broadway ของเจเนซิส, Amused to Death ของโรเจอร์ วอเทอส์, OK Computer ของเรดิโอเฮด, Operation: Mindcrime ของควีนสไรก์ (Queensryche), Sgt. Pepper's Lonely Hearts Club Band ของเดอะบีเทิลส์, Misplaced Childhood ของมาริลเลียน (Marillion), และ The Wall และ The Final Cut ของพิงก์ฟลอยด์[7]

รายชื่อเพลง

[แก้]

เพลงทั้งหมดประพันธ์ทำนองโดยดรีมเทียเตอร์ ยกเว้นที่หมายเหตุไว้

Act I
ลำดับชื่อเพลงเนื้อเพลงยาว
1."Scene One: Regression" (ทำนอง: Petrucci)John Petrucci2:06
2."Scene Two: I. Overture 1928"(เพลงบรรเลง)3:37
3."Scene Two: II. Strange Deja Vu"Mike Portnoy5:12
4."Scene Three: I. Through My Words" (ทำนอง: Petrucci)Petrucci1:02
5."Scene Three: II. Fatal Tragedy"John Myung6:49
6."Scene Four: Beyond This Life"Petrucci11:22
7."Scene Five: Through Her Eyes"Petrucci5:29
Act II
ลำดับชื่อเพลงเนื้อเพลงยาว
8."Scene Six: Home"Portnoy12:53
9."Scene Seven: I. The Dance of Eternity"(เพลงบรรเลง)6:13
10."Scene Seven: II. One Last Time"James LaBrie3:46
11."Scene Eight: The Spirit Carries On"Petrucci6:38
12."Scene Nine: Finally Free"Portnoy11:59
ความยาวทั้งหมด:77:06

อันดับในชาร์ต

[แก้]
ปี ค.ศ. ชาร์ต อันดับ
1999 บิลบอร์ด 200 73[8]
1999 บิลบอร์ด ท็อปอินเทอร์เน็ตอัลบั้ม 2[8]
1999 ชาร์ตอัลบั้มแห่งสหราชอาณาจักร 131

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Erlewine, Stephen Thomas. "Metropolis, Pt. 2: Scenes from a Memory - Dream Theater - Songs, Reviews, Credits". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  2. Rensen, Michael. "DREAM THEATER - Scenes From A Memory". Rock Hard. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.
  3. "Dream Theater - Metropolis Pt. 2: Scenes From A Memory review". Metal Storm. 29 September 2003. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  4. Harris, Craig. "Dream Theater - Biography". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  5. Ezell, Brice (21 June 2012). "Rush: Clockwork Angels". PopMatters. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
  6. Taylor, Robert. "Live Scenes from New York - Dream Theater | Songs, Reviews, Credits". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
  7. "Dream Theater - Making of Scenes From A Memory". YouTube. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  8. 8.0 8.1 "Metropolis, Pt. 2: Scenes From a Memory - Dream Theater | Awards". AllMusic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2016. สืบค้นเมื่อ 22 June 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]