ข้ามไปเนื้อหา

เน็ตแฮ็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพในชั้นออราเคิล

เน็ตแฮ็ก (อังกฤษ: NetHack) เป็นเกมแนว roguelike ที่พัฒนามาจากเกม Hack โดยที่มาของชื่อ NetHack มาจากการร่วมกันพัฒนาของเหล่าโปรแกรมเมอร์ในอินเทอร์เน็ต ไม่ใช่เป็นเกมแนว multiplayer

NetHack เป็นเกมที่เก่าแก่มากที่สุดเกมหนึ่งในวงการเกมคอมพิวเตอร์ และได้ทำการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนปัจจุบันถึงเวอร์ชัน 3.6.6 ออกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 2020 ซึ่งเป็นอาสาสมัครที่มีเวลาว่างและสมัครใจมาร่วมด้วยช่วยกันพัฒนา ชื่อว่า DevTeam

จุดมุ่งหมายภายในเกมของ NetHack คือ ให้ผู้เล่นสร้างตัวละครขึ้นมา 1 ตัว สำรวจดันเจี้ยน (Dungeon) มากกว่า 50 ชั้น เพื่อลงไปเอา Amulet of Yendor เพื่อนำไปถวายพระเจ้าที่ตัวละครของเรานับถือ ถ้าทำสำเร็จ จะได้รับการโปรโมตเป็น demi-god ถือว่าเป็นการจบเกม ซึ่งในดันเจี้ยนแต่ละชั้น จะมีการสุ่ม ไอเทม ,มอนสเตอร์,ห้อง,ออปเจ็กต์ ต่างๆ(การเล่นแต่ละครั้ง จะได้รับการสุ่มที่แตกต่างกันทุกครั้ง)

ผู้ที่เล่น NetHack มานานแล้ว จะนิยมเล่นในโหมดข้อความ(ASCII)อย่างเดียว แต่ก็สามารถที่จะเลือกเล่นในโหมด graphic tiles ได้เหมือนกัน (โดยผู้เล่นสามารถแก้ไข tiles เองได้ด้วย)

ตัวเกม

[แก้]

เมื่อเข้าไปเล่นเกมครั้งแรก เราจะต้องสร้างตัวละครขึ้นมา 1 ตัว โดยต้องกำหนดเผ่าพันธุ์ คลาส เพศ และการนับถือพระเจ้า หรือจะให้เกมเลือกการสุ่มให้เราก็ได้ ผู้เล่น NetHack ส่วนใหญ่มักจะเลือกเล่นคลาสยอดนิยม Babarian (คนเถื่อน), Wizard (พ่อมด) และ Valkyrie (นางปีศาจ) แต่บางครั้งอาจจะเลือกเล่นคลาสที่ยากยิ่งขึ้น เช่น Archeologist (นักโบราณคดี), Tourist (นักท่องเที่ยว) หรือ Caveman (มนุษย์ถ้ำ)

เริ่มแรกตัวละครของเราจะมีสัตว์เลี้ยง 1 ตัว ส่วนใหญ่จะเป็นหมาหรือแมว แต่ถ้าเลือกเล่นเป็นอัศวินจะได้เป็นม้า เราจะตั้งชื่อสัตว์เลี้ยงว่าอะไรก็ได้ และต้องคอยดูแลมันเพื่อให้มันเชื่อง หากสัตว์เลี้ยงของเราตายโดยที่เราเจตนาฆ่ามัน (โดยตรงหรือโดยอ้อม) พระเจ้าที่เรานับถือจะโกรธและไม่พอใจ

NetHack เป็นเกมที่ผู้เล่นตายได้ง่ายมาก จึงทำให้สามารถเล่นได้ใหม่อยู่เรื่อย ๆ โดยลักษณะของดันเจี้ยนจะเปลี่ยนไปทุกครั้ง ผู้เล่นใหม่มักจะลงไปในดันเจี้ยนได้ไม่เกินชั้น 10 แล้วตายอยู่เสมอ ในนิวส์กรุ๊ปของ NetHack เรียกการตายในเกมบ่อย ๆ นี้ว่า (YAAD หรือ YASD ย่อมาจาก Yet Another Annoying Death หรือ Yet Another Stupid Death — ตายอยู่ได้ หรือ ตายโง่ ๆ อีกแล้ว)

เมื่อเราเล่นเกมนี้ไปได้สักพัก (หนึ่งเดือนขึ้นไป) จะเริ่มรู้ว่า NetHack มีความซับซ้อนสูงมาก เราแทบจะนำเอาไอเทมชนิดใดไปใช้ร่วมไอเทมอีกชนิดก็ได้ จนกล่าวได้ว่า "DevTeam คิดทุกอย่างไว้แล้ว"

