เพศสัมพันธ์ในอวกาศ
แนวคิดของกิจกรรมทางเพศของมนุษย์ในสภาพไร้น้ำหนักหรือสภาพแวดล้อมสุดโต่งในอวกาศ หรือเพศสัมพันธ์ในอวกาศ แสดงความยากลำบากในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เนื่องจากกฎข้อที่สามของนิวตัน จากกฎดังกล่าว ถ้าคู่รักยังตัวติดกัน การเคลื่อนไหวของพวกเขาจะต่อต้านกันและกัน จากนั้นอัตราความเร็วในกิจกรรมของพวกเขาจะไม่เปลี่ยนแปลงเว้นแต่ว่ามีวัตถุอื่น ๆ ที่ไม่ได้ติดตัวเข้ามาสัมผัส อาจเกิดความยากลำบากจากการลอยไปสัมผัสกับวัตถุอื่น ๆ ถ้าคู่รักมีอัตราความเร็วสัมพันธ์กับวัตถุอื่น ๆ อาจเกิดการชนขึ้นได้ มีข้อเสนอแนะว่าการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ในสภาพแวดล้อมนอกโลกอาจเป็นปัญหาได้[1][2][3][4]
ข้อมูลปี ค.ศ. 2009 แผนภารกิจระยะยาวของนาซาในการตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์โดยมีเป้าหมายเพื่อสำรวจและตั้งถิ่นฐานในอวกาศ ประเด็นดังกล่าวถือเป็นสิ่งน่าเชื่อถือในวิทยาศาสตร์ชีวภาพ นักวิทยาศาสตร์ สตีเฟน ฮอว์คิง สรุปใน ค.ศ. 2006 ว่ามนุษย์อาจเอาชีวิตรอดได้หรือไม่ขึ้นกับการรับมือกับสภาพแวดล้อมสุดโต่งในอวกาศได้มากน้อยเพียงใด[5][6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Monks, Keiron (April 9, 2012). "Thrusters on full: Sex in space". Metro. Free Daily News Group Inc./Star Media Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2015. สืบค้นเมื่อ June 12, 2015.
- ↑ Boyle, Alan (July 24, 2006). "Outer-space sex carries complications". NBCNews.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2015. สืบค้นเมื่อ June 12, 2015.
- ↑ Seks in de ruimte: is het mogelijk?, By Caroline Hoek; 7 April 2012
- ↑ S’envoyer en l’air dans l’espace Par Kieron Monks, Metro World News; 11 Avril 2012
- ↑ Hui, Sylvia (June 13, 2006). "Hawking Says Humans Must Colonize Space". Space.com. Purch. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2008. สืบค้นเมื่อ January 3, 2009.
- ↑ Hui, Sylvia (June 13, 2006). "Hawking: Humans Must Spread Out in Space". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ June 12, 2015.
- ↑ Delange, Catherine (May 20, 2012). "The importance of sex in space". Cosmos. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2015. สืบค้นเมื่อ June 12, 2015.