เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล
เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2500 อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (255?–2561, 2566–ปัจจุบัน) เพื่อชาติ (2561–2566) |
เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล (เกิด 5 ตุลาคม พ.ศ. 2500) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อชาติ[1] เป็นแกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51[2][3] อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประวัติ
[แก้]เพชรวรรต เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2500 ที่อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน เป็นบุตรนางสม บุตรดา จบการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต (การพัฒนาสังคม) และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาสังคม) จากมหาวิทยาลัยนเรศวร อีกทั้งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารจัดการสาธารณะ) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต)
การทำงาน
[แก้]เพชรวรรต ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน แทนนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ ที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ในสังกัดพรรคเพื่อไทย ได้คะแนน 93,522 คะแนน เป็นลำดับ 2 รองจาก ขยัน วิพรหมชัย จากพรรคประชาธิปัตย์[4]
ต่อมาได้ร่วมงานกับพรรคเพื่อชาติ เป็นรองหัวหน้าพรรค[5] และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก
ต่อมาในปี 2566 เขาได้ย้ายกลับไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย
กลุ่มรักเชียงใหม่ 51
[แก้]เพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล เป็นแกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนกิจกรรมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ และเขามีบทบาทในการชุมนุมหลายครั้ง อาทิ การสื่อสารผ่านรายการวิทยุชุมชน 92.5 เมกกะเฮิรตซ์ สถานีวิทยุชุมชนของกลุ่มรักเชียงใหม่ 51
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ‘เพชรวรรต’ ฟันธง บัตร 2 ใบผ่านฉลุย เปิดทาง ‘ทักษิณ’ กลับบ้านแบบเท่ๆ
- ↑ เปิดปูม “เพชรวรรต” เสื้อแดงแกนนำ นปช.เหนือ ห้าวจนเข้าตา-งานเข้าได้เงินขยายข่ายสื่อสาร
- ↑ แกนนำกลุ่มเสื้อแดงรักเชียงใหม่51เข้ามอบตัว
- ↑ ข่าวรอบเมืองเหนือ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเพื่อชาติ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอบ้านธิ
- นักการเมืองจากจังหวัดลำพูน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคเพื่อชาติ
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
- บุคคลจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- บุคคลจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.