ตัวอย่างความซับซ้อนภายในเกม

[แก้]
  • หากเรานำเอาขวดโพชั่นอะไรก็ได้ ไปจุ่มในน้ำพุ โพชั่นในขวดนั้นจะกลายเป็นน้ำเปล่า
  • หากเอาผ้าปิดตามาสวมใส่กับตัวละคร เราจะตาบอดแบบบังคับได้ (คือจะถอดผ้าออกเมื่อไหร่ก็ได้ ยกเว้นผ้าผืนนั้นจะติดคำสาป)
  • หากเราจ้องเมดูซ่า ในชั้นเมดูซ่าด้วยตาเปล่า เราจะกลายเป็นหินไปทันที
  • ถ้าเรานำเอากระจกไปส่องให้เมดูซ่า เมดูซ่าจะกลายเป็นหินไปทันที
  • หากเราถือตัว cockatrice หรือ chickatrice โดยไม่สวมถุงมือ ตัวละครจะกลายเป็นหินไปทันที แต่ถ้าเราสวมถุงมือจะไม่เป็นไร และสามารถเหวี่ยงใส่มอนสเตอร์เพื่อให้กลายเป็นหินได้ และหากเรากินซากศพหรือไข่ของมัน เราก็จะกลายเป็นหินไปทันที (YASD - ตายโง่ ๆ อีกแล้ว)

สปอยเลอร์

[แก้]

เกมนี้มีสปอยเลอร์มากกว่าพันหน้า ผู้เล่นโดยส่วนใหญ่มักจะเคยอ่านสปอยเลอร์อย่างน้อย 1 ครั้ง เพราะตัวเกมส์มีระดับความยากมากที่จะเล่นเกมนี้จนจบ โดยไม่อ่านสปอยเลอร์เลยแม้แต่ครั้งเดียว

กราฟิกภายในเกมส์

[แก้]

ด้านล่างนี้คือภาพจากเกม NetHack โดยทั่วไป

ภาพหน้าจอของ NetHack ในไมโครซอฟท์วินโดวส์ ซึ่งเล่นในโหมด Graphic Tile แบบ X11
Key
  • @ - ตัวละครของคุณ
  • d - สุนัข (สัตว์เลี้ยงของคุณ)
  • $ - เงินที่มีอยู่ในตัว (ไม่รวมในถุง)
  • ` - ก้อนหินขนาดใหญ่ หรือ รูปปั้นหิน
  • < - บันไดทางขึ้น
  • ? - ม้วนหนังสือ (scroll)
  • _ - แท่นบวงสรวงพระเจ้า (altar)
  • + - ประตู (ปิดอยู่)
  • ( - เครื่องมือ (ตะเกียง, ค้อนสลักหิน, ถุง, หรืออะไรก็ได้ที่อยู่ในหมวดเครื่องมือ)

มอนสเตอร์ในเกมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

[แก้]
  • The Wizard of Yendor หรือรู้จักกันในอีกนามหนึ่งว่า Rodney (สะกดกลับหลัง) เป็นพ่อมดที่อยู่ในชั้นพิเศษในเลเวล Gehennom
  • King Croesus ลอร์ดผู้พิทักษ์ Fort Ludios
  • The Oracle of Delphi ตัวละครนี้นำมาจากกลุ่ม Internet Oracle และเครื่องคอมพิวเตอร์ออราเคิล
  • Vlad the Impaler ต้นแบบมาจาก แดร็กคิวล่า Vlad ที่สาม และตำนานเรื่องแดร็กคิวล่า
  • The Gorgon Medusa จากเทพนิยายกรีก
  • อสูรหลายตัวเช่น Asmodeus, Demogorgon, Baalzebub, Dispater, Orcus บางตัวมาจากเกมแนว Dungeons & Dragons สมัยก่อนและนิทานปรัมปรา
  • พ่อค้าขายเทียนและตะเกียงชื่อ Izchak ตัวละครนี้มาจากการไว้อาลัยให้ผู้ก่อตั้ง Devteam ท่านหนึ่ง ซึ่งตายในปี ค.ศ. 1994 การฆ่าพ่อค้า Izchak เป็นเรื่องที่ผิดในสังคม NetHack อย่างมาก

ตัวบ่งบอกวัฒนธรรม

[แก้]

เนื่องจาก NetHack มีการพัฒนาและมีกลุ่มคนที่ชอบเล่นมาอย่างยาวนาน และเป็นเกมที่นิยมในหมู่แฮคเกอร์สมัยก่อน จึงถือว่าผู้ที่เล่น NetHack อาจจะเป็นคนที่อยู่ในวงการคอมพิวเตอร์มานาน

เซิร์ฟเวอร์สาธารณะ

[แก้]

มีเซิร์ฟเวอร์หลายแห่งที่เปิดให้บริการเล่น NetHack ผ่านทางเทลเน็ต (Telnet) เพื่อการแข่งขันหรือสะสมคะแนนเพื่อความสนุก

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]