ข้ามไปเนื้อหา

เฟรนช์โอเพน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เฟรนช์โอเพ่น)
เฟรนช์โอเพน

การแข่งขันเทนนิสเฟรนช์โอเพน หรือในชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรลังด์ การ์รอส (ฝรั่งเศส: Tournoi de Roland-Garros, อังกฤษ: Roland Garros Tournament) เป็นการแข่งขันเทนนิสที่จัดการแข่งขันขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี ที่สนามโรลังด์ การ์รอส กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เฟนช์โอเพนเริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1891 โดยมีแชมป์คนแรกในประเภทชายเดี่ยวคือ Henry Briggs ชาวฝรั่งเศส ส่วนในประเภทหญิงเดี่ยว เริ่มมีการจัดการแข่งขันครั้งแรกขึ้นในปี ค.ศ.1897 โดยมีแชมป์คนแรกคือ Adine Masson ชาวฝรั่งเศส

เฟรนช์โอเพน หรือ โรลังด์ การ์รอส เป็นการแข่งขันแกรนด์สแลมรายการที่สองของปี ถัดจากออสเตรเลียนโอเพน และเป็นการแข่งขันแกรนด์สแลมรายการเดียวที่แข่งบนคอร์ทดิน ด้วยลักษณะพื้นฐานของคอร์ทดินที่แตกต่างไปจากประเภทอื่น ทั้งความเร็วและการกระดอนของลูก ทักษะการเคลื่อนไหวของนักเทนนิสบนผิวคอร์ทดินจึงแตกต่าง ทำให้เฟรนช์โอเพน มักเป็นรายการที่ขัดขวางนักเทนนิสหลายคน เช่น พีท แซมพราส จิมมี คอนเนอร์ มาร์ตินา ฮินกิส และรวมไปถึง โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ ในการเป็นผู้ชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมครบทั้งสี่รายการ หลังจากก่อนหน้านี้เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศมาแล้ว 3 ปีติดต่อกัน (2006, 2007, 2008) แล้วแพ้ให้กับ ราฟาเอล นาดาล ทั้ง 3 ปีที่เข้าชิงชนะเลิศ ได้แค่ตำแหน่งรองแชมป์ ไม่เคยได้ตำแหน่งแชมป์เฟรนช์โอเพนเลย

จนกระทั่งปี ค.ศ.2009 โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ ที่เข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน (2006, 2007, 2008, 2009) จึงคว้าแชมป์เฟรนช์โอเพนได้สำเร็จ เมื่อ ราฟาเอล นาดาล ไปพลาดท่าตกรอบ 16 คนสุดท้าย โดยแพ้ให้กับ โรบิน โซเดอลิง 1-3 เซต 2-6, 7-6(2), 4-6, 6-7(2) ทำให้ในรอบชิงชนะเลิศ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ ชนะ โรบิน โซเดอลิง 3-0 เซตรวด 6-1, 7-6(1), 6-4 คว้าแชมป์เฟรนช์โอเพนมาครองได้สำเร็จเป็นครั้งแรก และเป็นผู้ชนะเลิศรายการแกรนด์สแลมครบทั้งสี่รายการเป็นคนที่ 6 ต่อจาก อังเดร แอกอัซซี

ทำเนียบผู้ชนะเลิศในการแข่งขันประเภทชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยวตั้งแต่ ค.ศ.2000

