เฝิง ยิงฉี
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
---|---|
เกิดวันที่ | 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 |
สถานที่เกิด | ฮ่องกงของบริเตน |
วันที่เสียชีวิต | 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 | (43 ปี)
กีฬา | |
ประเทศ | ฮ่องกง |
กีฬา | วีลแชร์ฟันดาบ |
รายการ | เซเบอร์, ฟอยล์ |
เหรียญรางวัล | ||
---|---|---|
กีฬาฟันดาบบนรถวีลแชร์ ชาย | ||
กีฬาพาราลิมปิก | ||
ซิดนีย์ 2000 | เดี่ยวฟอยล์ | |
ซิดนีย์ 2000 | ทีมฟอยล์ | |
ซิดนีย์ 2000 | เดี่ยวเซเบอร์ | |
เอเธนส์ 2004 | เดี่ยวฟอยล์ | |
เอเธนส์ 2004 | ทีมเซเบอร์ | |
เอเธนส์ 2004 | ทีมฟอยล์ | |
ซิดนีย์ 2000 | ทีมเซเบอร์ |
เฝิง ยิงฉี (จีน: 馮英騏; อังกฤษ: Fung Ying Ki) เป็นนักกีฬาฟันดาบบนรถวีลแชร์ในกีฬาพาราลิมปิกจากเขตการปกครองพิเศษฮ่องกง ประเทศจีน ในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2000 เขาชนะการแข่งขันโดยได้รับเหรียญทองสามรายการในประเภทชายเดี่ยวฟอยล์, ทีมฟอยล์ และเดี่ยวเซเบอร์ และได้รับเหรียญทองแดงในประเภททีมเซเบอร์ สี่ปีต่อมาที่เอเธนส์พาราลิมปิก เขาชนะการแข่งขันโดยได้รับเหรียญทองสองรายการในประเภทชายเดี่ยวฟอยกับทีมเซเบอร์ และหนึ่งเหรียญเงินในประเภททีมฟอยล์[1][2]
เฝิงได้สูญเสียการใช้ขาได้ตามปกติตั้งแต่ครั้งยังเด็กเนื่องจากติดไวรัสซึ่งได้ทำลายไขสันหลังของเขา (โรคกระดูกสันหลังอักเสบเฉียบพลันใน ค.ศ. 1994 ด้วยภาวะอัมพาตของร่างกายส่วนล่าง) ในวัย 15 ปี เขาเริ่มฝึกกีฬาฟันดาบบนรถวีลแชร์ที่สถาบันฝึกอบรมระดับชาติของฮ่องกง (Hong Kong Sports Institute) หลังจากพาราลิมปิกฤดูร้อน 2004 สิ้นสุดลง เขาได้ฟื้นความสามารถในการเดินและวางมือจากกีฬาฟันดาบ[1]
ในเดือนที่มีการจัดพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 ในปักกิ่ง เฝิงได้เป็นโค้ชให้กับโทโยอากิ ฮิซากาว่า ซึ่งเป็นนักกีฬาฟันดาบบนรถวีลแชร์ชาวญี่ปุ่น ในช่วงการเตรียมตัวก่อนแข่ง[1][3]
การศึกษา
[แก้]เฝิง ยิงฉี ได้ศึกษาในวิทยาลัยซาเถียนซูเจ้อกง (沙田蘇浙公學) ในช่วงต้นปี และได้รับวุฒิปริญญาตรีเกียรตินิยมในสาขาพลศึกษาและการจัดการนันทนาการจากมหาวิทยาลัยฮ่องกงแบบติสต์ (香港浸會大學) และได้รับปริญญาโทสาขาชีวกลศาสตร์การกีฬาจากมหาวิทยาลัยเนชั่นแนลไทวานนอร์มอล (國立臺灣師範大學) ปัจจุบันเขาสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ภาควิชาศัลยกรรมกระดูกและวิทยาการการบาดเจ็บ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยไชนีสออฟฮ่องกง (香港中文大學)[1]
ในค.ศ. 2010 ช่วงฤดูร้อน เฝิง ยิงฉี ได้รับรางวัลโพสท์เกรดูเอท ทราเวล จากชมรมระหว่างประเทศว่าด้วยชีวกลศาสตร์ในการกีฬา (International Society on Biomechanics in Sports) และเขายังเป็นสมาชิกคณะกรรมการของสมาคมเวชศาสตร์การกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาของฮ่องกง ตั้งแต่ค.ศ. 2010 จนถึงปัจจุบัน โดยมีงานวิจัยที่สนใจได้แก่: ระบบการจัดหมวดหมู่ในกีฬาพาราลิมปิก, การแบ่งกลุ่มข้อมูล, การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์, เทคโนโลยีอุปกรณ์กีฬา (SET), กลศาสตร์ของกล้ามเนื้อ และการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ในกีฬา
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Fung YK, Chow BC, Fong DTP, Chan KM (2010). A kinematic analysis of trunk ability in wheelchair fencing: a pilot study. เก็บถาวร 2011-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน In Proceedings of XXVIII International Conference on Biomechanics in Sports (pp. 126-129), Marquette, USA. [Jul 19-23, 2010].
- Fung YK, Chan KM (2010). Functional ability between different categories of wheelchair fencer. In Proceedings of The 3rd HKASMSS Student Conference on Sport Medicine, Rehabilitation and Exercise Science (pp. 21-22), Hong Kong, China. [Jun 19, 2010].
- Fung YK, Shiang TY, Huang CF (2008). Kinetic analysis to poweriser (An energy storage and return spring device) เก็บถาวร 2011-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. In Proceedings of XXVI International Conference on Biomechanics in Sports, (pp. 366-369), Seoul, Korea. [Jul 14-18, 2008].
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Wheelchair fencer has high Olympic hopes". Yomiuri Shimbun. 2008-08-05. สืบค้นเมื่อ 2008-09-02. [ลิงก์เสีย]
- ↑ "Athletes back to hero's welcome". South China Morning Post.
- ↑ "Japan Wheelchair Fencing Association". Japan Wheelchair Fencing Association. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-08. สืบค้นเมื่อ 2010-09-08. (ญี่ปุ่น)