เพลงชาติเกย์
หน้าตา
เพลงชาติเกย์ (อังกฤษ: gay anthem หรือ LGBT anthem) คือเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในบรรดากลุ่มสังคมที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยมากมักหมายถึงเกย์ผู้ชาย เนื้อเพลงมักจะมีความหมายเกี่ยวกับความหวังในการต่อต้านการไม่มีคู่ ความทะนงตน ความเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือความท้าทาย
ธีม
[แก้]ถึงแม้ว่าทุก ๆ เพลงจะมีความแตกต่างกัน แต่เกณฑ์ที่ถือว่าเป็นเพลงชาติเกย์ มักมีโครงสร้างของเป็นรูปแบบ โดยในหนังสือ Queer ได้ระบุธีมในความมีความหมายร่วมกันของเพลงดังต่อไปนี้[1]
- ดิว่าเสียงใหญ่
- เพลงจำพวกนี้ของเพลงชาติเกย์ มีความเกี่ยวดองอย่างยิ่งด้านบุคลิกภาพของเกย์ผู้ชายส่วนใหญ่ ที่มีลักษณะเป็นเพลงป็อปดีว่า เพลงร้องที่มักจะร้องโดยเหล่าเกย์ไอค่อนหญิง ตัวอย่างเช่น แพตตี้ ลาเบลล์, บาร์บรา สไตรแซนด์, จูดี การ์แลนด์, กลอเรีย เกย์เนอร์, มาดอนน่า, คริสติน่า อากีเลร่า, ไคลี มิโนก, อารีธา แฟรงคลิน, ไดอาน่า รอส, มารายห์ แครี, ดอนน่า ซัมเมอร์ และแชร์
- ความยากลำบากในความรัก
- โดยมากเป็นเรื่องเล่าของความรัก ในการกลับมาที่เข้มแข็งกว่าเดิม อย่างเช่น เพลง "I Will Survive" (แปลว่า "ฉันจะรอด") ของ กลอเรีย เกย์เนอร์ และ No More Tears (Enough is Enough) (แปลว่า "ไม่เอาอีกแล้วน้ำตา พอเป็นพอ") โดยบาร์บรา สไตรแซนด์และดอนน่า ซัมเมอร์
- คุณไม่ได้อยู่คนเดียว
- เพลงที่มีเนื้อหามาด้วยกัน ในลักษณะกลุ่มสังคมและความมั่นใจ อย่างเช่น เพลง "We Are Family" (แปลว่า "พวกเราคือครอบครัวกัน") โดยซิสเตอร์สเลดจ์, "YMCA" โดยเดอะวิลเลจพีเพิล และเพลง "Sisters Are Doing It for Themselves" (สาว ๆ ทำเพื่อตัวเอง) โดยยูริธมิกส์และอารีธา แฟรงคลิน
- โยนทิ้งไป ความกังวล
- เป็นเพลงที่พูดถึงการปราศจากความกังวลที่ทำให้เกิดปัญหา และการปาร์ตี้ สังสรรค์ ตัวอย่างเช่นเพลง "Turn the Beat Around" โดยวิกกี้ ซู โรบินสัน, "Step Back in Time" โดยไคลี มิโนก และ "Holiday" โดยมาดอนน่า
- ความหยิ่งในศักดิ์ศรีที่ยากที่จะชนะ
- เป็นเพลงประเภทที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้การกดขี่, ความมืด ความกลัวสู่อิสรภาพ ความสวย ความงาม หรือการหยิ่งทรนง ตัวอย่างเช่นเพลง "Free" (คำแปล อิสรภาพ) โดยอัลตร้า เนเต้, "Supermodel" (แปลว่า "ยอดนางแบบ") โดย รูพอล และ "Greatest Love of All" (แปลว่า "ความรักอันยิ่งใหญ่ของทุกคน") โดยวิทนีย์ ฮูสตัน
- การเฉลิมฉลองในความไม่อายต่อเรื่องเพศ
- เป็นเพลงที่พูดถึงการเอาชนะความอายในการสังสรรค์ เช่นเพลง "So Many Men", "So Little Time" โดยมิเคล บราวน์ และ "It's Raining Men" โดยเดอะเวทเทอร์เกิลส์
- การเสาะหาการยอมรับ
- เพลงที่เกี่ยวกับการต้อนรับของดินแดนแห่งความฝันในการยอมรับและให้ความหวังในการใช้ชีวิต อย่างเช่น "Somewhere Over the Rainbow" (แปลว่า "สักที่บนสายรุ้ง") โดยจูดี การ์แลนด์ และ "There's a Place for Us" (แปลว่า "คงมีสักที่สำหรับพวกเรา") เพลงประกอบภาพยนตร์ West Side Story
- เพลงที่จุดประกายในโลกอันน่าเบื่อ
- มีเรื่องเกี่ยวกับการใช้ การข่มเหงและการอยู่รอดที่จะบอกเรื่องราวแห่งความโศกเศร้า เช่น "Maybe This Time" (แปลว่า "บางครั้งเวลานี้") โดยลิซา มิเนลลี, "You Don't Have to Say You Love Me" (แปลว่า "คุณไม่จำเป็นต้องบอกว่าคุณรักฉัน") โดยดัสตี้ สปริงฟิลด์ และ "And I Am Telling You I'm Not Going" (คำแปล และฉันจะบอกว่าฉันจะไม่ไปไหน) โดยเจนนิเฟอร์ ฮอลลิเดย์
- ความรักเอาชนะทุกสิ่ง
- เรื่องเกี่ยวกับความไม่ยอมแม้ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องที่ยากจะชนะ อย่างเช่น "Ain't No Mountain High Enough" (แปลว่า "ไม่มีภูเขาใดสูงเกิน") โดย ไดอาน่า รอส และ "As Long as He Needs" (แปลว่า "ตราบใดที่คุณต้องการฉัน") โดย เชอร์ลีย์ บาสซีย์
- เชอะ คำขอโทษ?
- เป็นเพลงที่เกี่ยวข้องกับการไม่ฟังคำสั่ง ในสิ่งที่บางคนอาจต้องการ เช่น "I Am What I Am" (แปลว่า "ฉันก็เป็นอย่างฉัน") โดยกลอเรีย เกย์เนอร์ และ "I'm Coming Out" (แปลว่า "ฉันออกมาแล้ว") โดย ไดอาน่า รอส
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Simon Gage, Lisa Richards, and Howard Wilmot. Queer, pp. 26-7. June 13, 2002. ISBN 1560253770