เปราะป่า
หน้าตา
เปราะป่า | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Commelinids |
อันดับ: | Zingiberales |
วงศ์: | Zingiberaceae |
วงศ์ย่อย: | Zingiberoideae |
เผ่า: | Kaempferia |
สกุล: | Kaempferia |
สปีชีส์: | K. marginata |
ชื่อทวินาม | |
Kaempferia marginata |
เปราะป่า ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia marginata Carey เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Zingiberaceae ชื่ออื่นๆ ตูบหมูบ (อุบลราชธานี) เปราะเถื่อน (ปราจีนบุรี) เปราะเขา เป็นพืชล้มลุก เหง้าสั้น ขนาดเล็ก เหง้าหลักทรงกลม สีน้ำตาล ที่ผิวมีรอยข้อปล้องชัดเจน ออกรากจากเหง้าหลักเป็นเส้นกลมยาว เหง้าใต้ดิน มีกลิ่นหอม รสเผ็ดจัด[1]
เปราะป่าเป็นพืชสมุนไพร ตำรายาไทยใช้ เหง้าใต้ดิน แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้ ตำผสมกับหัวหอม สุมกระหม่อมเด็ก แก้หวัด แก้กำเดา ทางภาคอีสาน ใช้ เหง้าใต้ดิน ตำพอก แก้อาการอักเสบ เนื่องจากแมลงสัตว์ กัดต่อย หรือผสมใบหนาดใหญ่ ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพาต ทางจังหวัดมุกดาหารใช้เข้าตำรับยาอายุวัฒนะ ทางจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ หัว มีกลิ่นหอม รสร้อน ขมจัด ทำลูกประคบ แก้ฟกช้ำ ใช้แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้[2]