[แก้]
ราฟาเอล นาดาล ชนะเลิศประเภทชายเดี่ยวรวมทั้งสิ้น 13 สมัย
หลี่ น่า เป็นนักเทนนิสจากเอเชียที่ชนะเลิศประเภทหญิงเดี่ยวในปี ค.ศ. 2011
ปี ค.ศ. ชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว
2000 บราซิล กุสตาโว เคอร์เทน ฝรั่งเศส แมรี เพียร์ซ
2001 บราซิล กุสตาโว เคอร์เทน สหรัฐอเมริกา เจนนิเฟอร์ คาปริอาที
2002 สเปน อัลเบิร์ต คอสตา สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียมส์
2003 สเปน ฮวน คาร์ลอส เฟอร์เรโร เบลเยียม จัสติน เอแนง
2004 อาร์เจนตินา กัสตอง เกาดิโอ รัสเซีย อนาสตาเซีย มิสกินา
2005 สเปน ราฟาเอล นาดาล เบลเยียม จัสติน เอแนง
2006 สเปน ราฟาเอล นาดาล เบลเยียม จัสติน เอแนง
2007 สเปน ราฟาเอล นาดาล เบลเยียม จัสติน เอแนง
2008 สเปน ราฟาเอล นาดาล เซอร์เบีย อนา อิวาโนวิช
2009 สวิตเซอร์แลนด์ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ รัสเซีย สเวตลานา คูซเนตโซวา
2010 สเปน ราฟาเอล นาดาล อิตาลี ฟรานเชสก้า สเคียโวเน่
2011 สเปน ราฟาเอล นาดาล จีน หลี่ น่า
2012 สเปน ราฟาเอล นาดาล รัสเซีย มาเรีย ชาราโปวา
2013 สเปน ราฟาเอล นาดาล สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียมส์
2014 สเปน ราฟาเอล นาดาล รัสเซีย มาเรีย ชาราโปวา
2015 สวิตเซอร์แลนด์ สตานิสลาส วาวรินกา สหรัฐอเมริกา เซเรนา วิลเลียมส์
2016 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช สเปน การ์บีเญ มูกูรูซา
2017 สเปน ราฟาเอล นาดาล ลัตเวีย เยเลนา ออสตาเปนโก
2018 สเปน ราฟาเอล นาดาล โรมาเนีย ซิโมน่า ฮาเล็ป
2019 สเปน ราฟาเอล นาดาล ออสเตรเลีย แอชลีย์ บาร์ตี
2020 สเปน ราฟาเอล นาดาล โปแลนด์ อีก้า ซิออนเท็ก
2021 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช เช็กเกีย บาร์โบรา เครย์ชิโควา
2022 สเปน ราฟาเอล นาดาล โปแลนด์ อีก้า ซิออนเท็ก
2023 เซอร์เบีย นอวัก จอคอวิช

สนามโรลังด์ การ์รอส

[แก้]
สนามโรลังด์ การ์รอส กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

ตั้งอยู่ ณ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1928 โดยเริ่มแรกใช้เพื่อจัดการแข่งขันทีมชายชิงแชมป์โลก เดวิส คัพ ก่อน ก่อนที่จะมาเปลี่ยนเป็นเฟรนซ์ โอเพน ในภายหลัง โดยที่ชื่อโรลังด์ การ์รอส นั้นเป็นชื่อนักบินชาวฝรั่งเศสที่เป็นคนแรกของโลกที่บินข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้สำเร็จ

โรลังด์ การ์รอส ประกอบด้วย 2 คอร์ตใหญ่ คอร์ตที่ใหญ่ที่สุด คือ ฟิลิปเป ชาติเยร์ ความจุ 15,156 คน โดยตั้งชื่อตามประธานสหพันธ์เทนนิสฝรั่งเศส ส่วนอีกคอร์ต คือ ซูซานน์ ลองลอง ความจุ 10,068 คน ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1994 ตั้งชื่อตามนักเทนนิสหญิงชาวฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1997

นอกจากนี้แล้วยังยังมีคอร์ตขนาดกลาง ได้แก่ คอร์ตหมายเลข 1 รวมทั้งคอร์ตขนาดเล็กอีก 18 คอร์ต นอกจากนี้แล้วภายในบริเวณสนามโรลังด์ การ์รอส ยังประกอบไปผู้ให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร ธนาคาร ตลอดจนที่ทำการไปรษณีย์

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]