ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มพีระมิดแห่งกีซา

พิกัด: 29°58′33.8″N 31°07′49.5″E / 29.976056°N 31.130417°E / 29.976056; 31.130417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เมมฟิสและสุสานโบราณ)
เมมฟิสและสุสาน - กลุ่มพีระมิดตั้งแต่กีซาถึงดาห์ชูร์ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
สามมหาพีระมิดแห่งกีซา
ประเทศธงของประเทศอียิปต์ อียิปต์
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (iii) (xi)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2522 (คณะกรรมการสมัยที่ 3)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

กลุ่มพีระมิดแห่งกีซา หรือ มหาสุสานกีซา เป็นสถานที่บนที่ราบสูงกีซาอันเป็นที่ตั้งของมหาพีระมิดแห่งกิซาทั้งสาม ได้แก่ พีระมิดคูฟู พีระมิดคาเฟร และพีระมิดเมนคูเร พร้อมกับสิ่งก่อสร้างอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น มหาสฟิงซ์ พีระมิดขนาดเล็กและสุสานหลายแห่ง รวมทั้งซากหมู่บ้านคนงาน ทั้งหมดสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ที่สี่ของราชอาณาจักรเก่าของอียิปต์โบราณ ระหว่าง 2600 ถึง 2500 ปีก่อนคริสตกาล ตั้งอยู่ในกรุงเกรทเทอร์ไคโร ประเทศอียิปต์ ริมทะเลทรายตะวันตก ประมาณ 9 กิโลเมตร (5.6 ไมล์) ทางตะวันตกของแม่น้ำไนล์ในเมืองกิซา และประมาณ 13 กิโลเมตร (8 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกลางกรุงไคโร

กลุ่มพีระมิดแห่งกีซา ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 2522 ภายใต้ชื่อ เมมฟิสและสุสาน - กลุ่มพีระมิดตั้งแต่กีซาถึงดาห์ชูร์ ร่วมกับเมืองหลวงเก่าเมมฟิสที่อยู่ใกล้เคียง และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในบริเวณกีซา ซัคคารา และดาห์ชูร์ที่ส่วนมากสร้างในช่วงราชวงศ์ที่สามถึงหกของยุคราชอาณาจักรเก่า[1]

พีระมิดคูฟูและพีระมิดคาเฟรเป็นพีระมิดที่ใหญ่ที่สุดที่สร้างขึ้นในอียิปต์โบราณ และในอดีตเคยเป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์โบราณในจินตนาการของชาวตะวันตก[2][3] ได้รับความนิยมมากในสมัยเฮลเลนิสต์เมื่อ Antipater of Sidon ยกย่องให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก โดยเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เก่าแก่ที่สุดในสมัยโบราณและเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ยังคงมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

[แก้]
มหาสฟิงซ์และพีระมิดคาเฟร

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Memphis and its Necropolis – the Pyramid Fields from Giza to Dahshur". UNESCO World Heritage Centre. United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.
  2. Pedro Tafur, Andanças e viajes.
  3. Medieval visitors, like the Spanish traveller Pedro Tafur in 1436, viewed them however as "the Granaries of Joseph" (Pedro Tafur, Andanças e viajes).


29°58′33.8″N 31°07′49.5″E / 29.976056°N 31.130417°E / 29.976056; 31.130417