ข้ามไปเนื้อหา

เพาล์ ลังเงอร์ฮันส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพาล์ ลังเงอร์ฮันส์
เกิด25 กรกฎาคม ค.ศ. 1847(1847-07-25)
เบอร์ลิน เยอรมนี
เสียชีวิต20 กรกฎาคม ค.ศ. 1888(1888-07-20) (40 ปี)
ฟุงชาล มาเดรา
สัญชาติเยอรมัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเยนา
มีชื่อเสียงจาก
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาการแพทย์
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยไฟรบูร์ก

เพาล์ ลังเงอร์ฮันส์ (เยอรมัน: Paul Langerhans; 25 กรกฎาคม ค.ศ. 184720 มิถุนายน ค.ศ. 1888) เป็นพยาธิแพทย์และนักสรีรวิทยาชาวเยอรมัน เกิดที่กรุงเบอร์ลิน เป็นบุตรของดร. เพาล์ เอากุสท์ แฮร์มันน์ ลังเงอร์ฮันส์ กับอันนา ลูอีเซอ คาโรลีเนอ ลังเงอร์ฮันส์ (นามสกุลเดิม ไคเบิล)[1][2] เรียนที่โรงเรียนเกราเอินโคลสเตอร์ (Grauen Kloster) ก่อนจะเรียนต่อด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเยนา ในปี ค.ศ. 1868 ลังเงอร์ฮันส์วิเคราะห์เซลล์หนังกำพร้าและค้นพบเดนดริติกเซลล์ชนิดหนึ่ง ซึ่งต่อมาเรียกว่า "เซลล์ลังเงอร์ฮันส์" หนึ่งปีต่อมา เขานำเสนอวิทยานิพนธ์เรื่อง "กายวิภาคระดับจุลภาคของตับอ่อน" ซึ่งพูดถึงกลุ่มเซลล์ใส ลังเงอร์ฮันส์สันนิษฐานว่ากลุ่มเซลล์เหล่านี้เป็นต่อมน้ำเหลือง ซึ่งต่อมารู้จักในชื่อ "ไอลิตส์ออฟแลงเงอร์แฮนส์"[3]

หลังเรียนจบ ลังเงอร์ฮันส์เดินทางไปซีเรีย ปาเลสไตน์ และจอร์แดนตะวันตกกับนักภูมิศาสตร์ ริชาร์ด คีเพิร์ท แต่กลับมายุโรปในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียและทำงานเป็นหน่วยแพทย์ในฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1871 รูดอล์ฟ เวียร์โชเสนองานที่มหาวิทยาลัยไฟรบูร์กให้ลังเงอร์ฮันส์ สองปีต่อมา ลังเงอร์ฮันส์ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่นั่น แต่เขาป่วยเป็นวัณโรคจนต้องออกจากงานที่มหาวิทยาลัย ในปี ค.ศ. 1875 ลังเงอร์ฮันส์ย้ายไปรักษาตัวที่เมืองฟุงชาลบนหมู่เกาะมาเดราจนหายเป็นปกติ และกลับมาศึกษาหนอนทะเลและจำแนกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ขณะอยู่ที่เมืองฟุงชาล ลังเงอร์ฮันส์ทำงานเป็นแพทย์รักษาผู้ป่วยวัณโรค เขียนหนังสือท่องเที่ยวหมู่เกาะและศึกษาอุตุนิยมวิทยา[4]

ด้านชีวิตส่วนตัว ลังเงอร์ฮันส์แต่งงานกับมาร์กาเรเทอ เอบาร์ทในปี ค.ศ. 1885 ลังเงอร์ฮันส์เสียชีวิตด้วยภาวะมียูเรียในเลือดในปี ค.ศ. 1888[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Paul Langerhans – Healio
  2. "Paul Langerhans - Deutsches Zentrum für Diabetesforschung (DZD)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-10. สืบค้นเมื่อ 2016-06-20.
  3. Paul Langerhans - NCBI - National Institutes of Health
  4. 4.0 4.1 "Paul Langerhans - Introduction to diabetes mellitus - Diapedia". สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]