เพลาลูกเบี้ยวเดี่ยวเหนือสูบ
เพลาลูกเบี้ยวเดี่ยวเหนือสูบ คือกลไกการทำงานอย่างหนึ่งของเครื่องยนต์สันดาบภายใน เป็นตัวทำหน้าที่เปิดลิ้นไอดีเพื่อนำส่วนผสมของอากาศและเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเผาไหม้ และเปิดลิ้นไอเสียเพื่อนำอากาศเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ออกสู่ท่อไอเสีย หลักการทำโดยทั่วไปเหมือนกับ DOHC และ OHV เพียงแต่จะมีเพลาเบี้ยวเพียงแท่งเดียวทำหน้าที่ทั้งเปิด-ปิด ทั้งไอดีและไอเสีย ซึ่งจะคล้ายกับ SOHC มาก
เพลาลูกเบี้ยว
[แก้]เพลาลูกเบี้ยวซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งเหล็กกลม และส่วนที่เรียกว่าลูกเบี้ยวมีรูปร่างคล้ายวงกลมรูปไข่ซึ่งส่วนของรูปไข่นี้จะทำหน้าที่กดลิ้น (valve) ไอดีและไอเสียให้เปิดในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในแต่ละแท่งของเพลาลูกเบี้ยวอาจจะมีหลายลูกขึ้นอยู่กับจำนวนลูกสูบ
การทำงาน
[แก้]เพลาลูกเบี้ยวอาศัยแรงขับเพลาข้อเหวี่ยง (crankshaft) โดยส่งผ่านแรงหมุนด้วยโซ่ราวลิ้น (timing chain) สายพานราวลิ้น (timing belt) หรือเฟืองราวลิ้น (timing gear) เมื่อเครื่องยนต์เกิดการหมุนจะส่งผ่านแรงหมุนผ่านโซ่ราวลิ้น (อาจเป็นสายพาน หรือเฟืองราวลิ้น ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต) ทำให้เพลาลูกเบี้ยวหมุนตาม และส่วนของลูกเบี้ยวซึ่งมีลักษณะที่เป็นวงรีคล้ายรูปไข่ไปสัมผัสกับลิ้นไอดีหรือไอดีเมื่อส่วนที่ยื่นออกมามาที่สุดของลูกเบี้ยวสัมผัสกับลิ้นจะส่งผลให้เกิดการเปิดตัวขึ้นของลิ้นนั้น หากเป็นลิ้นไอดีเปิดจะทำให้อากาศที่ผสมกับเชื้อเพลิงไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ (อาศัยแรงดูดจากภายในห้องเผาไหม้) จากนั้นก็ปิดตัวลงและทำการจุดระเบิดหรือเผาไหม้ เปลี่ยนพลังงานความร้อนที่มีแรงดันไปดันลูกสูบและเกิดการหมุนของเครื่องยนต์ หรือการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานกล เมื่อการเผาไหม้หยุดเพลาลูกเบี้ยวทำหน้าที่เปิดลิ้นไอเสียนำอากาศเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ออกสู่ท่อไอเสีย อย่างไรก็ตามลิ้นไอดีและไอเสีย จะไม่เปิดพร้อมกันแต่จะปิดพร้อมกันในจังหวะหนึ่งเพื่อทำการจุดระเบิดให้เกิดแรงดันไปสู่ลูกสูบส่งผ่านแรงเคลื่อนที่ไปสู่ก้านสูบและหมุนข้อเหวี่ยงของเครื่องยนต์เพื่อการทำงานของเครื่องยนต์อย่างต่อเนื่อง[1][2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กว่าจะมาเป็นเครื่องยนต์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ชิ้นส่วนเครื่องยนต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-25. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.