ข้ามไปเนื้อหา

เพลย์บอย (วิถีชีวิต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพลย์บอย (อังกฤษ: playboy) เป็นรูปแบบสมัยใหม่ของความเป็นคาสโนวาอย่างเปิดเผย คือ การเป็นคนเจ้าสำราญและเจ้าชู้ ด้วยวิธีการและมีเวลาเพียงพอสำหรับสันทนาการ เพื่อเข้าถึงสุขารมณ์ของโลกอย่างจงใจ

พัฒนาการของคำ

[แก้]

แต่เดิม คำดังกล่าวเคยถูกใช้ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 หมายถึง เด็กชายผู้ซึ่งแสดงในโรงละคร[1] และในภายหลังได้ปรากฏในพจนานุกรมฉบับออกซฟอร์ด ค.ศ. 1828 โดยจำกัดความไว้ว่า บุคคลผู้ซึ่งมีเงินและออกไปหาความสุขให้กับตนเอง[2] ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มันยังสามารถบอกความหมายเป็นนัยถึง "นักการพนัน" และ "นักดนตรี" ได้ด้วย[1] ใน ค.ศ. 1907 ละครตลกของ เจ.เอ็ม. ซิงก์ เดอะเพลย์บอยออฟเดอะเวสเทิร์นเวิลด์ คำดังกล่าวได้รับความเข้าใจว่าเป็นการอธิบายลักษณะของคนเจ้าชู้ ตามข้อมูลของชอว์น เลวี คำดังกล่าวได้รับความหมายเต็มของมันในช่วงระหว่างสองสงครามโลกและในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติใหม่ ๆ การท่องเที่ยวข้ามทวีปหลังสงครามทำให้เพลย์บอยพบกันที่ไนท์คลับนานาชาติและ "สวนสนุก" ที่มีชื่อเสียง อย่างเช่น รีเวียราหรือปาล์มบีช ที่ซึ่งพวกเขาถูกติดตามโดยปาปารัซซี ผู้ซึ่งจัดหาข้อมูลลงในแท็บลอยด์ให้กับผู้อ่านที่กระตือรือร้น การพิชิตทางเพศของพวกเขาเป็นสิ่งที่ร่ำรวย สวยงามและมีชื่อเสียง ใน ค.ศ. 1953 ฮิวจ์ เฮฟเนอร์ ได้จับกระแสและก่อตั้งนิตยสารเพลย์บอยขึ้น[3]

การเสื่อมถอย

[แก้]

ด้วยเฟมินิสต์ การท่องเที่ยวแบบคณะใหญ่ และการขยายตัวของ "วัฒนธรรมสันทนาการ" ทำให้บทบาทของเพลย์บอยเสื่อมถอยลง[2] ในหมู่คนจำนวนน้อยที่เป็นที่รู้จักกันในช่วงทศวรรษหลังว่าเป็นเพลย์บอย โดดี อัลฟาเยด์ เป็นที่รู้จักกันมากเมื่อเขาสามารถพิชิตหัวใจของไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ได้[4]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Levy S., p. 117
  2. 2.0 2.1 Schultz, Ole (February 13, 2003). "Riviera-Nichtstuer - Geschichte der Playboys" (ภาษาเยอรมัน). Deutschlandradio Kultur. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-10. สืบค้นเมื่อ December 20, 2010.
  3. Levy S., p. 118
  4. Peretti, Jaques (January 11, 2009). "Death of a Playboy". The Guardian. สืบค้นเมื่อ December 20, 2010.

อ้างอิง

[แก้]

Levy, Shawn Anthony (2005), The Last Playboy: The High Life of Porfirio Rubirosa, New York City, New York: Fourth Estate, ISBN 978-0-00-717059-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]