ข้ามไปเนื้อหา

เมทิลออเรนจ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมทิลออเรนจ์
ชื่อ
IUPAC name
Sodium 4-[(4-dimethylamino)phenyldiazenyl]benzenesulfonate
ชื่ออื่น
Sodium 4-[(4-dimethylamino)phenylazo]benzenesulfonate
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.008.115 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
  • InChI=1S/C14H15N3O3S.Na/c1-17(2)13-7-3-11(4-8-13)15-16-12-5-9-14(10-6-12)21(18,19)20;/h3-10H,1-2H3,(H,18,19,20);/q;+1/p-1 checkY
    Key: STZCRXQWRGQSJD-UHFFFAOYSA-M checkY
  • InChI=1/C14H15N3O3S.Na/c1-17(2)13-7-3-11(4-8-13)15-16-12-5-9-14(10-6-12)21(18,19)20;/h3-10H,1-2H3,(H,18,19,20);/q;+1/p-1
    Key: STZCRXQWRGQSJD-REWHXWOFAG
  • [Na+].CN(C)c2ccc(/N=N/c1ccc(cc1)S([O-])(=O)=O)cc2
คุณสมบัติ
C14H14N3NaO3S
มวลโมเลกุล 327.33 g·mol−1
ความหนาแน่น 1.28 g/cm3, ของแข็ง
จุดหลอมเหลว >300 °C (572 °F; 573 K)
จุดเดือด สลายตัว
0.5 g/100 mL (20 °C)
ความสามารถละลายได้ ไม่ละลายในไดเอทิลอีเทอร์[1]
ความอันตราย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS/OSH):
อันตรายหลัก
เป็นพิษ (T)
GHS labelling:
อันตราย
H301
P308, P310
NFPA 704 (fire diamond)
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC):
60 mg/kg (หนู, ทางปาก)
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

เมทิลออเรนจ์ (อังกฤษ: methyl orange) เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเป็นผงสีส้มเหลือง[2] ใช้เป็นตัวบ่งชี้พีเอชในการไทเทรต เนื่องจากให้สีที่ชัดเจน เมทิลออเรนจ์จะเปลี่ยนสีในกรดที่มีความแรงปานกลาง จึงมักใช้ในการไทเทรตสำหรับกรด เมทิลออเรนจ์แตกต่างจากยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์คือ ไม่ได้เปลี่ยนสีครบสเปกตรัม แต่จะเปลี่ยนสีเมื่อถึงจุดยุติ โดยจะให้สีส้มเมื่อเป็นกรดและสีเหลืองเมื่อเป็นเบส

ในสารละลายที่เป็นกรดอ่อน เมทิลออเรนจ์จะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้ม และกลายเป็นสีเหลืองในที่สุด และจะกลับกันเมื่อสารละลายมีความเป็นกรดมากขึ้น เมทิลออเรนจ์มีค่า pH 3.47 ในน้ำอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (77 องศาฟาเรนไฮต์)[3]

เมทิลออเรนจ์ (ตัวบ่งชี้พีเอช)
ต่ำกว่า pH 3.1 สูงกว่า pH 4.4
3.1 4.4

เมื่อเมทิลออเรนจ์อยู่ในสารละลายไซลีนไซยานอล จะให้สีม่วงเมื่อเป็นกรดและให้สีเขียวเมื่อเป็นเบส[4]

เมทิลออเรนจ์ในสารละลาย
ไซลีนไซยานอล
(ตัวบ่งชี้พีเอช)
ต่ำกว่า pH 3.2 สูงกว่า pH 4.2
3.2 4.2

เมทิลออเรนจ์มีคุณสมบัติเป็นสารก่อกลายพันธุ์ จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรง[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 MSDS from ScienceLab.com, Inc. Retrieved 2011-09-24
  2. METHYL ORANGE | C14H14N3NaO3S - PubChem
  3. Sandberg, Richard G.; Henderson, Gary H.; White, Robert D.; Eyring, Edward M. (1972). "Kinetics of acid dissociation-ion recombination of aqueous methyl orange". The Journal of Physical Chemistry. 76 (26): 4023–4025. doi:10.1021/j100670a024.
  4. RSC: Advancing the Chemical Sciences : Indicators

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]