ข้ามไปเนื้อหา

เพนกวินปีกขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพนกวินปีกขาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Sphenisciformes
วงศ์: Spheniscidae
สกุล: Eudyptula
สปีชีส์: E.  minor
สปีชีส์ย่อย: E.  m. albosignata
Trinomial name
Eudyptula minor albosignata
Finsch, 1874
ชื่อพ้อง
  • Eudyptula albosignata
  • Eudyptula minor albosignata
  • Eudyptula minor minor มอร์พ albosignata

เพนกวินปีกขาว (อังกฤษ: White-flippered penguin; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eudyptula minor albosignata) เป็นเพนกวินชนิดหนึ่ง

เพนกวินปีกขาวนั้นเป็นเพนกวินขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม แพร่กระจายพันธุ์และทำรังเฉพาะคาบสมุทรแบงค์ และเกาะโมทูนัว ใกล้กับภูมิภาคแคนเทอเบอรี่ ในนิวซีแลนด์ เท่านั้น

เพนกวินปีกขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเพนกวินน้อย (E. minor) หรือเพนกวินสีน้ำเงิน ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แตกต่างกันตรงกันที่มีปื้นสีขาวบนครีบที่เป็นเอกลักษณ์อยู่ 2 ปื้นเท่านั้น

เพนกวินปีกขาว เดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของเพนกวินน้อย จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2002 ได้มีการศึกษาทางดีเอ็นเอและไมโตคอนเดรีย พบว่ามีความแตกต่า่งกัน จึงถูกแยกชนิดออกมาต่างหาก แต่ทว่าตามข้อมูลส่วนใหญ่ยังคงจัดให้เป็นชนิดย่อยหรือชนิดเดียวกันกับเพนกวินน้อยอยู่[2] [2] [3]

เพนกวินปีกขาว มีนิเวศวิทยาและพฤติกรรมที่เหมือนกับเพนกวินน้อย คือ ออกหากินในเวลากลางคืน โดยกินปลาเล็ก เช่น ปลาหลังเขีัยว, ปลาแอนโชวี่, หมึก และครัสเตเชียนต่าง ๆ ทำรังในถ้ำ, แหลมหรือหน้าผาติดทะเล วางไข่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม แต่ช่วงที่วางไข่มากที่สุดคือ สิงหาคม-พฤศจิกายน ไข่จะถูกวางไว้ในโพรงที่ทำขึ้น รังจะถูกปกคลุมด้วยกิ่งไม้หรือใบไม้ ใช้ระยะฟักไข่นาน 33-39 วัน ลูกนกจะออกจากรัะงหลังจากฟักเป็นตัวประมาณ 55-65 วัน[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Species Profile for White-flippered Penguin". U.S. Fish and Wildlife Service. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-15. สืบค้นเมื่อ 8 October 2011.
  2. 2.0 2.1 Banks, Jonathan C.; Mitchell, Anthony D.; Waas, Joseph R. & Paterson, Adrian M. (2002): An unexpected pattern of molecular divergence within the blue penguin (Eudyptula minor) complex. Notornis 49(1): 29–38. PDF fulltext เก็บถาวร 2020-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. 3.0 3.1 Shirihai, Hadoram (2008). The Complete Guide to Antarctic Wildlife, 2d Edition. Princeton University Press.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]